ปวดบ่า ปวดไหล่ รักษาหาย ชะงัดใน 2 สัปดาห์

         อาการปวดบ่า ปวดไหล่ เป็นปัญหาสุขภาพที่มนุษย์ออฟฟิศมักเผชิญ เนื่องจากต้องนั่งอยู่ที่โต๊ะทำงานเป็นเวลานานๆ โดยเฉพาะการใช้เวลาอยู่หน้าคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้หยุดพักหรือเปลี่ยนท่าเพื่อผ่อนคลาย แถมบางคนยังนั่งหลังงอ คอตก ไม่พิงพนัก ผนวกกับความเครียด ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ซึ่งการปวดบ่า ปวดไหล่นับเป็นอาการที่พบเจอกันบ่อยๆ
         นอกจากมนุษย์ออฟฟิศที่มักเจอกับอาการปวดบ่า ปวดไหล่แล้ว ผู้ที่อายุมากๆก็มีความเสี่ยงต่ออาการปวดเช่นได้เหมือนกัน โดยเกิดจากความเสื่อมของอวัยวะ เช่น หมอนรองกระดูกเสื่อม ซึ่งจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ชา ร้าวไปที่ไหล่ มือ สังเกตได้จากตื่นนอนตอนเช้า คอจะแข็ง ขยับไม่ได้ หรืออาจมีอาการทับเส้นประสาทร่วมด้วย


ปวดบ่า ปวดไหล่ รักษาให้หายได้อย่างไร

         สำหรับคนที่อายุมากๆ แล้วมีอาการปวดบ่า ปวดไหล่ ขอแนะนำให้ไปตรวจวินิจฉัยกับแพทย์เฉพาะทาง เพราะถ้าเกิดจากสาเหตุร้ายแรง เช่น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาจต้องใช้การผ่าตัดรักษา อย่างไรก็ตาม สำหรับคนวัยทำงานโดยเฉพาะมนุษย์ออฟฟิศที่ปวดบ่า ปวดไหล่เป็นประจำ วันนี้เรามีวิธีรักษาด้วยกายบริหารมานำเสนอ หากทำเป็นประจำทุกวัน เช้า กลาง เย็น รับรองว่าจะหายปวดบ่า ปวดไหล่ เป็นปลิดทิ้ง
         ท่าที่ 1 แก้อาการปวดบ่า หากปวดบ่าขวา ให้นั่งกับเก้าอี้สบายๆ มือข้างขวาจับเก้าอี้เพื่อทรงตัวไม่ให้ไหล่ยกขึ้น ยกมือซ้ายข้ามเหนือศีรษะมาจับเหนือหูด้านขวา จากนั้นดึงไปทางซ้าย จนหูซ้ายแนบไหล่ซ้าย ดึงให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ นับ 1-10 ด้วยการนับแบบ “1 และ 2 และ 3 และ…” จนถึง 10 ทำซ้ำจนครบ 10 ครั้ง จากนั้นเปลี่ยนไปอีกข้างหนึ่ง ทำเช่นเดียวกัน นับเป็น 1 เซต หากทำถูกวิธีจะรู้สึกตึง แต่ถ้าเจ็บปวดมากให้ผ่อน

         ท่าที่ 2 แก้อาการปวดฐานคอ หากปวดฐานคอข้างขวา เริ่มเช่นเดียวกับท่าแรก คือนั่งเก้าอี้ มือข้างขวาจับเก้าอื้ ยกมือซ้ายจับศีรษะ หันหน้าไปมองรักแร้ซ้าย ในลักษณะดมรักแร้ซ้าย ใช้มือซ้ายกดศีรษะให้ก้มลงไปมากที่สุด นับ 1-10 ทำซ้ำจนครบ 10 ครั้ง จากนั้นเปลี่ยนไปอีกข้างหนึ่ง ทำเช่นเดียวกัน นับเป็น 1 เซต
         ท่าที่ 3 แก้อาการปวดใต้ท้ายทอย เริ่มต้นยังคงเป็นท่าเดิม คือนั่งเก้าอี้ หากปวดท้ายทอยด้านขวาให้หันหน้าไปทางซ้าย ยกมือซ้ายจับคางด้านขวา ดันไปทางซ้ายจนรู้สึกตึงบริเวณท้ายทอยด้านขวา ซึ่งถือว่าทำถูกต้อง นับ 1-10 ทำซ้ำจนครบ 10 ครั้ง เช่นกัน

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

ปวดไหล่ อันตรายที่อาจเรื้อรัง มาดูวิธีรักษาให้หาย

         เชื่อว่าหลายคนคงเคยมีอาการปวดไหล่ ซึ่งในบางรายอาจหายไปเองเนื่องจากเป็นเพียงการบาดเจ็บเล็กๆน้อยๆ จากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การออกกำลังกาย เป็นต้น ทั้งนี้ หากอาการปวดไหล่ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และส่อแววมาจะทวีความรุนแรงมากขึ้น กรณีนี้คุณอาจกำลังเผชิญกับโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังอยู่ก็เป็นได้ ดังนั้น การปวดไหล่จึงเป็นอันตรายอย่างหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม


ปวดไหล่ เรื้อรัง เกิดจากอะไร

         อาการปวดไหล่ที่เรื้อรัง ปวดๆหายๆมาเป็นเวลานาน หรือในบางคนเวลากดที่ไหล่จะรู้สึกเจ็บจี๊ดขึ้นมา แสดงว่าคุณอาจเป็นโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง ซึ่งเกิดจาก
         1.กล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บรุนแรง เช่น การออกกำลังที่หักโหมจนอาจเกิดกล้ามเนื้อฉีก การใช้งานกล้ามเนื้อหนัก หรือยกของหนักจนเกินไป
         2.การขาดการออกกำลังกาย ถ้าคุณไม่ได้ออกกำลังกล้ามเนื้อเลย เช่น อาจเกิดหลังผ่าตัดทำให้ต้องนอนติดเตียงนาน เมื่อฟื้นก็ทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังได้
         3.ความเครียดชื่อกันว่าผู้ที่ปวดไหล่จากโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง เมื่อเกิดความเครียด มีโอกาสที่จะบีบนวดแบบเค้นกล้ามเนื้อตัวเองแรงๆ ทำให้กล้ามเนื้อสร้างจุดกดเจ็บมากขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักอยู่ในวัยทำงาน ต้องมีการทำงานที่เกี่ยวข้องกับความเครียด ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นานๆ จึงทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอย่างอาการปวดไหล่ได้ ซึ่งพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย


ท่าบริหารลดอาการปวดไหล่ เรื้อรัง

         การรักษาอาการปวดไหล่เรื้อรังให้หายขาด ควรรักษาตามความรุนแรงและสาเหตุ ซึ่งถ้าจะให้ดีควรได้รับการวินิจจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะในบางกรณีอาจเกิดจากภาวะกระดูกทับเส้นประสาท ต้องได้รับการผ่าตัดจึงจะหายขาด อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่มักเกิดอาการปวดไหล่เป็นประจำ โดยเฉพาะหลังจากทำงาน แนะนำให้บริหารกล้ามเนื้อไหล่และคอ ดังนี้
         ท่าที่ 1 ฝึกเกร็งกล้ามเนื้อคอด้านหน้าและหลัง เอาฝ่ามือมาวางตั้งไว้ที่หน้าผาก ออกแรงเกร็งคอ ไม่ต้องแรงมาก ต้านกับแรงดันของฝ่ามือ ทำค้างไว้ 10– 5 วินาที กล้ามเนื้อคอจะเกร็ง ระยะยาวช่วยให้กล้ามเนื้อคอแข็งแรงขึ้น
         ท่าที่ 2 ฝึกเกร็งกล้ามเนื้อคอด้านข้าง เอาฝ่ามือมาวางตั้งไว้ที่ข้างศีรษะ ออกแรงเกร็งคอ ไม่ต้องแรงมาก ต้านกับแรงดันของฝ่ามือ ทำค้างไว้ 10–15 วินาที กล้ามเนื้อคอจะเกร็ง ระยะยาวช่วยให้กล้ามเนื้อคอแข็งแรงขึ้น

         ท่าที่ 3 ฝึกเกร็งกล้ามเนื้อที่ใช้สำหรับหันคอ เอาฝ่ามือมาวางแนบแก้ม ออกแรงหันคอ ต้านกับแรงดันของฝ่ามือ ทำสลับซ้าย–ขวา ค้างไว้ข้างละ 10–15 วินาที กล้ามเนื้อคอจะเกร็ง ระยะยาวช่วยให้กล้ามเนื้อคอแข็งแรงขึ้น
         ท่าที่ 4 ยืดกล้ามเนื้อคอด้านข้างและไหล่ เอาฝ่ามือวางบนศีรษะ เอียงคอไปด้านข้างจนเกิดแรงตึงที่ลำคอและไหล่ ทำสลับซ้าย–ขวา ค้างไว้ข้างละ 10–15 วินาที ท่านี้ช่วยยืดกล้ามเนื้อคอด้านข้างและไหล่ ทำให้บรรเทาปวดและสบายขึ้น
         ท่าที่ 5 ยืดกล้ามเนื้อไหล่และสะบักส่วนบน ยื่นแขนข้างหนึ่งออกไปด้านหน้าตรงๆ แล้วใช้หลังมือของแขนอีกข้างวางทาบที่ข้อศอก ใช้หลังมือดันโน้มแขนข้างที่ยื่นออกไปเข้ามาจนตึง ถ้าทำถูกจะตึงที่ไหล่และสะบักส่วนบน ทำสลับซ้าย–ขวา ค้างไว้ข้างละ 10–15 วินาที ท่านี้ช่วยยืดกล้ามเนื้อหัวไหล่และสะบักส่วนบน ทำให้บรรเทาปวดและสบายขึ้น

 

 

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.