มาดูวิธีการใช้ยาโรคเก๊าท์ที่ถูกต้อง

         ในบรรดาโรคข้ออักเสบทั้งหมด เก๊าท์ (gout) เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเกิดจากการมีกรดยูริกคั่งในร่างกายเป็นระยะเวลานานๆ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นเพศชายอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป ในเพศหญิงพบในวัยหลังหมดประจำเดือน นอกจากนี้การเกิดข้ออักเสบจากโรคเก๊าท์ยังขึ้นอยู่กับสภาวะทางพันธุกรรมและระดับของกรดยูริกในเลือดอีกด้วย
         โดยพบว่าผู้ที่มีกรดยูริกในเลือดสูงและมีประวัติญาติสายตรงเป็นโรคเก๊าท์จะมีความเสี่ยงในการเกิดข้ออักเสบจากโรคเก๊าท์ได้มากกว่าผู้ที่ตรวจพบว่ามีระดับกรดยูริกในเลือดสูงเพียงอย่างเดียว และผู้ป่วยที่ตรวจพบระดับกรดยูริกในเลือดสูงมากๆจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเก๊าท์ได้มากกว่าพวกที่มีระดับกรดยูริกในเลือดสูงเพียงเล็กน้อย
         ทีนี้ปัญหาก็คือผู้ป่วยโรคเก๊าท์จำนวนมากยังไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม เห็นได้จากการที่ผู้ป่วยยังมีข้ออักเสบเฉียบพลันเกิดขึ้นเป็นๆหายๆ ดังนั้น วันนี้เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาโรคเก๊าท์ที่ถูกต้องกัน

การใช้ยาโรคเก๊าท์

         1.การใช้ยาเพื่อระงับข้ออักเสบเฉียบพลัน มีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่ม คือ 1) Colchicine เป็นยาโรคเก๊าท์ที่มีความจำเพาะสำหรับการรักษาข้ออักเสบจากโรคเก๊าท์ ใช้ไม่ค่อยได้ผลในโรคข้ออักเสบชนิดอื่น ขณะที่มีข้ออักเสบกำเริบให้กิน colchicine (0.6 มก.) 1 เม็ดวันละ 3 เวลาในระยะ 1-2 วันแรก ไม่ควรรักษาโดยให้กินยาครั้งละ 1 เม็ดทุก 1-2 ชั่วโมงตามทฤษฎี เพราะผู้ป่วยมักจะเกิดอาการข้างเคียง เช่น ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้และอาเจียน เมื่ออาการเริ่มดีขึ้นให้ลดขนาดและหยุดยา โดยทั่วไปถ้าใช้ยาได้อย่างเหมาะสมอาการจะดีขึ้นเร็วและหยุดยาได้ภายใน 1 สัปดาห์
         และ 2) ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) เป็นยาต้านอักเสบที่ไม่จำเพาะ ใช้รักษาโรคข้ออักเสบได้หลายชนิดรวมทั้งโรคเก๊าท์ด้วย โดยทั่วไปจะใช้ NSAIDs ตัวไหนก็ได้ยกเว้นแอสไพริน และhenylbutazone เนื่องจากยาทั้งสองขนานออกฤทธิ์ต่อระดับกรดยูริกในเลือดซึ่งเป็นฤทธิ์ที่ไม่พึงประสงค์ในการรักษาข้ออักเสบเฉียบพลันจากโรคเก๊าท์ แต่ต้องระวังผลข้างเคียง เช่น ทำให้เกิดแผลหรือเลือดออกในกระเพาะอาหาร มีเกลือและน้ำคั่งในร่างกาย ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
         2.การใช้ยาเพื่อป้องกันไม่ให้ข้ออักเสบกำเริบ ควรพิจารณาให้ในรายที่มีข้ออักเสบกำเริบบ่อย เช่น เกิดข้ออักเสบทุกเดือนหรือปีละหลายๆครั้ง โดยให้กิน colchicine (0.6 mg) 1 เม็ดวันละครั้ง หากข้ออักเสบยังกำเริบบ่อยอาจเพิ่มขนาดยาเป็น 1 เม็ดวันละ 2 เวลาได้ ถ้าผู้ป่วยไม่มีข้ออักเสบกำเริบต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน อาจพิจารณาลดขนาดยาลงหรือหยุดยาได้
         3.การให้ยาลดระดับกรดยูริกในเลือด ควรกระทำหลังจากที่ข้ออักเสบหายสนิทแล้วเท่านั้น คืออยู่ในระยะที่เรียกว่าเป็น intercritical gout ยาที่ใช้มี อยู่ 2 กลุ่มด้วยกันคือ 1) uricosuric drugs เช่น probenecid, sulfinpyrazone และ benzbromarone ยากลุ่มนี้จะเพิ่มการขับกรดยูริกออกทางไต สำหรับ probenecid ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่เป็นนิ่วไต ในรายที่มีการขับกรดยูริกออกมาในปัสสาวะสูง (> 1,000 มก./วัน) หรือ GFR น้อยกว่าร้อยละ 50 
         2) allopurinol เป็นยาต้านการทำงานของเอนไซม์ xanthine oxidase ช่วยลดการสร้างกรดยูริกในร่างกาย ใช้ลดกรดยูริกในรายที่มีการทำงานของไตบกพร่อง มีนิ่วไต ในรายที่มีการขับกรดยูริกออกมาในปัสสาวะสูง ในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ผู้ป่วยที่แพ้ยากลุ่มแรก หรือหลังจากที่ใช้ยากลุ่มแรกแล้วไม่ได้ผล ขนาดยาที่ใช้คือ 100-600 มก.ต่อวัน ให้กินวันละครั้งเดียว

