ข้อเสื่อม กินอะไรดี บำรุงรักษา ให้กลับมาดีเหมือนเดิม

         หลายคนอาจมองว่าโรคข้อเสื่อมเป็นโรคของคนแก่ ที่เมื่อเวลาผ่านไป อะไรๆในร่างกายก็เสื่อมโทรมลง แต่จริงๆแล้วโรคข้อเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่เว้นแม้กระทั่งคนวัยหนุ่มสาว เนื่องจากสาเหตุที่ทำให้ข้อเสื่อมมีหลายปัจจัย โดยเริ่มแรกมักจะมีอาการเจ็บเวลาเดิน ติดต่อกันอย่างน้อย 2-4 อาทิตย์ หรือเดินขึ้นลงบันไดแล้วรู้สึกเจ็บ ระยะต่อมาอาจมีอาการเดินธรรมดาแล้วก็รู้สึกเจ็บ เดินขาโก่ง ขาแยก เป็นต้น ถ้าเป็นวัยรุ่นมักไม่ใส่ใจกับความผิดปกติที่ร่างกาย ทว่าหากปล่อยไว้อาจทำให้เกิดข้อเสื่อมที่รุนแรงได้

 

ข้อเสื่อม เกิดจากอะไร
         แน่นอนว่าสาเหตุอันดับต้นๆที่ทำให้ข้อเสื่อมก็คือ การเสื่อมของเนื้อเยื้อและอวัยวะต่างๆในร่างกาย ซึ่งแปรเปลี่ยนไปตามอายุขัย ทั้งนี้ ยังมีผลการศึกษาพบว่า โรคข้อเสื่อมอาจเป็นผลมาจากสาเหตุทางพันธุกรรม และสาเหตุอื่นๆที่อาจมีส่วนร่วมในการเกิดโรคข้อเสื่อม ได้แก่ การใช้ข้อทำงานมากเกินไป หรือเป็นภายหลังการเกิดข้ออังเสบชนิดอื่นๆ รวมถึงภาวะน้ำหนักเกิน หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า “อ้วน” ซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงวัยเจริญเติบโต แม้จะไม่ใช่สาเหตุหลักของโรคข้อเสื่อม แต่ก็เป็นตัวส่งเสริมให้มีโอกาสเป็นได้มากขึ้น
         ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงทำให้โรคข้อเสื่อมพบได้มากในผู้สูงอายุ ซึ่งอาจเป็นผลจากการใช้ข้อทำงานมากเกินไป และเนื้อเยื้อเสื่อมตามกาลเวลา นอกจากนี้ในรายที่เคยมีอุบัติเหตุ ต่อข้อ พบว่ามีโอกาสเกิดข้อเสื่อมตามมาได้มากขึ้น ฉะนั้นแล้ว อาการข้อเสื่อมจึงเป็นเหมือนสิ่งที่ทุกคนควรระแวดระวัง

 

ข้อเสื่อม กินอะไรดี
         แน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากรับประทานยารักษา เพราะต่างก็ทราบถึงผลข้างเคียงของตัวยาที่ใช้ และเพื่อเป็นการบำรุงรักษาอาการข้อเสื่อมให้กลับมาใช้งานได้เหมือนเดิมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยอาหารที่คุณควรรับประทานมากที่สุดก็คือ “แคลเซียม” ซึ่งไม่ใช่ว่ารอให้ข้อเสื่อมก่อนแล้วจึงรับประทานแคลเซียม แต่ควรรับประทานตั้งแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะเมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป เพราะแคลเซียมจะช่วยในเรื่องของความหนาของกระดูก นอกจากนั้นยังมีประโยชน์กับฟัน การแข็งตัวของเลือด การเต้นของหัวใจ กล้ามเนื้อ โดยคนเราจะต้องการแคลเซียม 800–1,500 มิลลิกรัม

