ประสาทตาเสื่อม ทำไง มาดูวิธีแก้แบบธรรมชาติ

         โรคที่เกี่ยวข้องกับดวงตา นอกจากจะเกิดกับกลุ่มผู้สูงอายุแล้ว ปัจจุบันยังพบว่าขึ้นเกิดกับคนในวัยหนุ่มสาวมากขึ้น โดยฉพาะคนที่นั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือดูโทรทัศน์นานวันละ 10 ชั่วโมง อาจทำให้สายตาเสื่อมเร็วขึ้น เบื้องต้นจะมีอาการแสบตา เคืองตา ปวดรอบๆดวงตา บางรายที่เป็นมากจะรู้สึกปวดศีรษะอย่างรุนแรง วิงเวียน คลื่นไส้ ซึ่งอาการเหล่านี้จะดีขึ้นเมื่อได้พักผ่อนสายตาแล้ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น อาจนำไปสู่การเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม (Aged-related macular degeneration) ได้ในที่สุด
         เมื่อประสาทตาเสื่อมแล้ว บอกได้เลยว่าทำได้แค่เยียวยาให้ดวงตาคู่สวยอยู่กับเราไปนานๆ เพราะปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้น จึงควรป้องกันประสาทตาเสื่อมเสียตั้งแต่วันนี้ จะได้เป็นภาระของลูกหลานในวันหน้า


รับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์ต่อสายตา

         1.วิตามินเอ พบได้ในผลิตผลจากสัตว์ เช่น ตับ นม น้ำมันสกัดจากตับปลา หรือพืชที่มีสารสีเขียวจัด สีแสด สีเหลือง เช่น ผักบุ้ง มะละกอสุก ฟักทอง ตำลึง บร็อคโคลี่ แครอท มะม่วงสุก และอีกมากมาย ความต้องการสารอาหารใน 1 วัน ไม่ว่าจะเป็นเด็ก หรือผู้ใหญ่ มีความต้องการวิตามินเอ ที่มาจากพืช หรือสัตว์ ซึ่งได้จากอาหารต่างๆ ดังนี้
         เด็ก ต้องการอาหารที่ช่วยบำรุงสายตา เช่น ตับไก่ ตับหมู แครอท ฟักทอง ไข่แดง ตำลึง ผักโขม   ปูทะเล ผักคะน้า และเนย
         ผู้ใหญ่ ต้องการอาหารที่ช่วยบำรุงสายตา เช่น ใบยอ ตับไก่ ใบแมงลัก ตับวัว ใบโหระพา ใบบัวบก ผักชะอม ผักกระถิน พริกขี้หนู มะม่วงสุก ผักบุ้ง มะละกอ และควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ โดยเฉพาะข้าวซ้อมมือ ปลา ตับ เนื้อไก่ ผักสด และผลไม้ รวมทั้งวิตามินต่างๆ ที่จำเป็น
         2.วิตามินบี มีการศึกษาพบว่าวิตามินบี 1 และ บี 12 อาจมีบทบาทในการชะลอการเกิดต้อกระจกได้ โดยแหล่งที่มีวิตามินชนิดนี้มาก ได้แก่ ตับ ไข่ เนื้อสัตว์ และนมสด เป็นต้น
         3.วิตามินซี ช่วยชะลอการเกิดต้อกระจก และป้องกันการเกิดจอประสาทตาเสื่อมได้ แหล่งของวิตามินซี พบได้ในฝรั่ง ส้ม สับปะรด มะขามป้อม ส่วนผัก ได้แก่ กะหล่ำดอก บร็อคโคลี่ เป็นต้น
         4.วิตามินอี เป็นวิตามินตัวหนึ่งที่มีอยู่ในเซลล์รับแสงที่จอประสาทตา และจากการศึกษาพบว่าอาจมีบทบาทช่วยชะลอการเกิดต้อกระจกเช่นเดียวกัน พบได้ในน้ำมันธัญพืช น้ำมันดอกคำฝอย ข้าวโพด และถั่วเหลือง เป็นต้น
         5.เบต้าแคโรทีน เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ ช่วยในการมองเห็นในเวลากลางคืนเช่นเดียวกับวิตามินเอ พบมากในผักผลไม้ที่มีสีเหลืองส้ม เช่น แครอท มะละกอ ข้าวโพดอ่อน หน่อไม้ฝรั่ง และผักบุ้ง ข้อควรระวังคือการรับประทานเบต้าแคโรทีนในรูปอาหารเสริมมากไปในคนที่สูบบุหรี่ จะเพิ่มโอกาสการเกิดมะเร็งปอดได้

