บำรุงไต ด้วย สารสกัด จากธรรมชาติ

         การบำรุงไตเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าคุณจะป่วยเป็นโรคไตหรือไม่ เนื่องจากถ้าไตแข็งแรงก็จะส่งผลดีต่อการสร้างเสริมสุขภาพในหลายๆด้าน หนึ่งในนั้นคือการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ไตที่แข็งแรงจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาว Macrophage ในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือเซลล์มะเร็ง เป็นต้น
ไม่เพียงแค่นั้น การบำรุงไตยังมีส่วนช่วยปรับระบบภูมิคุ้มกันให้อยู่ในภาวะสมดุล ซึ่งเมื่อระบบภูมิคุ้มกันสมดุลก็ทำให้อาการของโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันสามารถหายขาดได้ อย่างโรคภูมิแพ้ หอบหืด โรค SLE โรคปวดข้อรูมาตอยด์ โรคสะเก็ดเงิน เป็นอาทิ ดังนั้น การบำรุงไตจึงจำเป็นสำหรับทุกคน บทความนี้จึงได้หยิบสารสกัดจากธรรมชาติที่มีส่วนช่วยในการบำรุงไตมาให้ท่านผู้อ่านได้รู้จักกัน


สารสกัดจากธรรมชาติ บำรุงไต

1.เก๋ากี้ แค่ชื่อก็รู้แล้วว่าเป็นสมุนไพรจีน โดยเก๋ากี้นั้นมีสารอาหารต่างๆมากมายที่ช่วยการทำงานของเซลล์ และอวัยวะได้แก่ betaine, วิตามิน A, B1, B2, calcium, phosphorus, iron, zeaxanthin จากการศึกษาพบว่าสารสกัดจากเก๋ากี้ช่วยยับยั้งการสะสมไขมันในเซลล์ ช่วยในการเกิดใหม่ของเซลล์ตับ บำรุงไต ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และลดความดัน ช่วยสร้างเม็ดเลือดให้แข็งแรง ปรับปรุงเซลล์เม็ดเลือดขาว เพิ่มสมรรถภาพทางเพศช่วยระบบเจริญพันธุ์ ลดอาการอักเสบและโรคไขข้ออักเสบ
2.เห็ดหลินจือ ช่วยรักษาโรคไตอักเสบ ไตวาย เนื่องจากเห็ดหลินจือช่วยละลายใยแผลเป็นให้อ่อนตัว ไม่ให้รัดเส้นเลือดที่เลี้ยงไต เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงไตได้ จึงทำให้ไตทำงานได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีสารนิวคลีโอไชด์ มีคุณสมบัติละลายลิ่มเลือด ไม่ให้ลิ่มเลือดเกาะตัวง่ายจนทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือด ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ที่สำคัญเห็ดหลินจือเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีเยี่ยม
3.พุทราจีน ถูกใช้อย่างกว้างขวางในศาสตร์การแพทย์แผนจีน เพราะพุทราจีนประกอบไปด้วยวิตามินซีจำนวนมาก ทั้งยังมีโปรตีน น้ำตาล และวิตามินบี-2 ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ ผลวิจัยพบว่า ผู้ที่รับประทานผลพุทราจีนเป็นประจำ จะสามารถหลีกเลี่ยงต่ออาการผนังเส้นเลือดแข็งตัว ผนังเส้นเลือดหัวใจตีบตัน หรือเส้นเลือดในสมองแตก การมีปริมาณคอเลสเตอรอลภายในร่างกายสูง เนื่องจากสารเพคทิน (Pectin) ในพุทราจีนจะช่วยจับโลหะหนักที่ตกค้างในร่างกายและลดคลอเลสเตอรอลได้ มีประโยชน์ต่อไต

4.เส็กตี่ หรือ Chinese foxglove มีสรรพคุณช่วยบำรุงไตให้ชุ่มชื้นมีประโยชน์ต่อผู้ที่มีพลังไตอ่อนแอ นอกจากนี้เส็กตี่ยังช่วยในการบำรุงเลือด ดังนั้น จึงมีผลทำให้อายุยืน ร่างกายกระปรี้กระเปร่า อ่อนกว่าวัย และยังใช้เป็นยาบำรุง ลดความดัน และลดระดับน้ำตาลในเลือด ขับปัสสาวะ มีฤทธิ์ระบาย แก้ร้อนใน ลดระดับคลอเลสเตอรอล และเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งหญิงและชายอีกด้วย
กระนั้นก็ตาม ผู้ที่เป็นโรคไต รวมถึงผู้ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะเป็นโรคไต ควรควบคุมอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน โดยควรทำตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ควบคู่ไปกับการรับประทานสมุนไพรบำรุงไตข้างต้น รับรองว่าไตจะกลับมาแข็งแรงขึ้น