         นอกจากแคลเซียมแล้ว ยังควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินดีสูง อาทิ ปลา ไข่แดง เห็ด เป็นต้น และควรได้รับแมกนีเซียมในปริมาณมาก โดยรับประทานพวกผักใบเขียว ถั่วธัญพืชต่างๆ รวมถึงการรับประเต้าหู้ ถั่วเหลือง ที่มีทั้งโปรตีนและกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งจะทำงานร่วมกัน และลดการเสื่อมสลายของกระดูกได้เป็นอย่างดี กระนั้นก็ดี สารอาหารเหล่านี้สามารถรับประทานในรูปแบบอาหารเสริมก็ได้ แต่ต้องใช้ให้ถูกวิธี
         นอกเหนือจากเรื่องอาหารการกิน การออกกำลังกายที่ถูกต้อง เป็นประจำสม่ำเสมอ ก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้ข้อมีความยืดหยุ่น และปกป้องกระดูกข้อเสื่อม ที่สำคัญคือควรพักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยลดอาการปวดได้

 

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

ข้ออักเสบรูมาตอยด์ การรักษา ยังไงดี ให้หาย

         บทความก่อนหน้านี้คงทำให้ท่านผู้อ่านได้รู้จักกับโรค “ข้ออักเสบรูมาตอยด์ กันไปพอสมควร โดยโรคนี้คือการเจริญของเยื่อบุข้อมากผิดปกติ จนลุกลามและทำลายกระดูกและข้อให้เสียหายในที่สุด ซึ่งพบบ่อยมากเป็นลำดับที่ 2 ของโรคข้อเสื่อมที่พบบ่อยที่สุด อาการระยะแรกผู้ป่วยจะทุกข์ทรมานจากข้ออักเสบหลายข้อพร้อมกัน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ข้อจะเคลื่อนหลุด ผิดรูป และเกิดภาวะทุพพลภาพ
         สำหรับวิธีรักษาข้ออักเสบรูมาตอยด์ ที่ดีที่สุดก็ทำได้แค่ประคับประคองอาการให้คงที่ ไม่ให้เกิดความเจ็บปวดหรือแสดงอาการอื่นๆไปมากกว่าที่เป็น พูดง่ายๆคือข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นโรคที่ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ รู้แบบนี้ก็อยากให้ทุกคนตื่นตัว พยายามดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองให้ดีที่สุด โรคร้ายนี้จะได้ไม่มาเยือน


การรักษา ข้ออักเสบรูมาตอยด์

         1.รักษาด้วยยา ยาที่ใช้ในการรักษาประกอบไปด้วยยาบรรเทาอาการปวด ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ขนาดต่ำ ยาต้านข้ออักเสบรูมาตอยด์ปรับเปลี่ยนการดำเนินโรค และสารชีวภาพ ในปัจจุบันแพทย์จะใช้ยาเหล่านี้ร่วมกันโดยมีจุดมุ่งหมายในการควบคุมโรคให้สงบ (ไม่มีข้ออักเสบหลงเหลืออยู่) หรือมีภาวะข้ออักเสบระดับต่ำเกือบสงบ โดยก่อนพิจารณาเลือกใช้ยาแพทย์จะทำการประเมินสุขภาพร่างกายโดยรวมของผู้ป่วย (การตรวจเลือดและภาพรังสี) โดยเลือกตามความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
         2.รักษาด้วยวิธีการที่ไม่ใช้ยา ได้แก่ การปฏิบัติตัว การใช้วิธีการทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู การบริหารร่างกายเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ และคง/เพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อ การปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การใช้กายอุปกรณ์และอุปกรณ์เสริม สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดและส่งเสริมให้ข้อสามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่
         3.รักษาด้วยการผ่าตัด จะพิจารณาทำในรายที่ข้อมีการผิดรูปอย่างมาก ทำให้ไม่สามารถใช้ข้อทำงานได้อย่างปกติ หรือข้อถูกทำลายอย่างมาก ทั้งนี้ เพื่อให้ข้อสามารถกลับมาทำงานใหม่ได้อย่างเหมาะสม แต่หลังจากผ่าตัดมักมีการทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย


อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ไม่ให้ข้ออักเสบรูมาตอยด์กำเริบ

         เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงว่า อาหารจะรักษาโรคไขข้อให้หายขาดได้ ในทางตรงกันข้ามอาหารบางชนิดทำให้อาการปวดไขข้อแย่ลง แต่มีงานวิจัยล่าสุดพบว่าผู้ที่เป็นข้ออักเสบรูมาตอยด์ 30–40 เปอร์เซ็นต์ มีอาการดีขึ้นเมื่องดอาหารที่สงสัยว่าทำให้ปวด โดยอาหารที่ควรงด ได้แก่
         1.กรดไขมันอิ่มตัว มีงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าไขมันอิ่มตัวอาจเพิ่มการอักเสบ เนื่องจากกรดไขมันอิ่มตัวไปกระตุ้นการสร้างสารพรอสตาแกลนดินที่ก่อให้เกิดการอักเสบ อาการปวดบวมและข้อเสื่อมในโรครูมาตอยด์ อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน เนย ครีม เป็นต้น
         2.กรดไขมันโอเมกา 6 เป็นไขมันที่พบในน้ำมันพืชที่มีกรดไลโนเลอิค เช่น น้ำมันข้าวโพด ถั่วเหลือง ดอกทานตะวัน จมูกข้าวสาลี เป็นต้น หากรับประทานมากๆอาจทำให้อาการข้ออักเสบรูมาตอยด์กำเริบได้

 

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

ปวดข้อ เอ็น และกล้ามเนื้อ ทำอย่างไรดี

         อาการปวดข้อ เอ็น และกล้ามเนื้อ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ง่ายทั้งหญิงชาย โดยเฉพาะเมื่อตัวเลขของอายุสูงขึ้น เนื่องจากความเสื่อมสภาพของกระดูกและกล้ามเนื้อ ซึ่งเมื่อมีการใช้งานบริเวณกล้ามเนื้ออย่างหนักและรุนแรงเป็นประจำก็มักจะส่งให้เกิดการปวดข้อ เอ็น และกล้ามเนื้อนั่นเอง อย่างเช่น การยกของหนัก ออกกำลังกายโดยไม่มีการอบอุ่นร่างกาย การนั่งคุกเข่า นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธินานๆ เป็นต้น และอาจพบอาการบวมร่วมด้วย ทั้งนี้ ปัจจุบันยังไม่มียาใดรักษาให้หายขาดได้ เพียงแต่ให้ยาบรรเทาปวดหรือลดการอักเสบเท่านั้น

ลักษณะอาการ
         – ในระยะแรกจะมีอาการขัด หรือรู้สึกฝืดข้อเล็กน้อย เมื่อเริ่มออกเดิน เมื่อเดินไป 2-3 ก้าว อาการจะดีขึ้น แต่เมื่อเดินต่อไปนาน ๆ อาการอาจแย่ลง
         – เมื่อเป็นนานๆ ทุกครั้งที่มีการขยับข้อ หรือแม้แต่นั่งอยู่เฉยๆ จะมีอาการปวดข้อตลอดเวลา

          ขณะเดินอาจมีเสียงลั่นในข้อ มีอาการเข่าอ่อน หรือรู้สึกข้อเข่าคลอนไม่มั่นคงจนต้องใช้ไม้เท้าช่วยพยุงทุกครั้งที่เดิน
         – รายที่เป็นมาก อาจไร้สมรรถภาพ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เนื่องจากมีอาการปวดข้อ ปวดเอ็น หรือปวดกล้ามเนื้ออย่างใดอย่างหนึ่งรุนแรง หรืออาจเป็นร่วมกันทั้งหมด
         – เมื่อตรวจร่างกายจะพบว่ามีข้อบวม เยื่อบุหนาจากการอักเสบเรื้อรัง มีน้ำในข้อและกดเจ็บเล็กน้อย
         อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงของอาการปวดข้อ เอ็น และกล้ามเนื้อ มักจะเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะในเพศหญิงวัยสูงอายุ ที่มีรูปร่างอ้วนและขาดการออกกำลังกาย ส่วนในช่วงก่อนวัยสูงอายุเพศชายจะมีโอกาสเกิดได้มากกว่าเพศหญิง โดยเฉพาะกลุ่มอาชีพที่ต้องใช้แรงงาน เช่น เกษตรกร กรรมกร นักกีฬา สำหรับวัยหนุ่มสาวโอกาสเกิดน้อยมาก เว้นแต่ ในรายที่ข้อมีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด หรือได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงมาก่อน

การป้องกันอาการปวดข้อ เอ็น และกล้ามเนื้อ
         1.ไม่ควรยืนนานๆ หรือตรากตรำทำงานหนัก หักโหมจนเกินไป ถ้าจำเป็นควรมีการพักบ้าง
         2.หลีกเลี่ยงการคลาน นั่งคุกเข่า นั่งพับเพียบหรือขัดสมาธิเป็นเวลานานๆ
         3.สำหรับผู้ที่มีอาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้ออยู่แล้ว พยายามขึ้นลงบันไดให้น้อยที่สุด

