อาการเส้นตึง เส้นยึด รักษายังไงให้หาย

         อาการเส้นยึด เส้นตึง เป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่พบเจอกันบ่อยๆ โดยเฉพาะคนที่เริ่มมีอายุมากๆที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ขอเน้นย้ำว่า “คนที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย” เพราะมันคือต้นเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นขาดความยืดหยุ่นหรืออาจไม่ทำงาน จนนานๆเข้าก็กลายเป็นอาการเส้นตึง เส้นยึด เกิดอาการปวดได้ในที่สุด
         สำหรับวิธีการรักษาเส้นยึด เส้นตึงก็มีมากมายหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการนวดคลายเส้น การรับประทานยาหรือสมุนไพร รวมถึงการทำกายภาพบำบัด หรือหากใครอาการรุนแรงจนปวดร้าวเป็นเวลานานๆ แล้วรักษาด้วยวิธีอื่นไม่หาย เมื่อไปพบแพทย์อาจต้องมีการผ่าตัดกันเลยทีเดียว ดังนั้น ควรสำรวจตัวเองอยู่บ่อยๆว่ามีอาการผิดปกติอะไรบ้าง จะได้รักษาได้ทันท่วงที โดยวันนี้เราได้นำวิธีรักษาด้วยตัวเองมาฝาก ซึ่งเป็นวิธีการแสนง่าย ทำที่บ้านก็ได้ ไม่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในกระเป๋า แต่ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการเส้นตึง เส้นยึดกันว่ามันเกิดจากอะไร


เส้นตึง เส้นยึด เกิดจาก

         เส้นตึง เส้นยึด เรียกอีกอย่างว่า “อาการกล้ามเนื้อหดรั้ง” มีสาเหตุหลักมากจากการที่ไม่ได้ออกกำลังกาย หรืออยู่ในอิริยาบถที่ฝืนธรรมชาติ เป็นเหตุให้กล้ามเนื้อและเอ็นขาดความยืดหยุ่นหรือพลิกตึง จึงมีอาการปวดบริเวณสีข้าง ไล่ตั้งแต่หัวไหล่ลงมาจนถึงสะเอว และลามไปยันบริเวณหลัง หากไม่รีบแก้ไข อาจพัฒนาเป็นอาการปวดกล้ามเนื้อและเอ็นชนิดเรื้อรัง ซึ่งยิ่งรักษาหายยากขึ้นเป็นเท่าตัว ทั้งนี้ เราสามารถป้องกันได้ด้วยการบริหารกายท่ายืดเหยียดสีข้าง เพื่อทำให้กล้ามเนื้อข้างลำตัวยืดหยุ่นแข็งแรง บริหารแนวกระดูกสันหลัง และเพิ่มการไหลเวียนโลหิตแขนไปพร้อมกัน


รักษาอาการเส้นยึด เส้นตึง ด้วยกายบริหาร

         1.นั่งยืดกล้ามเนื้อ เริ่มกันด้วยการทำกายบริหาร โดยเป็นยืดกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่อง แต่ต้องทำให้ถูกต้อง และไม่เกร็งขณะยืด โดยเฉพาะช่วงแรกที่กล้ามเนื้อยังไม่ชิน ควรทำอย่างระมัดระวัง เพราะอาจทำให้กล้ามเนื้อได้รับอาการบาดเจ็บได้
         วิธีการแสนง่ายคือให้นั่งตัวตรง ยืดขาทั้งสองข้างไปด้านหน้า แล้วโน้มตัวไปข้างหน้าโดยเหยียดแขนทั้งสองไปเตะที่ปลายเท้า ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (เหมือนทาวอร์มอัพของนักกีฬา) นับ 1-20 จึงผ่อนคลาย ท่านี้ให้ทำตอนตื่นเช้าและก่อนเข้านอน รับรองว่าอาการเส้นตึง เส้นยึดจะค่อยๆทุเลาลง ทั้งนี้ ในช่วงแรกอาจมีการปวดร้าวไปบ้าง แต่เมื่อผ่านไปสักพักกล้ามเนื้อจะชินไปเอง

