ผิวหนังไก่ที่คอ อันตรายไหม รักษาได้หรือเปล่า?

         หลายคนอาจจะมีตุ่มเล็กๆ จำนวนมาก ที่ยามเมื่อมองผ่านๆดูราวกับอาการขนลุกอยู่ตลอดเวลาบนลำคอ แต่หารู้ว่าเจ้าตุ่มชวนสะดุดตาเหล่านั้นถูกเรียกว่า “ผิวหนังไก่ที่คอ” ซึ่งเจ้าตุ่มเล็กๆเหล่านี้ ถึงแม้จะไม่ได้ร้ายแรง แต่ก็สร้างความน่ารำคาญให้กับบรรดาเหล่าคนรักสวยรักงามช่างแต่งตัว เพราะพวกมันจะทำให้ผิวดูไม่รายเรียบ อีกทั้งในบริเวณลำคอเองก็ยังเป็นส่วนที่ยากต่อการปกปิดอีกต่างหาก ทำให้คุณสาวๆหลายต่อหลายคนที่กำลังประสบปัญหาดังกล่าวต่างพยายามหาวิธี “กำจัด” ผิวหนังไก่ที่คอให้หายวับกลายเป็นอดีต แต่สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองควรเริ่มต้นอย่งไรเพื่อการกำจัดหนังไก่อย่างได้ผล คุณสามารถทำการศึกษาได้จากการอ่านบทความชิ้นนี้กันเลย

สาเหตุที่ทำให้เกิดผิวหนังไก่ที่คอ
ผิวหนังไก่ที่คอ หรือ Keratosis pilaris เกิดจากการสะสมตัวของเคราติน ซึ่งเป็นโปรตีนที่ทำหน้าที่ปกป้องผิวจากการติดเชื้อ และสิ่งที่เป็นอันตรายอื่นๆ เมื่อเจ้าเคราตินเกิดการเจิรญเติบโตขึ้นมาบล็อกการเปิดของรูขุมขน ซึ่งทางการแพทย์ก็ยังไม่แน่ใจอะไรคือสิ่งที่ตกค้างอยู่ที่รูขุมขนเหล่านั้น แต่สาเหตุหลักๆเลยที่มักก่อให้เกิดโรคผิวหนังไก่ที่คอก็คือ การที่ผิวหนังแห้งจนเกินไปนั่นเอง
อาการของโรคผิวหนังไก่
อาการผิวหนังไก่ที่คอมักจะเลวร้ายลงเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว และอาจจะรวมไปถึงในฤดูร้อน เนื่องจากความชื้นในอากาศน้อยลง ซึ่งโรคผิวหนังไก่มักจะยังมีผลกระทบต่อโรคผิวหนังอื่นๆ อย่างเช่น กลาก หรือโรคผิวหนังภูมิแพ้อีกด้วย
อย่างไรก็ตามผิวหนังไก่ ไม่ได้เป็นโรคติดต่อ เนื่องจากไม่ได้เกิดขึ้จากอาการติดเชื้อ ไม่ได้เกิดขึ้นจากแบคทีเรีย หรือไวรัส จึงไม่สามารถติดต่อคนอื่นๆได้จากการสัมผัส ซึ่งผิวหนังไก่จริงๆแล้วมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นสูงขึ้นอยุ่กับพันธุ์กรรมและสภาพผิว โดยเฉพาะผิวที่แห้ง

การบรรเทาอาการโรคผิวหนังไก่ด้วยตัวเอง
การบรรเทาอาการผิวหนังไก่ที่คอสามารถทำได้อย่างง่ายๆ ด้วยการให้ความชุ่มชื้นอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้น ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะทำการเกา กระแทก หรือถูบริเวณที่เป็นผิวหนังไก่ที่คอ รวมไปถึงการอาบน้ำอุ่นที่ไม่ร้อนจนเกินไป และพยายามใช้สบู่ที่มีการช่วยเพิ่มไขมัน หรือน้ำมันแก่ผิว ตบท้ายด้วยการใช้มอยเจอไรซ์เซอร์ลงบนผิวหนังอย่างสม่ำเสมอ ถ้าหากเป็นไปได้ ควรพยายามเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับอากาศโดยรวมภายในบ้านของคุณ ซึ่งการดูแลรักษาผิวหนังไก่เป็นสิ่งที่ต้องให้ความใส่ใจ ต้องทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีที่สุด แต่ในหลายๆครั้งผิวหนังไก่ที่คอก็สามารถที่จะหายไปได้เองตามธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องทำการรักษาอะไรเป็นพิเศษได้เช่นกัน

