ปวดเมื่อยตามตัว ไม่มีแรง รักษายังไงให้หาย

         วันนี้เรามาจะพูดถึงอาการปวดเมื่อยตามตัวกัน เนื่องจากคนในยุคนี้มีปัจจัยเสี่ยงอย่างมากที่จะทำให้เกิดอาการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยในจาการทำงานที่ในหนึ่งวันต้องนั่งหลังขดหลังแข็งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะคอมพิวเตอร์ซินโดรม หรือมีอาการปวดเกร็งกล้ามส่วนต่างๆ นอกจากนี้ในบางคนพอตื่นขึ้นมาตอนเช้าก็จะรู้สึกอ่อนเปลี้ยเพลียแรงก็มี นอกจากนี้การออกกำลังกายที่หักโหม หรืออุบัติเหตุเพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้ปวดดเมื่อยตามตัวได้


อาการปวดเมื่อยตามตัว เกิดจากอะไรบ้าง

         1.กล้ามเนื้อทำงานหนักและถูกเกร็งค้างอยู่นานๆ โดยจะพบอยู่บ่อยๆ เช่น การเกร็งในการสะพายกระเป๋าทุกครั้งเพื่อไม่ให้ประเป๋าหลุดลงจากบ่า เลยต้องมีการเกร็งกล้ามเนื้อบ่าอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าจะไม่ได้ใช้แรงจากกล้ามเนื้อมากนักแต่เป็นการเกร็งค้าง จึงมีการบีบกดของหลอดเลือดที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณนั้นๆ ทำให้การนำออกซิเจนมาช่วยในการเผาผลาญสารอาหารทำได้ไม่เต็มที่ เมื่อร่างกายไม่ได้รับออกซิเจนไปใช้ในกระบวนการนี้ จึงทำให้เกิดการคั่งของกรดแล็กติก ถ้าไม่ได้ระบายออกด้วยการไหลเวียนของเลือด จะทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยล้าได้ กล้ามเนื้อที่มีอาการปวดล้าได้ง่ายได้แก่ กล้ามเนื้อ บริเวณบ่า คอด้านหลัง และหลังส่วนล่าง
         2.ภาวะหดสั้นของกล้ามเนื้อ ภาวะเช่นนี้มักจะพบได้ที่กล้ามบริเวณหน้าอก กล้ามเนื้อคอด้านหน้า กล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้องอสะโพก การที่เราใช้มือทำงานโดยยื่นออกไปทางด้านหน้าโดยทั่วไปจะทำให้กล้ามเนื้อหน้าอกอยู่ในภาวะที่หดสั้นตลอดเวลาจนความยาวของกล้ามเนื้อลดลง เมื่อถึงเวลาที่จะต้องใช้งานกล้ามเนื้อส่วนนั้น ในลักษณะที่ยืดยาวออกจะทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ การนั่งนานจะทำให้เกิดการหดสั้นของกล้ามเนื้อหน้าท้อง และกล้ามเนื้องอสะโพกที่อยู่ทางด้านหน้าของลำตัวได้

         3.อาการปวดจากเส้นเอ็น พบบ่อยบริเวณที่มีการเคลื่อนไหวข้อมาก ๆ เช่น บริเวณไหล่ ศอก ข้อมือ ส้นเท้า เอ็นร้อยหวาย เกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นในบริเวณนี้ และถ้าไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม อาจจะทำให้เกิดความพิการต่อไป เช่น ไหล่ติด ยกแขนไม่ขึ้น ทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามที่ควรจะเป็น
         4.เส้นประสาทถูกกดทับ สาเหตุนี้ถือค่อนข้างมีความรุนแรง โดยจะทำให้มีอาการปวดแสบ และร้าวไปตามเส้นประสาทนั้นๆ ถ้ามีอาการมากอาจจะทำให้กล้ามเนื้อที่เลี้ยงด้วยเส้นประสาทนั้นอ่อนแรงลง เช่น หากเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงขาถูกกด อาจจะทำให้เดินลำบากได้ เป็น ซึ่งตำแหน่งที่พบบ่อยคือที่บริเวณกระดูกคอ เกิดขึ้นจากกระดูกสันหลังบริเวณคอเสื่อม มีแคลเซียมมาเกาะ และกดลงไปที่เส้นประสาทที่ออกจากช่องระหว่างกระดูกคอ นอกจากคอแล้วยังอาจเกิดบริเวณอื่นๆได้