         2.ยืนเหยียดแขน ขั้นตอนการฝึกคือให้ยืนหลังตรง เท้าชิดกัน แขนทั้งสองข้างแนบลำตัว จากนั้นเหยียดแขนขวาขึ้นเหนือศีรษะให้แขนแนบใบหู แขนซ้ายเท้าเอว แล้วเหยียดแขนขวา และยกไหล่ซ้ายขึ้นพร้อมกันให้ได้มากที่สุด โดยไม่ให้เท้าลอยจากพื้น ค่อยๆโน้มตัวไปด้านซ้าย จนรู้สึกตึงสีข้างด้านขวา นับ 1-10 จึงกลับสู่ท่าเริ่มต้น แล้วสลับทำด้านขวา
         ขณะฝึกท่านี้ควรยืนให้เท้าชิดกันตลอดเวลา ตามองตรงไปด้านหน้า และพยายามโน้มตัวไปด้านข้างโดยไม่เคลื่อนสะโพกตาม ท่าบริหารนี้ควรทำทุกเช้า เพื่อสร้างกล้ามเนื้อร่างกายให้ยืดหยุ่นแข็งแรงทุกส่วน พร้อมรับมือทุกปัญหาเส้นตึง

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

ปวดข้อ เอ็น และกล้ามเนื้อ ทำอย่างไรดี

         อาการปวดข้อ เอ็น และกล้ามเนื้อ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ง่ายทั้งหญิงชาย โดยเฉพาะเมื่อตัวเลขของอายุสูงขึ้น เนื่องจากความเสื่อมสภาพของกระดูกและกล้ามเนื้อ ซึ่งเมื่อมีการใช้งานบริเวณกล้ามเนื้ออย่างหนักและรุนแรงเป็นประจำก็มักจะส่งให้เกิดการปวดข้อ เอ็น และกล้ามเนื้อนั่นเอง อย่างเช่น การยกของหนัก ออกกำลังกายโดยไม่มีการอบอุ่นร่างกาย การนั่งคุกเข่า นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธินานๆ เป็นต้น และอาจพบอาการบวมร่วมด้วย ทั้งนี้ ปัจจุบันยังไม่มียาใดรักษาให้หายขาดได้ เพียงแต่ให้ยาบรรเทาปวดหรือลดการอักเสบเท่านั้น

ลักษณะอาการ
         – ในระยะแรกจะมีอาการขัด หรือรู้สึกฝืดข้อเล็กน้อย เมื่อเริ่มออกเดิน เมื่อเดินไป 2-3 ก้าว อาการจะดีขึ้น แต่เมื่อเดินต่อไปนาน ๆ อาการอาจแย่ลง
         – เมื่อเป็นนานๆ ทุกครั้งที่มีการขยับข้อ หรือแม้แต่นั่งอยู่เฉยๆ จะมีอาการปวดข้อตลอดเวลา

          ขณะเดินอาจมีเสียงลั่นในข้อ มีอาการเข่าอ่อน หรือรู้สึกข้อเข่าคลอนไม่มั่นคงจนต้องใช้ไม้เท้าช่วยพยุงทุกครั้งที่เดิน
         – รายที่เป็นมาก อาจไร้สมรรถภาพ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เนื่องจากมีอาการปวดข้อ ปวดเอ็น หรือปวดกล้ามเนื้ออย่างใดอย่างหนึ่งรุนแรง หรืออาจเป็นร่วมกันทั้งหมด
         – เมื่อตรวจร่างกายจะพบว่ามีข้อบวม เยื่อบุหนาจากการอักเสบเรื้อรัง มีน้ำในข้อและกดเจ็บเล็กน้อย
         อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงของอาการปวดข้อ เอ็น และกล้ามเนื้อ มักจะเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะในเพศหญิงวัยสูงอายุ ที่มีรูปร่างอ้วนและขาดการออกกำลังกาย ส่วนในช่วงก่อนวัยสูงอายุเพศชายจะมีโอกาสเกิดได้มากกว่าเพศหญิง โดยเฉพาะกลุ่มอาชีพที่ต้องใช้แรงงาน เช่น เกษตรกร กรรมกร นักกีฬา สำหรับวัยหนุ่มสาวโอกาสเกิดน้อยมาก เว้นแต่ ในรายที่ข้อมีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด หรือได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงมาก่อน

การป้องกันอาการปวดข้อ เอ็น และกล้ามเนื้อ
         1.ไม่ควรยืนนานๆ หรือตรากตรำทำงานหนัก หักโหมจนเกินไป ถ้าจำเป็นควรมีการพักบ้าง
         2.หลีกเลี่ยงการคลาน นั่งคุกเข่า นั่งพับเพียบหรือขัดสมาธิเป็นเวลานานๆ
         3.สำหรับผู้ที่มีอาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้ออยู่แล้ว พยายามขึ้นลงบันไดให้น้อยที่สุด