         6.สังกะสี จากการศึกษา พบว่ามีส่วนช่วยชะลออาการของโรคจอประสาทตาเสื่อมให้ช้าลง แหล่งที่พบสังกะสี ได้แก่ หอยนางรม ตับ และเนื้อสัตว์
         7.โอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาภาวะตาแห้ง เนื่องจากเป็นต้นกำเนิดของกรดไขมันอิสระสองชนิด คือ EPA และ DHA ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สารเหล่านี้ได้จากปลาบางชนิด เช่น ปลาแซลมอน แมคเคอเรล และซาร์ดีน
         8.ลูทีน และซีแซนทิน เป็นกลุ่มแคโรทีนอยด์ซึ่งทำให้พืชมีสีเหลือง และเป็นส่วนประกอบสำคัญที่พบในจุดรับภาพที่จอประสาทตา และเลนส์ตา จากการศึกษาพบว่ามีส่วนช่วยในการชะลอการเกิดต้อกระจก และโรคจอประสาทตาเสื่อม พบมากในผักโขม ไข่แดง ข้าวโพด และบร็อคโคลี่ เป็นต้น
         9.ซีลีเนียม ช่วยชะลอการเกิดต้อกระจก และประสาทตาเสื่อม พบได้ในหอยนางรม หอยลาย ตับไก่ และเมล็ดทานตะวัน เป็นต้น
         นอกจากการรัปประทานอาหารที่มีประโยชน์ในการบำรุงสายตาแล้ว ถ้าไม่อยากเสี่ยงต่อจอประสาทตาเสื่อม ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ งดอาหารที่มีไขมันสูง หมั่นออกกำลังกายแบบแอโรบิคอย่างสม่ำเสมอ โดยเลือกประเภทให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย เช่น เดินเร็ว ปั่นจักรยานอยู่กับที่ ว่ายน้ำ พยายามหลีกเลี่ยงแสงแดดจ้า หรือใส่แว่นตากันแดดเวลาออกนอกอาคาร ที่สำคัญหมั่นตรวจสุขภาพตาและจอประสาทตาเป็นระยะ โดยเฉพาะคนที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป


อาหารเสริมวิตามินซี บำรุงสายตา

         บางคนอาจที่ไม่ค่อยชอบหรือไม่สะดวกในการรับประทานผักผลไม้ อีกหนึ่งทางเลือกแสนง่ายที่จะช่วยบำรุงสุขภาพตาให้แข็งแรง ป้องกันประสาทตาเสื่อมได้อย่างมีประสิทธิภาพก็คือ การใช้วิตามินในรูปแบบอาหารเสริม โดยวันนี้เราขอนำเสนอ Daily Vits วิตามินซี แบบจัดเต็ม 1,500 มิลลิกรรม อุดมไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ บำรุงสายตา ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆเกี่ยวกับดวงตา ทั้งยังช่วยบำรุงผิวพรรณ บำรุงสุขภาพให้แข็งแรงอีกด้วย