อาหารที่ควรควบคุม
คนที่เป็นโรคไตหรืออยู่ในภาวะเสี่ยง ควรงดอาหารที่มีเกลือโซเดียมมาก อาหารที่มีรสเค็ม เกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว ผงชูรส เพราะไตไม่สมารถขับโซเดียมออกจากร่างกายได้หรือขับได้น้อยผิดปกติ เมื่อเกลือในร่างกายมีมาก จะเกิดการอุ้มน้ำเอาไว้มากเกินไป จนคนที่เป็นโรคไตมีอาการบวม นอกจานั้นยังควรจำกัดโปรตีน แนะนำว่าในแต่ละวัน อาหารที่เป็นเนื้อสัตว์น่าจะมีปริมาณวันละเท่ากับ 1 ฝ่ามือ แต่สำหรับคนที่เป็นโรคไตเนฟโฟรติก มีการสูญเสียโปรตีนในปัสสาวะ ให้ใช้วิธีกินโปรตีนคุณภาพสูงเข้าไปทดแทน คือกินเฉพาะไข่ขาวในระหว่างที่ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ

วิธีนี้จะดีกว่าการรับประทานอาหารโปรตีนมากๆ เพื่อป้องกันการสูญเสียทางไต และแนะนำว่าให้กินไข่ขาววันละ 4-6 ฟอง จะช่วยทดแทนโปรตีนที่สูญเสียไปกับปัสสาวะในแต่ละวัน หากไม่มีโปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะแล้วก็ให้งดการกินไข่ขาวไป ที่สำคัญควรงดสารปนเปื้อนในอาหารเด็ดขาด เช่น สีผสมอาหาร กลิ่นสังเคราะห์ รสชาติสังเคราะห์ สารกันบูด กันเชื้อรา ฯลฯ เพราะสารเคมีเหล่านี้ล้วนเป็นภาระให้ไตต้องขับออกนอกร่างกาย หรือทำงานหนักมากขึ้นนั่นเอง

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

การใช้ยาโรคไตที่ถูกต้อง

         เมื่อเกิดโรคต่างๆขึ้นแล้ว สิ่งแรกที่คนเรามักนึกถึงก็คือการหายามารับประทาน อย่างเช่น เมื่อเริ่มมีอาการปวดหัวตัวร้อน ก็จัดการรับประทานยาพารา หรือยาลดไข้ เป็นต้น ทั้งนี้ สำหรับยาโรคไต ไม่ว่าจะเป็นไตวายเรื้อรัง โรคถุงน้ำที่ไต โรคไตอักเสบ และอื่นๆที่เกี่ยวกับไต จำเป็นต้องได้รับการรักษาและการใช้ยาโรคไตที่ถูกต้อง เพราะไตเป็นอวัยวะสำคัญและมีความละเอียดอ่อน หากขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาก็อาจส่งผลเสียต่อไต หรือยิ่งทำให้อาการทรุดหนักได้


ข้อมูลเกี่ยวกับยาโรคไตที่ควรทราบ

         1.ชื่อยาและขนาดยาที่ใช้ ยาบางรายการแพทย์จะพิจารณาปรับขนาดยาตามค่าการทำงานของไต หากผู้ป่วยโรคไตได้รับยาที่ถูกขจัดออกโดยไตในขนาดเท่ากับคนปกติ อาจเกิดการสะสมของยาในร่างกายจนก่อให้เกิดผลข้างเคียงจากยาและเกิดพิษต่อไตตามมาได้ ผู้ป่วยจึงควรให้ความสำคัญกับชื่อยา ลักษณะเม็ดยา ขนาดยา และวิธีที่รับประทานต่อวันเพื่อความปลอดภัยในการใช้ยาของผู้ป่วยเอง
         2.วัตถุประสงค์ของการใช้ยา ยาโรคไตบางชนิดมีหลายข้อบ่งใช้ ผู้ป่วยควรทราบข้อบ่งใช้และยาที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อตนเอง ตลอดจนผลที่คาดหวังจากการใช้ยา
         3.วิธีการรับประทานยาและข้อควรระวัง ยาบางรายการมีวิธีการรับประทานยาที่แตกต่างไป ยาบางรายการมีขนาดและระยะเวลารับประทานซึ่งแพทย์ได้พิจารณาจากผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ อาจมีการปรับขนาดยาลงหรือเพิ่มขนาดยามากขึ้นในแต่ละครั้งที่ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจรักษา ผู้ป่วยจึงควรสอบถามข้อมูลจากแพทย์และเภสัชกรให้ละเอียด