 

ปวดเมื่อยตามตัว รักษายังไงให้หาย
         เมื่อมีอาการปวดเมื่อยตามตัว โดยปกติเราจะมองหายานวด เพื่อนำมาทาบรรเทาอาการปวด การรักษาเบื้องต้นนี้ถือเป็นวิธีที่ได้ผล ทว่าเป็นการทำให้อาการทุเลาลงเท่านั้น จึงรักษาอาการปวดเมื่อยตามตัวเพียงเล็กน้อย ไม่สามารถรักษาอาการปวดที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงได้ ดังนั้น คนที่เกิดอุบัติเหตุหรือเกิดอาการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายจึงมักใช้วิธีนี้ ควบคู่กับการรับประทานยาแก้ปวด
         อย่างไรก็ตาม ยังมีวิธีการรักษาอาการปวดเมื่อยตามตัวอีกมากมาย อีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายก็คือการนวดจับเส้น ซึ่งในปัจจุบันมีหลายศาสตร์ให้เลือก เช่น นวดแผนไทย นวดแผนจีน นวดแผนโบราณ เป็นต้น ทั้งนี้ หากอาการปวดเมื่อยตามตัวไม่หาย หลายคนที่ไปพบแพทย์แล้ววินิจฉัยว่าอาการปวดเกิดจากกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งต้องใช้วิธีการผ่านตัดในการรักษา แล้วทำกายภาพบำบัด นอกจากนี้ อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามตัวได้อย่างเห็นผล นั่นก็คือการใช้ยาสมุนไพรบำรุงร่างกาย ซึ่งนิยมใช้กันมากในกลุ่มวัยทำงานและผู้สูงอายุ

 

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

ท่าบริหารฤๅษีดัดตน แก้อาการปวดขา

         ขาเป็นอวัยวะที่สำคัญมากต่อร่างกาย วันใดวันหนึ่งหากถึงคราวต้องสูญเสียมันไป เชื่อว่าหลายคนคงรับไม่ได้ ดังนั้น นอกจากจะต้องดูแลสุขภาพแล้ว ขาเป็นอีกอวัยวะหนึ่งที่เราไม่ควรละเลย เคยมีกรณีตัวอย่างของหนุ่มนักเต้นที่ต้องใช้งานขาอย่างหนักในการร่ายลีลาบนเวทีเกือบทุกวัน แต่กลับไม่เคยดูแลเอาใจใส่อวัยวะอย่างขาเลย ไม่เคยแม้กระทั่งยืดกล้ามเนื้อหรือบริหารขา และแล้ววันหนึ่งเขาก็ตื่นขึ้นมาพร้อมกับฝันร้าย คือมีอาการปวดขาอย่างหนัก เมื่อไปตรวจก็พบว่ากล้ามเนื้อและกระดูกที่ขาของเขาเสื่อมรุนแรงจนไม่สามารถลุกขึ้นมาเต้นได้อีกต่อไป
         เห็นหรือยังว่าการดูแลเอาใจใส่อวัยวะขาที่เราใช้งานหนักอยู่ทุกวี่วันนั้นสำคัญแค่ไหน กระนั้นก็ตาม ถ้ากำลังขายังมีเรี่ยวแรงอยู่ก็ยังถือว่าไม่สายเกินไป วันนี้เรามีวิธีดูแลรักษาขาด้วยท่าบริหารแก้ปวดขา แก้เมื่อยขามาให้ท่านผู้อ่านได้นำไปใช้ มีวิธีไหนบ้างมาดูกัน