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

ชะลอจอประสาทตาเสื่อม กินอะไรดี ทั้งป้องกันทั้งบำรุง

         ณ ตอนนี้ไม่ใช่แค่คนที่มีอายุมากๆเท่านั้น ที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพอย่างจอประสาทตาเสื่อม เพราะสมัยนี้หันไปทางไหนก็มีแต่จอเต็มไปหมด ไม่ว่าจะวัยไหนต่างก็ใช้สายตากันอย่างหนักหน่วง ยกตัวอย่างง่ายๆ มนุษย์ธรรมดาๆคนหนึ่ง ตื่นเช้ามาในวันหยุดก็อัพเดตชีวิตผ่านสมาร์ทโฟน สายๆหน่อยเปิดโทรทัศน์ดูทั้งวัน ไหนจะวันทำงานที่ต้องจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์วันละหลายๆชั่วโมง จึงไม่เป็นที่สุขภาพดวงตาของคนยุคนี้จะเสื่อมเร็วกว่าปกติ

         ดังนั้น ถ้าไม่อยากเสี่ยงต่อโรคต่างๆเกี่ยวกับตา โดยเฉพาะโรคประสาทตาเสื่อม จึงจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่จะต้องรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ บำรุงสายตาให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยเลือกอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ได้แก่ ผักใบเขียว และผลไม้ต่างๆที่มีสารอาหารบำรุงสายตา เช่น วิตามินซี วิตามินเอ เบต้าแคโรทีน รูทีน เป็นต้น แต่สำหรับผู้ที่ไม่ชอบรับประทานผักผลไม้ก็สามารถใช้อาหารเสริมได้

วิธีป้องกันไม่ให้จอประสาทตาเสื่อม
         ถึงแม้โรคจอประสาทตาเสื่อมจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และการรักษาในปัจจุบันเป็นเพียงชะลอการสูญเสียสายตาเท่านั้น แต่ก็สามารถป้องกันภาวะจอประสาทตาเสื่อมได้ โดยนอกจากจะรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินต่างๆ ควรลดปัจจัยเสี่ยงด้วยวิธีการดังนี้

         1.หมั่นตรวจเช็คสุขภาพตาเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี หรือมีประวัติบุคคลในครอบครัวมีภาวะจอประสาทตาเสื่อม
         2.งดสูบบุหรี่
         3.รับประทานปลา ที่มีกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 (Omega-3) จะสามารถป้องกันภาวะจอประสาทตาเสื่อมได้
         4.รู้จักพักจากหน้าจอ โดยเฉพาะผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ควรหยุดพักสายตาเต็มที่ทุก 2 ชั่วโมง (น้อยกว่านี้ได้ยิ่งดี) ครั้งละประมาณ 15 นาที และลุกเดิน เคลื่อนไหวร่างกายบ้าง เพื่อช่วยให้เลือดหมุนเวียนได้ดีขึ้น
         5.ดูโทรทัศน์ในที่ที่มีแสงเพียงพอ และนั่งห่างจากโทรทัศน์ประมาณ 5 เท่า เช่น จอโทรทัศน์ 14 นิ้ว ควรนั่งห่างประมาณ 6 ฟุต เป็นต้น

กินอะไรดี ทั้งป้องกันทั้งบำรุงสายตา
         คำตอบที่ถูกต้องที่สุดคือ ลูทีน และซีแซนทีน โดยถือเป็นสารประกอบที่จัดอยู่ในกลุ่มของแคโรทีนอยด์ที่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ (non-provitamin A carotenoids) เรียกอีกอย่างว่าเป็นกลุ่มแซนโทฟิลล์ (Xanthophyll) ร่ายกายมนุษย์ไม่สามารถสร้างสารประกอบทั้งสองนี้ได้ จากรายงานการศึกษาทางระบาดวิทยา ซึ่งเป็นการศึกษาในประชากรกลุ่มใหญ่ 12 ฉบับ แม้ว่าผลการศึกษาจะไม่สม่ำเสมอ แต่ส่วนใหญ่พบว่ากลุ่มคนที่รับประทานอาหารที่มีผักและผลไม้ที่มีลูทีนและซีแซนทีนสูงสุด หรือกลุ่มคนที่มีระดับลูทีนและซีแซนทีนในเลือดสูงสุดจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมน้อยกว่ามาก
         นอกจากนี้การศึกษาทางคลินิกพบว่า การได้รับลูทีนและซีแซนทีน ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีผลทำให้ระดับของลูทีนในเลือดและในแมคูลาสูงขึ้น และทำให้การวัดการมองเห็นต่างๆดีขึ้น มีแนวโน้มในการป้องกันการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม

         อย่างไรก็ตาม วิตามินซีเป็นอีกหนึ่งสารอาหารที่รู้จักกันดีในวงกว้างว่าสามารถบำรุงสายตาให้สุขภาพดี ป้องกันโรคต่างๆเกี่ยวกับดวงตาได้ เช่น ตาพร่ามัว จอประสาทตาเสื่อม ต้อกระจก เป็นต้น ดังนั้น การรับประทานวิตามินซีที่เพียงพอต่อร่างกายจึงเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งในการปกป้องและบำรุงสายตาไปพร้อมๆกัน โดยวันนี้เราขอแนะนำ Daily Vits วิตามินในรูปแบบอาหารเสริม ที่จัดแน่นเต็มโดส 1,500 มิลลิกรัม รับประทานง่าย แค่วันละเม็ดก่อนนอน มากไปด้วยคุณค่าที่เป็นประโยชน์ต่อการบำรุงสายตาและร่างกายให้แข็งแรง ได้รับการรับรองจาก อย. ปลอดภัยไร้ผลข้างเคียงแน่นอน

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

‘ประสาทตาเสื่อม’ ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

         โรคประสาทตาเสื่อม เป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่คนในยุคนี้เป็นกันมาก เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ประสาทตาเสื่อมอยู่รอบๆตัว อาทิ การมองหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนเป็นเวลานานๆก็อาจทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพดวงตาได้ อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่ทำให้ประสาทตาเสื่อมยังมีอีกมากมาย โดยหลักๆแล้ว ได้แก่
         1.อายุ พบโรคนี้ได้บ่อยขึ้นในคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
         2.พันธุกรรม มีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของคนที่เป็นโรคกับญาติสายตรง วิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งอเมริกา จึงแนะนำให้ผู้เกี่ยวข้องดังกล่าว ควรได้รับการตรวจเช็คจอประสาทตาทุก 2 ปี
         3.เชื้อชาติและเพศ พบอุบัติการของโรคสูงสุดในคนผิวขาว (Caucasian) เพศหญิง อายุมากกว่า 60 ปี
         4.การสูบบุหรี่ มีหลักฐานทางการศึกษาพบว่า การสูบบุหรี่ เป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคอย่างชัดเจน

         5.มีความดันโลหิตสูง คนไข้ที่ต้องทานยาลดความดันเลือด และมีระดับของไขมัน Cholesterol ในเลือดสูงและระดับ Carotenoid ในเลือดต่ำ มีความเสี่ยงสูงมากต่อการเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม แบบสูญเสียการมองเห็นอย่างรวดเร็ว (Wet AMD)
         6.วัยหมดประจำเดือน ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ไม่ได้รับประทานยาฮอร์โมน estrogen ถูกพบว่าอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน

จอประสาทตาเสื่อมมี 2 ชนิด
         1.จอประสาทตาเสื่อมแบบแห้ง (early (or dry) AMD) เป็นรูปแบบที่พบได้มากที่สุด ในขั้นเริ่มต้นหรือขั้นปานกลาง พบได้ประมาณร้อยละ 90 ของผู้ป่วยเป็นจอประสาทตาเสื่อมนี้ เกิดจากการสลายตัวของเซลล์ไวแสงที่บริเวณแมคูลา
         2.จอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก (late (or wet) AMD) พบได้ประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วยโรคนี้ เกิดจากการที่มีหลอดเลือดผิดปกติที่บริเวณหลังจอประสาทตา มีการเจริญของหลอดเลือดใต้แมคูลา หลอดเลือดใหม่ๆเหล่านี้อาจจะมีความเปราะบางและเกิดการรั่วของเลือดและของเหลวได้ทำให้แมคูลาบวมและเกิดการทำลายอย่างรวดเร็ว การทำลายนี้อาจจะทำให้เกิดแผลเป็นที่จอประสาทตาได้