         ถ้าหากคุณต้องการที่จะเห็นผลลัพธ์ในการรักษาที่เพิ่มมากขึ้น ขอแนะนำให้ใช้โลชั่นทาผิวที่มีส่วนผสมของ กรดแลคติก (AmLactin, Lac-Hydrin), โลชั่นอัลฟาไฮดรอกซีกรด (Glytone, โลชั่นร่างกายไกลโคลิก), ครีมยูเรีย (Carmol 10 Carmol 20 Carmol 40, Urix 40) กรดซาลิไซลิ (โลชั่น Salex) และครีมเตียรอยด์เฉพาะที่ (triamcinolone 0.1%) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การดูแลรักษาปัญหาผิวหนังไก่ที่คอ ควรค่อยๆทำเป็นประจำอย่างต่อเนื่องในระยะยาว ด้วยความระมัดระวัง ไม่รุนแรง ไม่ตั้งความคาดหวังที่มากจนเกินไปนัก เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด และควรทำความสะอาดผิวหนังได่ที่คอเป็นประจำ ด้วยสบู่ หรือน้ำยาทำความสะอาดที่มีความอ่อนโยนวันละ 1-2 ครั้ง
การรักษาผิวหนังไก่ที่คอทางการแพทย์
ในบางกรณี มีผุ้ที่ประสบปัญหาผิวหนังไก่ที่คอหลายคน ประสบความสำเร็จจากการรักษาด้วยแสงเลเซอร์ ที่ทำให้พื้นที่เป้าหมายทีเกิดหนังไก่ได้รับการรักษา แต่ก็ขึ้นอยู่กับการตอบสนองทางร่างกายของแต่ละคนต่อการรักษาด้วย ซึ่งการรักษาด้วยแสงเลเซอร์จำเป็นที่จะต้องทำหลายครั้ง และอาจจะต้องระยะเวลาในการรักษารวมกันหลายเดือนเลยทีเดียว

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

ดูแลปัญหาผิวหนังไก่ที่แขน ทำไงดี อย่างง่ายๆด้วยตัวคุณเอง

         เชื่อว่าหลายๆคนคงจะเคยเห็นผิวหนังของไก่ที่มีจุดเล็กๆ แดงๆ อยู่ทั่วไปหมดยามที่ถูกถอนขนออกจนหมดตัว แล้วลองจินตนาการดูว่าถ้าหากเจ้าจุดเล็กๆแดงๆเหล่านั้นได้ย้ายมาปรากฏอยู่บนแขนของคุณเต็มไปหมด มันจะดูเด่นจนน่าเกลียดมากขนาดไหน? เจ้าจุดเหล่านี้ล่ะที่ถูกเรียกว่า ผิวหนังไก่ที่แขน ที่เป็นปัญหากวนใจเหล่าผู้ที่อยากมีผิวที่เรียบเนียนปราศจากจุดเล็กๆน่าเกลียด จนทำให้เกิดคำถามขึ้นมาบ่อยครั้งว่า เมื่อผิวเป็นหนังไก่ ทำไงดี สำหรับใครที่ยังกำลังอยากรักษาผิวหนังไก่ที่แขน แล้วยังไม่รู้ว่าเมื่อเป็นหนังไก่ ทำไงดี บทความชิ้นนี้จะขอพาทุกท่านไปเจาะลึกถึงปัญหาผิวหนังไก่ที่แขน เพื่อที่จะได้เข้าใจในวิธีป้องกันรักษาตัวเองจากปัญหาผิวหนังไก่ที่แขนกัน