ฤๅษีดัดตนแก้ปวดขา

         ท่าที่ 1 ท่าเตรียมให้นั่งชันเข่าไขว้ขา เอามือทั้ง 2 จับขาทั้ง 2 ข้างไว้ ทำใจให้เป็นสมาธิ จากนั้นทำท่าบริหารแก้ปวดขาด้วยการหายใจเข้าช้าๆ พร้อมทั้งพยายามแบะเข่าออกโดยมีมือทั้ง 2 พยายามออกแรงต้านขาไว้ พอสุดลมหายใจเข้าหยุดนิดหนึ่งแล้วนับ 1-10 เสร็จแล้วหายใจออกผ่อนมือและขากลับที่เดิม โดยให้ทำสลับกัน 3-6 ครั้งทุกวัน
         ท่าที่ 2 ท่าเตรียมให้นั่งเหยียดขาราบติดพื้นเอาขาข้างดีไขว้ทับเหนือเข่าข้างที่เจ็บไว้ ท้าวมือทั้งสองข้างไว้ที่พื้น แขนเหยียดตรง จากนั้นก็หายใจเข้าช้าๆ สุดแล้วหายใจออกช้าๆ พร้อมทั้งไถมือไปข้างหน้าจนสุดเท่าที่จะทำได้ จะรู้สึกตึงที่ได้ขาพับเข่ามาก เสร็จแล้วผ่อนมือกลับที่เดิม ทำสลับกัน 3-6 ครั้งทุกวันจนกว่าจะหายตึง
         ท่าที่ 3 ให้นอนหงายชันเข่าทัง 2 ข้าง ถ้าปวดหลังช่วงเอวด้านขวา ให้ใช้ขาข้างขวาไขว้ขาซ้ายไว้ โดยให้ปลายเท้าขัดกับน่องและเอามือซ้ายจับเข่าขวาไว้ จากนั้นบริหารด้วยการหายใจเข้าช้าๆพร้อมทั้งเอามือดึงเข่าลงชิดพื้นด้านซ้าย นับ 1-10 แล้วหายใจออก กลับสู่ท่าเตรียม ท่าบริหารแก้ปวดขานี้ควรทำ 7-10 ครั้ง
         ท่าที่ 4 ให้นอนหงายชันเข่าข้างที่ปวดขาขึ้น ลำตัวตรงและขาอีกข้างเหยียดตรง จากนั้นให้หายใจเข้าช้าๆ ใช้มือทั้งสองข้างดังเข่าที่ตั้งชันอยู่เข้าหาอก พยายามดึงให้ชิดอกมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นับ 1-10 แล้วหายใจออกช้าๆ และค่อยๆเหยียดขาตรง วางขาบงสู่พื้นกลับสู่ท่าเตรียมใหม่ ท่านี้ควรบริหารประมาณ 7-10 ครั้ง

         ท่าที่ 5 ท่าเตรียมคือให้นอนหงายชันเข่าขึ้น เอาขาข้างที่ปวดขึ้นไขว้ห้างเป็น 4 หงายมือทั้งสองสอดเข้าไปใต้น่อง แล้วหายใจเข้าช้าๆลึกๆ พร้อมทั้งเอามือดึงท่อนขาเข้าชิดอกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จากนั้นนับ 1-10 และหายใจออกกลับสู่ท่าเตรียม ท่าบริหารแก้ปวดขานี้ให้ทำ 7-10 ครั้งเช่นกัน
         ท่าบริหารฤๅษีดัดตนนี้ จะช่วยแก้อาการปวดขา เมื่อยขาอย่างได้ผล โดยควรทำเป็นประจำทุกวัน จากคนที่ไม่ค่อยมีกำลังขาในการเดิน เมื่อบริหารอย่างสม่ำเสมอจะยิ่งทำให้ขามีเรี่ยวแรงมากขึ้น สามารถเดิน วิ่ง หรือออกกำลังกายได้นานกว่าที่เคยเป็น อย่างไรก็ดี เมื่อกำลังขาเริ่มกลับมาดีขึ้น และอาการปวดขาเริ่มทุเลาลง ก็ควรออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง เช่น การเดิน-วิ่งระยะไกล การว่ายน้ำ เต้นแอโรบิค ฯลฯ เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง อวัยวะสำคัญอย่างขาก็จะอยู่คู่กับเราไปได้อีกนาน

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.