 
ตัวอย่างยาที่อาจส่งผลเสียต่อไต
         1.ยาแก้ปวดลดการอักเสบ ยากลุ่มนี้ไม่ใช่สเตียรอยด์ ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ ไอบูโพรเฟน ไดโคลฟีแนค อินโดเมทาซิน นาโปรเซน และซีลีคอกซิบ เป็นต้น ซึ่งผลข้างเคียงอาจทำให้เกิดอาการบวม ความดันโลหิตสูง อันเป็นผลมาจากการคั่งของน้ำและเกลือในร่างกาย และยังมีผลทำให้การทำงานของไตลดลงด้วย จึงควรหลีกเลี่ยงงการใช้ยากลุ่มนี้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
         2.ยาหรือพืชสมุนไพรบางชนิด ปัจจุบันมีการนำยาสมุนไพรมาใช้อย่างแพร่หลาย ซึ่งอาจต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากข้อมูลการศึกษาของสมุนไพรในผู้ป่วยโรคไตยังมีน้อย และยังขาดการตรวจสอบด้านมาตรฐานในการผลิต นำมาซึ่งสารพิษและสิ่งเจือปน มีผลทำให้การทำงานของไตลดลงได้
         3.สารทึบรังสี (Contrast media) บางครั้งผู้ป่วยโรคไตอาจมีความจำเป็นต้องทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องได้รับสารทึบรังสีเข้าสู่ร่างกายทางหลอดเลือดดำ อันจะส่งผลให้การทำงานของไตลดลงเฉียบพลัน ดังนั้น ก่อนเอกซเรย์ทุกครั้งควรแจ้งให้รังสีแพทย์ทราบว่ามีโรคไต เพื่อจะได้ให้การป้องกันไม่ให้การทำงานของไตเสื่อมลง
         4.ยาปฏิชีวนะ ที่มีผลทำให้ไตเสื่อมการทำงาน เช่น ยา Gentamicin และ Amikacin การได้รับยากลุ่มนี้อาจทำให้การทำงานของไตลดลง และยาปฏิชีวนะบางตัวจะต้องมีการปรับลดขนาดยาลงในผู้ป่วยโรตไตเรื้อรัง ดังนั้น จึงไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง


คำแนะนำในการใช้ยาโรคไต

         ผู้ป่วยโรคไตต้องเข้าใจว่าการใช้ยาโรคไต มีเป้าหมายเพื่อชะลอการเสื่อมของไต และป้องกันและรักษาภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ฉะนั้น ผู้ป่วย ญาติ หรือผู้ดูแล ควรแจ้งให้แพทย์และทีมรักษาทราบถึงรายการยา อาหารเสริม วิตามิน สมุนไพรที่ผู้ป่วยได้รับอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากยาและสมุนไพรบางชนิดอาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยารักษาโรคไตที่ผู้ป่วยใช้อยู่ หรืออาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อไตได้ ส่วนวิตามินบางรายการอาจเกิดการสะสมในร่างกายเนื่องจากไตไม่สามารถทำหน้าที่ขจัดวิตามินเหล่านั้นออกได้ตามปกติ
         ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการซื้อยา อาหารเสริม วิตามิน และสมุนไพรมารับประทานเอง ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนทุกครั้ง และในแต่ละครั้งที่เข้าพบแพทย์ อาจมีการปรับเปลี่ยนขนาดยาที่ได้รับอยู่เดิม ดังนั้นผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแลควรสอบถามแพทย์ถึงระยะเวลาการรับประทานยาและขนาดยาที่ปรับเปลี่ยนไปในแต่ละครั้ง และควรยึดวิธีการรับประทานยาตามการใช้ยาครั้งใหม่ เพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการรักษาโรคไต

