แคลเซียมรักษาโรคกระดูกเสื่อม

         เป็นที่รู้กันดีว่าสารอาหารอย่างแคลเซียมมีประโยชน์มากมายต่อร่างกาย โดยเฉพาะการทำให้กระดูกของเราแข็งแรง ห่างไกลภาวะกระดูกพรุนก่อนวัยอันควร เนื่องจากแคลเซียมช่วยรักษาโรคกระดูกเสื่อมโดยตรง จึงเป็นเหตุผลที่ว่าเด็กๆควรรับประทานแคลเซียมมากๆ กระดูกจะได้แข็งแรง ไม่เปราะง่าย และมีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกายอีกด้วย กระนั้นก็ดี หัวข้อที่เราจะพูดถึงในวันนี้ก็คือแคลเซียมกับการรักษาโรคกระดูกเสื่อม


โรคกระดูกเสื่อม คืออะไร

         โรคกระดูกเสื่อม คือโรคภัยอย่างหนึ่งที่มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ เนื่องจากกระดูกเสื่อมสภาพตามวัย  โดยตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป ร่างกายจะเริ่มมีการเสื่อมสลายของกระดูกมากกว่าการสร้าง พูดง่ายๆคือเป็นภาวะที่มีเนื้อกระดูกบางตัวลง มีการสร้างกระดูกน้อยกว่าการทำลายกระดูก ทำให้เสี่ยงต่อภาวะกระดูกหักหรือยุบตัวได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณกระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกข้อมือ
         และเมื่ออายุมากขึ้น ก็จะยิ่งมีการสลายของกระดูกมากขึ้น โดยเฉพาะผู้หญิงที่เข้าสู่วัยทอง ซึ่งในช่วง 5 ปีของการเข้าสู่วัยทอง จะมีการสลายของกระดูกปีละประมาณ 3–5 เปอร์เซ็นต์ สำหรับผู้ชาย หลังจากอายุ 40 ปี ก็จะมีการสลายของกระดูกเช่นกัน แต่จะน้อยกว่าผู้หญิง โดยจะมีการสลายของกระดูกปีละ 0.5–1 เปอร์เซ็นต์
         อาการของโรคกระดูกเสื่อม กระดูกพรุน หรือกระดูกเปราะนั้น ในช่วงแรกๆ อาจจะไม่มีอาการแสดงที่ชัดเจน โดยผู้ป่วยอาจจะมีอาการปวดเมื่อยธรรมดา แต่บางรายอาจจะมีอาการปวดกระดูก ปวดหลัง ปวดสะโพก ปวดข้อร่วมด้วย และที่เป็นมากคือกระดูกสันหลังยุบตัวลง ทำให้หลังโก่ง หลังค่อม และตัวเตี้ยลงได้


แคลเซียม กับการรักษาโรคกระดูกเสื่อม

         วิธีการรักษาโรคกระดูกเสื่อมนั้น นอกจากจะควรออกกำลังกายแบบลงน้ำหนัก (weight-bearing exercise) อย่างสม่ำเสมอ เช่น เดินไกล วิ่งเหยาะๆ รำมวยจีน เต้นรำ รวมทั้งหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงอย่างการสูบบุหรี่ ดื่มสุราแล้ว การรับประทานแคลเซียมทั้งในอาหารทั่วไปและอาหารเสริมจะช่วยป้องกันและรักษาโรคกระดูกเสื่อมได้เป็นอย่างดี โดยผู้ใหญ่ที่อายุน้อยกว่า 50 ปี ต้องการแคลเซียมวันละ 1,000  มิลลิกรัม  อายุมากกว่า 50 ปี ต้องการแคลเซียมวันละ 1,200 มิลลิกรัม

         แหล่งที่มาของแคลเซียมได้จากอาหารหลายประเภทนม โยเกิร์ต ชีส ปลาตัวเล็กทอด กุ้งแห้ง กะปิ  ผักคะน้า ใบยอ ดอกแค เต้าหู้แข็ง ถั่วแดง และงาดำ ทั้งนี้ โดยทั่วไปการรับประทานอาหารจะได้รับแคลเซียมประมาณ 400-500  มิลลิกรัมต่อวันเท่านั้น หรือน้อยกว่าครึ่งหนึ่งที่ร่างกายควรได้รับ จึงควรดื่มนมเสริม และแนะนำให้รับประทานแคลเซียมในรูปแบบอาหารเสริมด้วย เพื่อประโยชน์สูงสุดในการรักษาโรคกระดูกเสื่อม ป้องกันไม่ให้กระดูกพรุนได้ง่ายๆ


สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.