         4.นั่งเก้าอี้ขนาดพอเหมาะ ไม่ควรนั่งโซฟาที่นุ่ม หรือเตี้ยเกินไป
         5.ไม่ควรออกกำลังกายหนักจนเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บได้
         6.ให้ควรหลีกเลี่ยงการยกของหนักทุกชนิดที่เกินความสามารถที่เข่าและข้อจะรับได้ เนื่องจากอาจทำให้ปวดบวม อักเสบได้ในเวลาต่อมาด้วย
         7.รับประทานสารอาหารบางชนิดเพื่อบำรุง เช่น แคลเซี่ยม วิตามินดี น้ำมันตับปลา เป็นต้น เพราะจะส่งผลดีต่อข้อ กระดูก และกล้ามเนื้อ
         ทั้งนี้ หากเกิดการบาดเจ็บจนมีอาการอักเสบ บวมแดงร้อน หรือมีไข้ ตัวร้อน มีอาการปวดที่ข้ออื่นๆร่วมด้วย และปวดมากจนทรมาน หรือเดินไม่ไหว เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพ ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาด้วยวิธีการที่ถูกต้อง มิเช่นนั้นอาจทำให้อาการปวดข้อ เอ็น และกล้ามเนื้อยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น

การรักษาอาการปวดข้อ เอ็น และกล้ามเนื้อ
         การรักษาอาการปวดข้อ เอ็น และกล้ามเนื้อ จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของผู้ป่วย หลักสำคัญคือระงับอาการปวด และลดการอักเสบที่เกิดขึ้น ผู้ป่วยต้องพักผ่อนให้เต็มที่ งดใช้งานข้อบริเวณที่เส้นเอ็นอักเสบ ควรประคบด้วยความเย็นเป็นครั้งคราว การใช้ยาแก้ปวด ช่วยบรรเทาอาการได้ตามสมควร การใช้ยาลดการอักเสบช่วยให้อาการดีขึ้น

         ในรายที่เป็นมาก แพทย์อาจพิจารณาฉีดยา Corticosteroid เข้าไปรอบ ๆ บริเวณเส้นเอ็นที่เกิดการอักเสบ จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้มาก แต่ทั้งนี้ไม่ควรฉีดบ่อย จะทำให้เส้นเอ็นไม่แข็งแรงและอาจฉีกขาดได้ง่าย นอกจากนี้ยังต้องทำกายภาพบำบัด และการออกกำลังกายเพื่อเสริมกำลังของกล้ามเนื้อ ช่วยให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นแข็งแรงขึ้น
         กระนั้นก็ตาม บางรายอาจต้องมีการผ่าตัด ในกรณีที่เส้นเอ็นเกิดการฉีกขาด เทคนิคการซ่อมเส้นเอ็นทำได้หลายแบบ รวมทั้งการผ่าตัดเพื่อเสริมความแข็งแรงของเส้นเอ็นอีกด้วย ที่สำคัญคือควรหยุดพักการใช้ข้อที่ปวด ใช้ถุงน้ำร้อนประคบ ทานวดด้วยขี้ผึ้งน้ำมันระกำหรือยาหม่อง ใช้ผ้าพันแผลชนิดยืดพันให้พอแน่น กินยาแก้ปวด และยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ เช่นเดียวกับการดูแลผู้ป่วยข้อแพลง เมื่อทุเลาปวดให้ค่อย ๆ เคลื่อนไหวบริหารข้อนั้นให้คืนสู่สภาพปกติ
         ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 2 สัปดาห์ ต้องทำเอกซเรย์ (บางคนอาจพบมีหินปูน หรือแคลเซียมเกาะที่เส้นเอ็น) ในรายที่เป็นมากอาจต้องฉีดสเตอรอยด์ตรงบริเวณที่ปวด (การฉีดยาชนิดนี้อาจทำให้ปวดมาก บางครั้งอาจต้องผสมยาชา) ซึ่งเป็นวิธีรักษาที่ได้ผลดี แต่ไม่ควรฉีดเกินปีละ 2-3 ครั้ง อาจทำให้เส้นเอ็นเปื่อยฉีกขาด

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.