โรคหัวใจ อาการเริ่มต้นเป็นยังไง มาดูกัน

         เป็นที่ทราบกันดีว่าโรคหัวใจคือสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของประชากรที่เป็นผู้ใหญ่ โดยสถิติจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า โรคหัวใจคร่าชีวิตคนทั่วโลกถึงปีละ 17 ล้านรายต่อปี ในขณะที่สถานการณ์โรคหัวใจในประเทศไทย มีสถิติผู้เสียชีวิตมากถึงชั่วโมงละ 4 ราย นับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 รองจากอุบัติเหตุและโรคมะเร็ง โดยกระทรวงสาธารณสุขระบุว่าปัจจุบันสถิติผู้ป่วยโรคหัวใจมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นเป็น 3 เท่าในรอบ 10 ปี
 หัวใจเป็นอวัยวะที่เป็นกล้ามเนื้อ ถ้าเปรียบเทียบกับเครื่องจักรที่เราเห็นกันอยู่ทั่วไป มันก็คงทำงานเหมือนเครื่องปั้มน้ำ โดยมีหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปยังอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย โดยในแต่ละวันที่เรามีชีวิตอยู่ หัวใจจะเต้นประมาณ 100,000 ครั้ง และสูบฉีดเลือดประมาณวันละ 2,000 แกลลอน หัวใจที่เปรียบดังเครื่องจักร มันก็ย่อมทำงานผิดปกติหรือเสื่อมถอยลงไปตามกาลเวลา ดังนั้น เพื่อเป็นการรู้เท่าทันว่าโรคหัวใจกำลังมาเยือน มาดูกันว่าโรคหัวใจ อาการเริ่มต้นเป็นยังไง

 

อาการเริ่มต้นของโรคหัวใจ
1.เจ็บหน้าอก
โรคหัวใจ อาการเริ่มต้นจะเจ็บอวัยวะตั้งแต่ผิวหนังของทรวงอกไปจนผิวหนังของหลัง ทั้งนี้ อวัยวะในทรวงอก เช่น หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด เยื่อหุ้มปอด หลอดอาหาร หลอดเลือดแดงใหญ่ กระดูกหน้าอก กระดูกซี่โครง เต้านม กล้ามเนื้อบริเวณหน้าอก เมื่อมีโรคหรือการอักเสบก็อาจทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกได้เช่นกัน แต่ลักษณะอาการเจ็บหน้าอกจะแตกต่างกัน จึงต้องสังเกตดูให้ดีก่อนฟันธง
อาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจ มีลักษณะดังนี้
   – เจ็บแน่นๆ อึดอัด บริเวณกลางหน้าอก อาจจะเป็นด้านซ้าย หรือทั้งสองด้านส่วนใหญ่จะเจ็บด้านซ้าย บางรายจะร้าวไปที่แขนซ้าย หรือทั้งสองข้าง หรือจุกแน่นที่คอ บางรายเจ็บบริเวณกรามคล้ายเจ็บฟัน
– อาการเจ็บหน้าอกจะเกิดในขณะออกกกำลัง เช่น วิ่ง เดินเร็วๆ รีบขึ้นบันได โกรธโมโห อาการดังกล่าวจะดีขึ้นเมื่อหยุดออกกำลัง หากเป็นโรคหัวใจ อาการเจ็บจะไม่เกิน 10 นาที
 – สำหรับผู่ที่มีอาการรุนแรง อาการแน่นหน้าอกอาจเกิดขึ้นในขณะพัก เช่น นั่ง นอน หรือหลังอาหาร พักไม่หาย อมยาก็ไม่หายปวด
 – กรณีที่เกิดหลอดเลือดหัวใจอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อาการจะรุนแรงมาก อาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น เหงื่อออกมาก เย็นปลายมือปลายเท้า หน้ามืดเป็นลม หายใจลำบาก
อาการเจ็บหน้าอกที่ไม่ได้มาจากโรคหัวใจ มีลักษณะดังนี้
 เจ็บเหมือนถูกของแหลมแทง เจ็บแปล๊บๆ เจ็บจุดเดียว กดเจ็บบริเวณหน้าอก อาการเจ็บเกิดขึ้นในขณะพัก มีอาการนานเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน และรุนแรงมากขึ้นเมื่อเปลี่ยนท่า หรือขยับตัว หรือหายใจเข้าลึกๆ อาการเจ็บอาจร้าวขึ้นศีรษะ ปลายมือ ปลายเท้า
2.ใจสั่น
ใจสั่นหมายถึงการที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ผิดจังหวะ หรือเต้นไม่สม่ำเสมอ เต้นๆหยุดๆ อาการดังกล่าวพบได้ในคนที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคปอด เกลือแร่ผิดปกติ ซึ่งการตรวจวินิจฉัยกลุ่มอาการใจสั่นเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่ายนัก เนื่องจากผู้ป่วยมักมีอาการชั่วขณะ เมื่อมาพบแพทย์อาการดังกล่าวก็หายไปแล้ว แพทย์จึงไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้ว่าเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่
 โดยแพทย์จะตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งอาจจะปกติในขณะที่ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ดังนั้น ท่านควรศึกษาวิธีจับชีพจรตัวเอง เมื่อเกิดอาการว่าหัวใจเต้นกี่ครั้งในเวลา 1 นาที และสม่ำเสมอหรือไม่ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำขึ้น

