โรคลมชัก…ภัยเงียบที่ควรเรียนรู้ เพื่อรับมือ

         โรคลมชัก เป็นอีกหนึ่งโรคภัยใกล้ตัวที่อาจสร้างความตื่นตกใจให้แก่บรรดาผู้ที่พบเห็น จนบางคนถึงกลับถอยหนีด้วยความกังวลระคนประหลาดใจ แต่ก็มีอยู่ไม่น้อยที่ยื่นมาเข้ามาให้ความช่วยเหลือ ซึ่งถือเป็นเรื่องดี ทว่าการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคลมชักจำเป็นต้องมีพื้นความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคนี้ มิเช่นนั้นอาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงอันตรายทั้งต่อผู้ป่วยและคนที่เข้าไปช่วยเหลือเอง บทความนี้จะทำให้ท่านผู้อ่านได้รู้จักกับภัยเงียบใกล้ตัวอย่างโรคลมชักมากขึ้น จะได้มีพร้อมรับมือโรคนี้อย่างถูกต้อง

เกี่ยวกับ…โรคลมชัก
         บทความจากไทยรัฐออนไลน์ พ.ญ.ณัฐลดา ลิโมทัย อายุรแพทย์ระบบประสาท โรงพยาบาลเวชธานี ระบุว่า โรคลมชัก (epilepsy) เป็นความผิดปกติของเซลล์ในระบบประสาท เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลันของไฟฟ้าสมองที่ออกมาจากกลุ่มเซลล์ที่ผิดปกติพร้อมๆกัน และทำให้มีอาการชัก (seizure) ถ้าอาการชักมีมากกว่าหนึ่งครั้งโดยที่ไม่มีเหตุกระตุ้น (provoking factors) จะเรียกผู้ป่วยรายนั้นว่าเป็น “โรคลมชัก”

         สาเหตุของโรคลมชักนั้นยังไม่ชัดเจน แต่ส่วนหนึ่งพบว่ามีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ รวมถึงการที่สมองเคยได้รับอันตรายต่างๆมาก่อน เช่น ภาวะขาดออกซิเจนขณะคลอด อุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนสมอง เนื้องอกในสมอง หลอดเลือดสมองผิดปกติ การติดเชื้อของระบบประสาท ความผิดปกติทางสมองมาตั้งแต่กำเนิด โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชักจากสาเหตุเหล่านี้ อาจจะมีพัฒนาการด้านร่างกายและสมองผิดปกติร่วมด้วย

อาการของโรคลมชัก
         อาการนั้นขึ้นกับหน้าที่ของสมองในตำแหน่งที่ถูกรบกวนด้วยคลื่นไฟฟ้าสมองที่ผิดปกติในขณะชัก เช่น ถ้าขณะชักไฟฟ้าสมองรบกวนสมองส่วนที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว (primary motor cortex) ผู้ป่วยจะมีอาการชักแบบเกร็งกระตุก ถ้ารบกวนส่วนที่ควบคุมการมองเห็น (visual cortex) ผู้ป่วยอาจเห็นแสง (flashing light) ในขณะที่มีอาการชัก แต่อาการชักชนิดที่พบได้บ่อยคือ อาการชักเกร็งกระตุกทั้งตัว (generalized tonic clonic or grand mal seizure) ส่วนใหญ่จะเกร็งกระตุกนาน 2-3 นาที โดยผู้ป่วยไม่รู้ตัวในขณะชัก จำเหตุการณ์ไม่ได้ คนทั่วไปมักเรียกอาการชนิดนี้ว่า “ลมบ้าหมู”

         นอกจากนี้ยังมีอาการชักที่พบบ่อยเช่นเดียวกันคือ “ชักเหม่อ” (complex partial seizure) ผู้ป่วยไม่รู้ตัวในขณะที่ชัก จำเหตุการณ์ในขณะชักไม่ได้ อาจมีการเคลื่อนไหวอัตโนมัติ (automatism) ร่วมด้วยเช่น เคี้ยวปาก (lip smacking) มือคลำเสื้อผ้า สิ่งของ หรือจับคนรอบข้างโดยไม่รู้ตัว (fumbling) 

การปฐมพยาบาลผู้ป่วยโรคลมชักเบื้องต้น

         ผศ.นพ.รังสรรค์ ชัยเสวิกุล ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อธิบายว่า โดยปกติแล้วการชักจะหยุดเองในเวลา 1-2 นาที การดูแลผู้ป่วยที่เกิดอาการชัก คือตั้งสติอย่าตกใจ ประคองผู้ป่วยให้นอนหรือนั่งลง สอดหมอนหรือวัสดุอ่อนนุ่มไว้ใต้ศีรษะ ตะแคงศีรษะให้น้ำลายไหลออกทางมุมปาก และอย่าใส่สิ่งของเข้าไปในปากหรืองัดปากผู้ป่วย เพราะปกติผู้ป่วยจะไม่กัดลิ้นตัวเอง อีกท้ังวัสดุที่ใส่เข้าไปอาจจะหักหรือขาดหรือทำให้ฟันหักหลุดไปอุดหลอดลมจนหยุดหายใจได้ ส่วนใหญ่อาการชักมักจะไม่เกิน 5 นาทีแต่ถ้านานกว่านั้น ให้พาไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด

โรคลมชักรักษาให้หายขาดได้หรือไม่
         ปัจจุบันในผู้ป่วยประมาณร้อยละ 70 สามารถรักษาให้หายขาดได้ ด้วยการใช้ยา ซึ่งผู้ป่วยต้องรับประทานยาสม่ำเสมอ 3-5 ปี และหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการชัก เช่น การอดนอน การดื่มสุรา เป็นต้น ก็จะดำเนินชีวิตเป็นปกติได้ ส่วนผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อยากันชักมาตรฐานตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป ควรได้รับการตรวจประเมินว่าสามารถผ่าตัดนำจุดกำเนิดชักออกได้หรือไม่ เช่น การกระตุ้นเส้นประสาทสมองคู่ที่สิบด้านซ้าย (Vagus nerve stimulation) การรักษาด้วยการควบคุมอาหารแบบ Ketogenic diet วิธีนี้มักใช้ในเด็ก อย่างไรก็ตาม หากรู้ว่าเป็นโรคลมชักเร็ว ก็จะยิ่งมีโอกาสสูงในการรักษาให้หายขาดได้

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

@kwang

by @kwang

@kwang. แอดมินกวาง ผู้คร่ำหวอดในวงการ สุขภาพ ลดน้ำหนัก อาหารเสริม และ สินค้าความงามตั้งแต่ปี 2010 อยากรู้เรื่องอะไรสอบถามได้เลยค่ะ เรามีทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเตรียมตอบคำถามให้คุณ Line: @beauty24store / Tel: 092-254-8284


"ติดต่อสอบถามสินค้าและบริการ" Call center: 092-254-8284 แอดไลน์ : @beauty24store หรือกดลิ้งเลยค่ะ Line@ คลิ๊ก


Leave a Reply