อาการโรคกระดูกคอเสื่อม และแนวทางการรักษา

         เมื่อตัวเลขของอายุเริ่มสูงขึ้น อะไรๆก็เสื่อมลง ไม่เว้นแม้แต่กระดูกที่เคยแข็งแรงมากในช่วงวัยเจริญเติบโต และเมื่อย่างเข้าวัยกลางคนตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป หมอนรองกระดูกซึ่งเป็นกระดูกอ่อนจะเริ่มมีอาการเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมตัว กล่าวคือองค์ประกอบที่เป็นน้ำที่ทำให้เกิดการยืดหยุ่นในตัวของหมอนรองกระดูกคอจะลดลง ทำให้กระดูกคอปล้องที่หมอนรองกระดูกมีการเคลื่อนไหวไปในลักษณะที่ไม่ราบเรียบเป็นปกติ ถ้าเราไม่ระมัดระวังปล่อยให้กระดูกคอเคลื่อนไหวมากเกินขอบเขตก็จะทำให้เกิดการชำรุดของหมอนรองกระดูกคอเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น อายุจึงมีผลอย่างมากที่ทำให้กระดูกคอเสื่อม

 

อาการของโรคกระดูกคอเสื่อม
         อาการแรกเริ่มของกระดูกคอเสื่อมคือ อาการปวดซึ่งเกิดจากกระดูกที่เสื่อมไปกดเบียดระคายเคืองต่อเส้นประสาทเส้นนั้น อาการปวดมักจะปวดร้าวจากบริเวณคอลงไปที่แขน มือ อาจมีอาการชาและอ่อนแรงลงของกล้ามเนื้อในบริเวณแขนด้วย อาการปวดที่เกิดขึ้นมักจะเป็นมากเวลามีการเคลื่อนไหว หันคอ หรือเอี้ยวคอ
         ในรายที่เป็นมากขึ้นอาจพบการกดเบียดไขสันหลังร่วมด้วย อาการที่เกิดขึ้น ได้แก่ อาการเกร็งของกล้ามเนื้อขา การเดินผิดปกติ การควบคุมอุจจาระ ปัสสาวะผิดปกติ และท้องผูกมากขึ้น สำหรับในผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกคอเสื่อมมานาน จะมีการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อแขนได้มาก การเดินจะค่อยๆแย่ลงจนกระทั่งเดินไม่ได้  ซึ่งจะกลายเป็นคนพิการไปในที่สุด


แนวทางการรักษา กระดูกคอเสื่อม

         หากกระดูกเสื่อมในระยะเริ่มต้น จะรักษาด้วยยาและกายภาพบำบัด คือหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวของกระดูกคอมากเกินไป อาจจะต้องให้นอนพักหรือมีการถ่วงดึงคอ ให้ยาลดการอักเสบและแก้ปวด บริหารกล้ามเนื้อคอให้แข็งแรงเพื่อช่วยแบกรับน้ำหนักศีรษะไม่ให้ผ่านกระดูกคอมากเกินไป อาจจะให้ใส่เครื่องพยุงคอ (Cervical collar) เพื่อช่วยเตือนให้คออยู่ในลักษณะปกติ ทั้งนี้ ถ้ากระดูกคอเสื่อมตัวมากแล้ว และมีการกดทับเส้นประสาทหรือประสาทไขสันหลังแล้ว การรักษาทางยาและกายภาพบำบัดจะไม่ได้ผล จะต้องให้การรักษาโดยวิธีผ่าตัด


ชะลอความเสื่อมของหมอนรองกระดูกคอ อย่างไร

         1.ขยับเปลี่ยนอิริยาบถทุกๆชั่วโมง ไม่นั่งก้มทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นานๆ เกินกว่า 1 ชั่วโมง
         2.พยายามออกกำลังเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ บริเวณรอบๆคอ ทั้งท่าก้ม เงย เอียงคอซ้าย – ขวา หมุนคอ โดยใช้วิธีการออกแรงต้าน ซึ่งเรียกการออกกำลังกายแบบนี้ว่า “แบบเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ” (Isometric exercise)
         3.หากมีอาการปวดคอมากๆ สามารถใส่อุปกรณ์พยุงคอ (Soft collar) บ้างเป็นครั้งคราว โดยทั่วไปไม่แนะนำให้ใส่นานเกิน 1 สัปดาห์ เพราะหากใส่นานเกินกว่าไปจะเกิดภาวะกล้ามเนื้อขี้เกียจได้ เนื่องมาจากกล้ามเนื้อคอไม่มีการขยับ

         4.การทำกายภาพบำบัด เช่น การประคบร้อนบริเวณที่มีกล้ามเนื้อหดเกร็ง การเหยียดกล้ามเนื้อโดยการดึงคออย่างนุ่มนวลโดยนักกายภาพบำบัดที่เชี่ยวชาญ
         5.การออกกำลังกาย เช่น การว่ายน้ำ การทำโยคะ เป็นการช่วยยืดกล้ามเนื้อ และช่วยสร้างสมดุลของคอ การทำงานของกล้ามเนื้อรอบๆ คอและไหล่ และสามารถเพิ่มระดับความทนทานต่อความปวดได้ดีขึ้น
         6.การนอน ควรใช้หมอนนิ่มๆ มีส่วนรองรับกระดูกคอให้อยู่ในลักษณะปกติ ที่สำคัญหมอนจะต้องไม่สูงเกินไป

 

 

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

@kwang

by @kwang

@kwang. แอดมินกวาง ผู้คร่ำหวอดในวงการ สุขภาพ ลดน้ำหนัก อาหารเสริม และ สินค้าความงามตั้งแต่ปี 2010 อยากรู้เรื่องอะไรสอบถามได้เลยค่ะ เรามีทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเตรียมตอบคำถามให้คุณ Line: @beauty24store / Tel: 092-254-8284


"ติดต่อสอบถามสินค้าและบริการ" Call center: 092-254-8284 แอดไลน์ : @beauty24store หรือกดลิ้งเลยค่ะ Line@ คลิ๊ก


Leave a Reply