         ซึ่งในช่วงเริ่มต้นของการเกิดจอประสาทตาแบบเปียก อาจทำให้มองเห็นเส้นตรงปรากฏลักษณะคล้ายคลื่น ผู้ป่วยอาจจะมี “จุดบอด” โดยเป็นผลมาจากการที่มีการสูญเสียการมองเห็นภาพในบริเวณตรงกลางของภาพ
         การที่คนเราจะมองเห็นอะไรได้ดีและชัดเจนนั้น ภาพที่เรามองจะต้องสามารถเดินทางผ่านเข้าไปในลูกตา โดยผ่านส่วนประกอบต่างๆของตา คือ กระจกตา (Cornea) และเลนส์แก้วตา (Lens) ไปตกที่จอประสาทตา (Retina) ซึ่งเป็นผนังชั้นในของลูกตา ที่ประกอบไปด้วยเซลล์ประสาทตาจำนวนมาก ที่จะส่งสัญญาณภาพที่ได้ผ่านไปทางเส้นประสาทตา (Optic nerve) สู่สมอง เพื่อแปลสัญญาณเป็นภาพที่เรามองเห็น ทำให้เรารับรู้ว่าเป็นภาพอะไร และสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ เช่น อ่านหนังสือ ดูภาพยนตร์ ขับรถ หรือจำหน้าคนรู้จักได้
         ทว่าอาการของจอประสาทตาเสื่อม จะทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นของเราเปลี่ยนแปลงไป จากที่เคยมองชัดกลับเห็นเป็นภาพเบลอกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งหากจอประสาทตาเสื่อมทั้งสองข้าง จะรู้สึกถึงความผิดปรกติในการมองเห็นอย่างรวดเร็ว เช่น มองตรงกลางภาพไม่ชัด ส่วนกลางของภาพที่มองขาดหายไป หรือมืดดำไป หรือภาพที่เห็นดูบิดเบี้ยวไป ทั้งนี้ สำหรับคนที่มีปัญหาเพียงแค่ข้างเดียว อาจไม่ทันสังเกตถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น จนผ่านไปหลายปี ดังนั้น โรคประสาทตาเสื่อมจึงเป็นดังภัยเงียบที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม


ไม่อยากให้ประสาทตาเสื่อม ต้องรู้จักบำรุง

         การป้องกันย่อมดีกว่าการแก้ไข เพราะหากประสาทตาเสื่อมแล้ว การรักษาให้หายขาดนั้นเป็นไปได้ยาก และต้องใช้งบประมาณมาก เช่น การรักษาด้วยวิธีฉายแสงเลเซอร์ เป็นต้น ฉะนั้น สิ่งที่จะช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับดวงตาที่อาจมาเยือนเราได้ทุกเมื่อ นั่นก็คือการรับประทานอาหารบำรุงสายตา โดยให้เน้นไปที่ผักผลไม้ที่ให้วิตามินซีและลูทีนสูง หรือโดยใช้อาหารเสริมแทนก็ได้
         Daily Vits วิตามนซี 1,500 mg เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะทำให้คุณห่างไกลจากโรคประสาทตาเสื่อม และโรคอื่นๆ เช่น ต้อกระจก ตาพร่ามัว เป็นต้น เพราะมีส่วนช่วยบำรุงสายตาคู่สวยให้แข็งแรง อยู่กับเราไปนานๆ แถมยังเข้าไปกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนให้ผิวขาวสวย สุขภาพดีไปพร้อมๆกันอีกด้วย

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.