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

โรคไต…โรคร้ายที่ไม่มีใครอยากเป็น

         ทราบหรือมไม่ โรคไตนับเป็นปัญหาอันดับต้นๆของระบบสาธารณสุขทั่วโลก ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจำนวน 8 ล้านคน มีผู้ป่วยรายใหม่ปีละประมาณ 1 หมื่นคน และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ต้องการการรักษาด้วยวิธีบำบัดทดแทนไต เช่น การฟอกเลือดทำไตเทียมการล้างไตทางช่องท้อง และการปลูกถ่ายไต รวม 4 หมื่นคน
         และข้อมูลสถิติที่น่าสนใจของผู้ป่วยโรคไตคือ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลด้วยวิธีบำบัดทดแทนไต ต้องใช้งบประมาณ 2 แสนบาทต่อคนต่อปี คำนวณค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยทั้งประเทศจะสูงถึง 4-6 พันล้านบาท นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังต้องรับภาระค่ายา ค่าพาหนะ และคุณภาพชีวิตที่ไม่สมบูรณ์ มีความทุกข์ทั้งกายและใจอีกด้วย เห็นไหมว่าโรคไตเป็นอีกหนึ่งโรคร้ายที่เป็นกันมาก และมีค่าใช้จ่ายแพงหูฉี่เลยทีเดียว


โรคไต คืออะไร

         เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องเราควรทราบกันก่อนว่า โรคไต หมายถึงโรคอะไรก็ได้ที่มีความผิดปกติหรือที่เรียกว่า “พยาธิสภาพ” เกิดที่บริเวณไต ที่พบมาก ได้แก่ โรคไตวายฉับพลันจากเหตุต่างๆ โรคไตวายเรื้อรังเกิดตามหลังโรคเบาหวาน โรคไตอักเสบ หรือโรคความดันโลหิตสูง โรคไตอักเสบเนโฟรติก โรคไตอักเสบจากภาวะภูมิคุ้มกันสับสน (โรค เอส.แอล.อี.) โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และโรคถุงน้ำที่ไต (Polycystic Kidney Disease)

อาการของผู้ป่วยโรคไต
         ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไตแต่ละชนิด จะมีอาการแตกต่างกันไป แต่ส่วนมากมักจะปัสสาวะเป็นเลือด อาจเป็นเลือดสดๆ เลือดเป็นลิ่มๆ ปัสสาวะเป็นสีแดง สีน้ำล้างเนื้อ สีชาแก่ๆ หรือปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้มก็ได้ ปัสสาวะเป็นฟองมาก เพราะมี albumin หรือโปรตีนออกมามาก จะทำให้ปัสสาวะมีฟองขาวๆเหมือนฟองสบู่ รวมทั้งการมีปัสสาวะเป็นเลือด พร้อมกับมีไข่ขาว-โปรตีนออกมาในปัสสาวะพร้อมๆกัน ก็เป็นข้อสันนิฐานที่มีน้ำหนักมากว่าจะเป็นโรคไต
         นอกจากนี้ หากปัสสาวะเป็นสีขุ่น อาจเกิดจากมี เม็ดเลือดแดง (ปัสสาวะเป็นเลือด) เม็ดเลือดขาว (มีการอักเสบ) มีเชื้อแบคทีเรีย (แสดงว่ามีการติดเชื้อ) หรืออาจเกิดจากสิ่งที่ร่างกายขับออกจากไต แต่ละลายได้ไม่ดี เช่น พวกผลึกคริสตัลต่างๆ เป็นต้น และความผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ เช่น การถ่ายปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบ ปัสสาวะราด เบ่งปัสสาวะ อาการเหล่านี้ล้วนเป็นอาการผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก และท่อทางเดินปัสสาวะ