3.หอบ
 คำว่า เหนื่อย หอบ ในความหมายของแพทย์ หมายถึงอาการหายใจไม่พอ มีอัตราการหายใจมากกว่าปกติเมื่อออกกำลังกายหรือทำกิจวัตรประจำวัน เมื่อเทียบกับอดีตหรือเทียบกับคนอายุเดียวกัน แต่ในความหมายของผู้ป่วยอาจรวมไปถึง อาการเหนื่อยเพลีย หมดแรง เหนื่อยใจ ทั้งนี้ ถ้าไม่มีอัตราหายใจเร็วก็ถือว่าไม่ใช่หอบเหนื่อยจากหัวใจ
โรคหัวใจ อาการเริ่มต้นจะหอบ เหนื่อยง่าย หายใจเร็ว เวลาออกแรง เช่น เดิน วิ่ง ทำงาน โดยเป็นเวลาออกแรง แต่ผู้ที่มีอาการรุนแรง จะเหนื่อยในขณะพัก บางรายจะเหนื่อยมากจนนอนราบไม่ได้ ต้องนอนหนุนหมอนสูงหรือนั่งหลับ อย่างไรก็ดี อาการเหนื่อยแบบหมดแรง มือเท้าเย็นชา พูดก็เหนื่อย แต่ยังเดินไปมาได้ เหล่านี้มักจะไม่ใช่อาการเหนื่อยจากโรคหัวใจ
4.เป็นลมวูบ หมดสติ
อาการวูบในความหมายของแพทย์จะตรงกับภาษาอังกฤษว่า syncope หมายถึง การหมดสติ หรือ เกือบหมดสติชั่วขณะ โดยอาจรู้สึกหน้ามืด จะเป็นลม ตาลาย มองเห็นภาพไม่ชัดเจน โดยมีอาการชั่วขณะ
 ซึ่งการเป็นลมวูบ หมดสตินี้ไม่รวมถึงอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน โคลงเครง วูบวาบตามตัว หายใจไม่ออก อาการวูบหรือหมดสติดังกล่าวอาจเกิดจาก ความผิดปกติของสมอง เช่น ลมชัก เลือดออกในสมอง ความผิดปกติของหัวใจ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดร้ายแรง หรือหยุดเต้นชั่วขณะ หรือความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหัวใจ นอกจากนั้นแล้ว “วูบ” ยังอาจพบได้ในคนปกติที่ขาดน้ำทำให้ความดันโลหิตต่ำ เสียเลือด ท้องเสีย ไม่สบาย ขาดการออกกำลังกาย ยาลดความดันโลหิต
5.ขาบวม
 การบวมในผู้ป่วยโรคหัวใจเกิดจากการที่หัวใจด้านขวาทำงานลดลง เลือดจากขาไม่สามารถไหลเทเข้าหัวใจด้านขวาได้โดยสะดวก จึงมีเลือดค้างอยู่ที่ขามากขึ้น อาการบวมมักจะเป็นตอนสายๆ เช้าตื่นมาอาจจะไม่บวมหรือบวมไม่มาก แต่สายๆจะบวมมากขึ้น โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเรื้อรังก็ให้อาการเช่นนี้ได้เช่นกัน ดังนั้นเมื่อมีอาการขาบวม แพทย์จำเป็นต้องตรวจหลายระบบเพื่อหาสาเหตุ จึงจะสามารถให้การรักษาได้ถูกต้อง

คงพอทราบกันแล้วว่าโรคหัวใจ อาการเริ่มต้นเป็นยังไง ทีนี้ถ้าหากพบว่าตัวเองหรือคนรอบข้างมีอาการดังกล่าว เพื่อให้แน่ใจควรเข้าไปพบแพทย์ปรึกษาอาการ และรับการรักษาโรคหัวใจให้ทันท่วงที เพราะโรคหัวใจถือเป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตผู้อื่นได้อย่างฉับพลัน แต่ก็สามารถป้องกันหรือทำให้อาการดีขึ้นได้หากเรารู้เท่าทันมัน

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

@kwang

by @kwang

@kwang. แอดมินกวาง ผู้คร่ำหวอดในวงการ สุขภาพ ลดน้ำหนัก อาหารเสริม และ สินค้าความงามตั้งแต่ปี 2010 อยากรู้เรื่องอะไรสอบถามได้เลยค่ะ เรามีทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเตรียมตอบคำถามให้คุณ Line: @beauty24store / Tel: 092-254-8284


"ติดต่อสอบถามสินค้าและบริการ" Call center: 092-254-8284 แอดไลน์ : @beauty24store หรือกดลิ้งเลยค่ะ Line@ คลิ๊ก


Leave a Reply