         4.นั่งเก้าอี้ขนาดพอเหมาะ ไม่ควรนั่งโซฟาที่นุ่ม หรือเตี้ยเกินไป
         5.ไม่ควรออกกำลังกายหนักจนเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บได้
         6.ให้ควรหลีกเลี่ยงการยกของหนักทุกชนิดที่เกินความสามารถที่เข่าและข้อจะรับได้ เนื่องจากอาจทำให้ปวดบวม อักเสบได้ในเวลาต่อมาด้วย
         7.รับประทานสารอาหารบางชนิดเพื่อบำรุง เช่น แคลเซี่ยม วิตามินดี น้ำมันตับปลา เป็นต้น เพราะจะส่งผลดีต่อข้อ กระดูก และกล้ามเนื้อ
         ทั้งนี้ หากเกิดการบาดเจ็บจนมีอาการอักเสบ บวมแดงร้อน หรือมีไข้ ตัวร้อน มีอาการปวดที่ข้ออื่นๆร่วมด้วย และปวดมากจนทรมาน หรือเดินไม่ไหว เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพ ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาด้วยวิธีการที่ถูกต้อง มิเช่นนั้นอาจทำให้อาการปวดข้อ เอ็น และกล้ามเนื้อยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น

การรักษาอาการปวดข้อ เอ็น และกล้ามเนื้อ
         การรักษาอาการปวดข้อ เอ็น และกล้ามเนื้อ จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของผู้ป่วย หลักสำคัญคือระงับอาการปวด และลดการอักเสบที่เกิดขึ้น ผู้ป่วยต้องพักผ่อนให้เต็มที่ งดใช้งานข้อบริเวณที่เส้นเอ็นอักเสบ ควรประคบด้วยความเย็นเป็นครั้งคราว การใช้ยาแก้ปวด ช่วยบรรเทาอาการได้ตามสมควร การใช้ยาลดการอักเสบช่วยให้อาการดีขึ้น

         ในรายที่เป็นมาก แพทย์อาจพิจารณาฉีดยา Corticosteroid เข้าไปรอบ ๆ บริเวณเส้นเอ็นที่เกิดการอักเสบ จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้มาก แต่ทั้งนี้ไม่ควรฉีดบ่อย จะทำให้เส้นเอ็นไม่แข็งแรงและอาจฉีกขาดได้ง่าย นอกจากนี้ยังต้องทำกายภาพบำบัด และการออกกำลังกายเพื่อเสริมกำลังของกล้ามเนื้อ ช่วยให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นแข็งแรงขึ้น
         กระนั้นก็ตาม บางรายอาจต้องมีการผ่าตัด ในกรณีที่เส้นเอ็นเกิดการฉีกขาด เทคนิคการซ่อมเส้นเอ็นทำได้หลายแบบ รวมทั้งการผ่าตัดเพื่อเสริมความแข็งแรงของเส้นเอ็นอีกด้วย ที่สำคัญคือควรหยุดพักการใช้ข้อที่ปวด ใช้ถุงน้ำร้อนประคบ ทานวดด้วยขี้ผึ้งน้ำมันระกำหรือยาหม่อง ใช้ผ้าพันแผลชนิดยืดพันให้พอแน่น กินยาแก้ปวด และยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ เช่นเดียวกับการดูแลผู้ป่วยข้อแพลง เมื่อทุเลาปวดให้ค่อย ๆ เคลื่อนไหวบริหารข้อนั้นให้คืนสู่สภาพปกติ
         ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 2 สัปดาห์ ต้องทำเอกซเรย์ (บางคนอาจพบมีหินปูน หรือแคลเซียมเกาะที่เส้นเอ็น) ในรายที่เป็นมากอาจต้องฉีดสเตอรอยด์ตรงบริเวณที่ปวด (การฉีดยาชนิดนี้อาจทำให้ปวดมาก บางครั้งอาจต้องผสมยาชา) ซึ่งเป็นวิธีรักษาที่ได้ผลดี แต่ไม่ควรฉีดเกินปีละ 2-3 ครั้ง อาจทำให้เส้นเอ็นเปื่อยฉีกขาด

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.