         สำหรับใครที่มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง (colicky pain) ร่วมกับการมีปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่น หรือมีกรวดทราย แสดงว่าเป็นนิ่วในไต และทางเดินปัสสาวะ มีก้อนบริเวณไต หรือบริเวณบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง อาจเป็นโรคไต เป็นถุงน้ำการอุดตันของไต หรือเนื้องอกของไต
         อาการปวดหลังมักเกิดในกรณีที่เป็นกรวยไตอักเสบ จะมีอาการไข้หนาวสั่น และปวดหลังบริเวณไต คือ บริเวณสันหลังใต้ซี่โครงซีกสุดท้าย อาการบวม โดยเฉพาะการบวมที่บริเวณหนังตาในตอนเช้า หรือหน้าบวม ซึ่งถ้าเป็นมาก จะมีอาการบวมทั่วตัว อาจเกิดได้ในโรคไตหลายชนิด แต่ที่พบได้บ่อย โรคไตอักเสบชนิดเนฟโฟรติค ซินโดรม (Nephrotic Syndrome)
         ส่วนกรณีที่มีความดันโลหิตสูง อาจเกิดจากไตสร้างสารควบคุมความดันโลหิต ประกอบกับไตมีหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำ และเกลือแร่ในร่างกาย เพราะฉะนั้นความดันโลหิตสูงอาจเป็นเพราะโรคไตโดยตรง หรือในระยะไตวายมากๆ ความดันโลหิตก็จะสูง ได้
         หากพบว่าตัวเองมีอาการดังกล่าวก็อาจเข้าข่ายเป็นผู้ป่วยโรคไตได้ ดังนั้น จึงควรไปพบแพทย์เพื่อทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด เอ็กซ์เรย์ จึงจะพอบอกได้แน่นอนขึ้น ว่าเป็นโรคไตหรือไม่ ถ้าผลตรวจออกมาว่าเป็นโรคไตจะได้ทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ แต่หากไม่ใช่ ก็จะได้หาวิธีป้องกันโรคร้ายนี้ต่อไป

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

บำรุงไตอย่างไร ให้ไตแข็งแรง อายุยืน

         เมื่อพูดถึงโรคที่เกี่ยวกับไต บอกได้เลยว่ามีมากมายสารพัด ไม่ว่าจะเป็นโรคนิ่วในไต กรวยไตอักเสบ โรคไตอักเสบ และที่เป็นกันมากในปัจจุบันนั่นก็คือโรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งการทำงานของไตเสียอย่างถาวร ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ โดยโรคนี้เป็นภาวะที่เกิดจากโรคหลายอย่าง เช่น โรคเบาหวานที่เป็นมานานเกิน 15 ปี เป็นโรคความดันโลหิตสูงนานๆ โรคหัวใจ เป็นต้น
         วิธีการรักษาที่ดีที่สุดคือ การผ่าตัดปลูกเปลี่ยนไตจากคนที่บริจาคไตให้ แต่มีข้อจำกัดตรงที่มีผู้บริจาคไตน้อย ในขณะที่ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังมีมาก ผู้ป่วยเหล่านี้จะอยู่ได้ด้วยการล้างไต ซึ่งแน่นอนว่าต้องทนทุกข์ทรมานและใช้งบประมาณในการรักษาสูงมาก …ที่เกริ่นมาแบบนี้ เพราะอยากให้ท่านผู้อ่านได้ตระหนักถึงการรักษาสุขภาพ โดยเฉพาะการทำให้อวัยวะสำคัญอย่างไตมีความแข็งแรง ในอนาคตจะได้ไม่ต้องเป็นผู่ป่วยโรคไต


อาหารบำรุงไต

         การรับประทานอาหารหลายๆอย่างที่มากเกินความจำเป็น จะทำให้ร่างกายของเราได้รับสารอาหารบางชนิดเกินกว่าความต้องการและอาจทำให้ “ไต” ต้องทำงานหนักและเสื่อมเร็วได้ ในทางตรงกันข้ามอาหารบางชนิดเมื่อรับประทานแล้วมีส่วนช่วยบำรุงไตให้แข็งแรงยิ่งขึ้น    
         1.งาดำ มีฤทธิ์กลางๆ หรือภาษาหมอไทยเรียกมีฤทธิ์สุขุม รสหวาน เหมาะสำหรับบำรุงตับ ชำระตับบำรุงสายตา เด็กกินได้ ผู้ใหญ่กินดี ช่วยบำรุงไตให้แข็งแรง สุขภาพดี นอกจากนี้ยังช่วยให้ดวงตาแจ่มใส มองชัดเจนยิ่งขึ้น
         2.กระเทียมสด จะมีสารอัลลิซิน ซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ดี มีสรรพคุณในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อรา รวมทั้งป้องการโรคหัวใจโรคหลอดเลือด ลดความดันโลหิต ที่สำคัญยังช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคไต และการอักเสบต่างๆ
         3.หอมหัวใหญ่ป็นอาหารบำรุงสุขภาพสำหรับคนที่มีระดับครีเอตินิน ในระดับสูง หรือผู้ที่มีปัญหาเรื่องโรคไต ซึ่งในหอมหัวใหญ่จะมีสารประกอบธรรมชาติอย่างโพรสตาแกลนติน ที่มีคุณสมบัติในการลดความหนืดของเลือด และช่วยลดความดันของเลือด ซึ่งจะทำให้ลดอาการโรคไตลงได้