         ระหว่างการให้ยาโรคเก๊าท์นี้ควรติดตามดูระดับกรดยูริกในเลือดเป็นระยะๆ ควบคุมให้ระดับกรดยูริกในเลือดลดต่ำกว่า 5.5 มก./ดล. ในกรณีที่ให้ยาตัวใดตัวหนึ่งในขนาดสูงสุดแล้วยังไม่สามารถทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดลดลงตามที่ต้องการได้ อาจใช้ยา 2 กลุ่มร่วมกัน เช่นให้กิน allopurinol ร่วมกับ benzbromarone ในขนาดต่ำ
         4.การใช้ยาเพื่อควบคุมโรคอื่นๆที่พบร่วมด้วย ในกรณีที่ตรวจพบว่าผู้ป่วยเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือดสูง เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดตาย เส้นเลือดสมองตีบ ไตเสื่อม หรือไตวาย ต้องให้การรักษาควบคู่กันไปกับโรคเก๊าต์ด้วย แต่จะต้องระวัง drug interaction ของยาที่ผู้ป่วยได้รับ
         ตัวอย่างเช่น ระดับกรดยูริกในเลือดอาจเพิ่มสูงขึ้นในรายที่ได้ hydrochlorthiazide เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง และได้แอสไพรินในขนาดต่ำเพื่อรักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดตาย ในทางกลับกันยาที่ใช้ในการรักษาโรคเก๊าต์ก็อาจทำให้โรคประจำตัวของผู้ป่วยทรุดหนักลงได้ เช่น การใช้ NSAID ขนาดสูงเพื่อรักษาข้ออักเสบเฉียบพลันอาจทำให้ไตวายได้ หรือทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุ ในกรณีเช่นนี้อาจต้องหายาอื่นทดแทนหากตัดสินใจว่าผู้ป่วยยังมีความจำเป็นจะต้องกินยาต่อ
         ทั้งหมดนี้คือข้อมูลเกี่ยวกับการยาโรคเก๊าท์ที่ถูกต้องเหมาะสม แม้จะดูเข้าใจยากด้วยข้อมูลทางวิชาการ แต่ก็เป็นสิ่งที่ทุกคนควรทราบจะได้ทำการรักษาอย่างเหมาะสม หากไม่เข้าใจก็ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะจะทำให้การรักษาโรคเก๊าท์สัมฤทธิ์ผลได้ดียิ่งขึ้น

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.