ไม่อยากให้ความดันสูงกำเริบ ต้องรู้จักดูแลตัวเอง

         ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเราทุกคนต้องมีความดันโลหิต เพราะความดันโลหิตจะเป็นแรงผลักดันให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย ทว่าเราต้องพยายามรักษาให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะหากความดันสูงหรือความดันต่ำกว่าเกณฑ์ จะทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย อย่างเช่น ถ้าความดันสูงผลก็คือหลอดเลือดแข็งและตีบ

ความดันสูง คืออะไร
         ความดันสูง เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยมีความดันเลือดในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติ ทำให้หัวใจต้องบีบตัวมากขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดให้ไหลเวียนไปตามหลอดเลือด ความดันเลือดประกอบด้วยสองค่า ได้แก่ ความดันในหลอดเลือดขณะที่หัวใจบีบตัว (systole) และความดันในหลอดเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว (diastole) ความดันเลือดปกติขณะพักอยู่ในช่วง 100-140 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจบีบ และ 60-90 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจคลาย ดังนั้นผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจึงหมายถึงผู้ที่มีความดันเลือดเท่ากับหรือสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท

 


ประเภทของความดันโลหิตสูง

         ความดันสูง แบ่งออกได้เป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ (ไม่ทราบสาเหตุ) และความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ราวร้อยละ 90-95 จัดเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ หมายถึงมีความดันโลหิตสูงโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน ที่เหลืออีกร้อยละ 5-10 เป็นความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิมักจะมีสาเหตุจากภาวะอื่นที่มีผลต่อไต หลอดเลือดแดง หัวใจ หรือระบบต่อมไร้ท่อ

ความเสี่ยงจากความดันสูง
         ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหลอดเลือดสมอง กล้ามเนื้อหัวใจตายเพราะขาดเลือด หัวใจวาย หลอดเลือดโป่งพอง โรคของหลอดเลือดส่วนปลาย และเป็นสาเหตุของโรคไตเรื้อรัง ความดันโลหิตที่สูงในระดับปานกลางก็มีความสัมพันธ์กับอายุขัยที่สั้นลง การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและพฤติกรรมการรับประทานอาหารสามารถช่วยลดความดันเลือดและลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้ แต่สำหรับผู้ป่วยที่รักษาด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตแล้วไม่ได้ผลหรือไม่เพียงพอจำเป็นต้องรักษาด้วยยา หรืออยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ


การดูแลตัวเอง ไม่ให้ความดันสูงกำเริบ

         1.อาหาร ควรงดอาหารที่มีรสเค็ม หรือปรุงโดยสารที่ให้รสเค็ม เช่น เกลือ รวมทั้งผลชูรสและผงฟูทําขนมปัง
         2.รับประทานผักผลไม้ทุกมื้อ เพราะมีแมกนีเซียมและกากใย ช่วยลดความดันโลหิต รวมทั้งรับประทานถั่วและธัญพืชอย่างเพียงพอ เพราะมีกากใยชนิดละลายน้ำช่วยควบคุมความดันโลหิตได้ ที่สําคัญควรลดหรือ งดรับประทานไขมันอิ่มตัวจากสัตว์ น้ํามันสัตว์ เนื้อสัตว์ติดมัน
         3.ควรควบคุมน้ำหนัก โดยลดการรับประทานน้ํามันไขมันน้ำตาลแป้ง
         4.ออกกําลังกาย แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกกําลังกายเนื่องจากบางรายอาจต้องควบคุมความดันโลหิตก่อนและเลือกออกกําลังกายที่มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องชนิดเบาถึงปานกลางระยะเวลา 30-40 นาที 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ เช่น เดินเร็ว 30-40 นาที ทุกวันแต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกําลังกายที่ใช้การออกแรงดัน เช่น การยกน้ําหนัก เพราะจะทําให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้
         5.อย่าเครียด ความเครียดมีผลต่อความดันโลหิต จึงควรฝึกการผ่อนคลาย โดยการบริหารจิต การมีเมตตา การเจริญสติ สมาธิ
        6.งดสูบุหรี่ เนื่องจากสารพิษในบุหรี่ทําให้เกิดการอักเสบของผนังเส้นเลือด หลอดเลือดแข็งตัวเร็วขึ้น

         7.งดดื่มสุรา ยาดองของมึนเมาที่มีแอลกอฮอล์ ทําให้ความดันโลหิตสูง หัวใจวายได้
         8.รับประทานยา ให้สม้ำเสมอและต่อเนื่องตามที่แพทย์กําหนด ไม่ปรับเพิ่มหรือลดยาเอง พร้อมทั้งวัดความดันโลหิตเป็นระยะ
         ได้ทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับโรคความดันสูงกันไปพอสมควร เชื่อว่าหลายคนคงเริ่มหวาดหวั่นขึ้นมาบ้าง แต่ก็อยากได้วิตกกังวลมากจนเกินไป เพราะจะยิ่งมีผลทำให้ความดันสูงขึ้นไปอีก อย่างไรก็ดี เราสามารถต่อสู้กับความดันสูงได้ โดยการดูแลตัวเองตามข้อปฏิบัติข้างต้น และทำตามคำแนะนำของหมอ เพียงแค่นี้อาการความดันกำเริบก็จะไม่ใช่เรื่องน่าหนักใจอีกต่อไป

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.