โรคผิวหนังไก่คืออะไร อันตรายหรือเปล่า?
โรคผิวหนังไก่ที่แขน หรือ Keratosis pilaris (KP) สาเหตุหลักๆ คือ จากพันธุ์กรรม ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาแบบมาตราฐานให้โรคนี้หายขาดได้ แต่สามารถที่จะทุเลาอาการลงได้ด้วยการรักษา หรือในบางกรณีอาการก็จะหายไปเองตามธรรมชาติ โดยที่ไม่ได้ทำการรักษาใดๆ
โรคผิวหนังไก่ เป็นเรื่องธรรมดาและไม่ได้มีอันตรายใดๆ จุดเล็กๆบนผิวเหมือนกับอาการขนลุกอยู่ตลอดเวลา บางครั้งจุดเหล่านี้ก็จะมีแดง หรือบวม และทำให้รู้สึกเหมือนกับผิวของคุณเป็นกระดาษทรายที่ไม่เรียบเนียน ซึ่งโรคผิวหนังไก่สามารถเกิดขึ้นได้บ่อยบนแขน ต้นขา และก้น ในบางครั้งอาจจะก่อให้เกิดอาการคันร่วมด้วย

การป้องกันตัวเองเบื้องต้นจากปัญหาผิวหนังไก่
โดยพื้นฐานแล้วถ้าหากคุณไม่อยากปล่อยให้ผิวของตัวเองมีสภาพเหมือนกับหนังไก่ ทำไงดี จนต้องมานั่งกลุ้มใจภายหลังแล้ว คุณสามารถที่จะเริ่มต้นการดูแลผิวพรรณของตัวเอง ด้วยการป้องกันไม่ให้ผิวมีความแห้งกร้านจนเกินไป การทำความสะอาดผิวก็ควรที่จะใช้น้ำยาทำความสะอาด หรือสบู่ที่มีความเข้มข้นน้อยๆ

การรักษาตัวเองจากปัญหาผิวหนังไก่เบื้องต้น
 เมื่อเกิดปัญหาหนังไก่ ทำไงดีขึ้นบนผิวแล้ว ในกรณีที่ไม่รุนแรงนัก คุณสามารถรักษาตัวเองขั้นพื้นฐานด้วยการใช้โลชั่นบำรุงผิว ที่มีส่วนประกอบของกรดแลคติก (AmLactin, Lac-Hydrin), อัลฟาไฮดรอกซีกรดโลชั่น (Glytone, โลชั่นร่างกายไกลโคลิก, ครีมยูเรีย (Carmol 10 Carmol 20 Carmol 40, Urix 40) กรดซาลิไซลิ (โลชั่น Salex) และครีมเตียรอยด์เฉพาะที่ (triamcinolone 0.1% Locoid Lipocream) ผลิตภัณฑ์กลุ่มกรดวิตามินเอเช่น tretinoin (Retin-A) tazarotene (Tazorac) และ adapalene (Differin) หรือโลชั่นบำรุงผิวที่แพทย์เป็นผู้แนะนำ ซึ่งคุณสามารถทีจะนวดโลชั่นเหล่านี้ลงไปยังบริเวณผิวที่ได้รับผลกระทบวันละ 2-3 ครั้ง
 ผิวในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาหนังไก่ คุณอาจจะล้างทำความสะอาดเพียง 1-2 ครั้ง ต่อวัน ด้วยน้ำยา หรือสบู่ทำความสะอาดที่มีความอ่อนโยน และอาการผิวหนังไก่จะยิ่งได้รับการรักษาที่ดีมากขึ้นหากน้ำยา หรือสบู่ทำความสะอาดผิวของคุณมีส่วนผสมขอ GlySal, Proactiv กรดซาลิไซลิหรือ benzoyl เปอร์ออกไซด์ เป็นต้น
 การรักษาอาการผิวหนังไก่ที่แขนเป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องใช้ระยะเวลา และความอดทนเป็นอย่างมาก หลายครั้งคุณอาจจะต้องค่อยๆรักษาอาการนานหลายสัปดาห์กว่าที่จะสามารถเห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามถ้าหากคุณทำการรักษาผิวหนังไก่ด้วยตัวเอง แต่กลับสังเกตเห็นว่าอาการไม่ได้ดีขึ้น แต่กลับมีอาการผิวอักเสบ หรือมีรอยจุดแดงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ขอแนะนำให้รีบไปทำการพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้เร็วที่สุด เพื่อที่จะได้เข้ารับการรักษาด้วยยา หรือแสงเลอเซอร์ เพื่อทุเลาอาการของคุณไม่ให้ลุกลามหนักหนาจนเกินไป

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.