         4.กะหล่ำปลี จะมีวิตามินซี กรดฟอลิก เส้นใย และยังมีโพแทสเซียมต่ำ ซึ่งสามารถขจัดสารพิษบางอย่างออกจากร่างกายได้ ทำให้ลดภาระการทำงานของไตได้ และป้องกันการเกิดโรคหัวใจ และโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งทั้ง 2 โรค สามารถเชื่อมโยงการเกิดโรคไตได้
         5.ปลาสดช่น แซลมอน เทราต์ และซาร์ดีน อุดมไปด้วยโปรตีนและโอเมก้า 3 ที่คนไม่สามารถผลิตเองได้ ซึ่งการรับประทานปลาสดเป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิต และคอเลสเตอรอลสูงได้
         6.แครนเบอร์รี่ ผลไม้ลูกเล็กสีแดงที่จะช่วยเพิ่มความเป็นกรดของปัสสาวะ และลดความเสี่ยงในการเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ และบำรุงไตให้แข็งแรงได้อีกด้วย

ออกกำลังกายเพิ่มพลังไต
         การออกกำลังกายนี้นำมาจากศาสตร์จีน คือจะช่วยเพิ่มพลังให้แก่ไต และบำรุงไตให้แข็งแรง ช่วยให้การหมุนเวียนพลังงานเป็นไปอย่างราบรื่น การออกกำลังกายที่ดีต่อไตโดยเฉพาะ คือการออกกำลังกายที่ช่วยให้ได้หายใจลึกและยาว เช่น ชี่กงหรือไทเก๊ก และควรทำในช่วงเช้า เนื่องจากเป็นช่วงที่ยังพลังหยินสะสมอยู่ในอากาศมาก การได้บำรุงพลังหยินจะช่วยฟื้นฟูให้ดีขึ้นได้

         ข้อดีของไทเก๊กและชี่กง คือเป็นการออกกำลังกายช้าๆ ช่วยให้กระดูกและข้อต่อได้เคลื่อนไหวอย่างช้าๆ ซึ่งเป็นการออกแรงเหมือนการยกเวต จึงช่วยให้เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อค่อยๆหนาตัวขึ้น และการที่กระดูกได้รับแรงกระแทกนิดหน่อยจะช่วยให้กระดูกค่อยๆมีความหนาแน่นมากขึ้น
         การออกกำลังกายด้วยวิธีนี้จึงเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของไต ซึ่งมักมีปัญหาเรื่องกระดูกตามมาด้วย ทั้งนี้ ทุกครั้งที่ออกกำลังกายควรเลือกสถานที่ที่ให้พลังจากธรรมชาติที่ดีต่อสุขภาพด้วย แพทย์แผนจีนเชื่อว่า การได้ออกกำลังกายในที่ที่มีอากาศ เช่น ในที่ที่มีต้นไม้ใหญ่มากๆหรือริมทะเล จะช่วยให้ร่างกายได้รับพลังงานธรรมชาติจากสถานที่นั้นๆด้วย
         นอกจากนี้ การว่ายน้ำก็เป็นการออกกำลังกายอีกประเภทหนึ่งที่ช่วยฟื้นฟูสุขภาพของไตได้ดีเช่นกัน เพราะการว่ายน้ำช่วยทำให้หายใจลึก ยาว ตลอดจนมีการกลั้นหายใจ ซึ่งเป็นช่วงที่ช่วยให้ไตได้จับพลังงานจากอากาศอย่างเต็มที่ ทั้งยังช่วยให้ปอดแข็งแรง การออกกำลังกายจะช่วยให้ไตค่อยๆกักเก็บพลังงานมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น จึงควรออกกำลังกายเพิ่มพลังไตอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.