การใช้ยาโรคไตที่ถูกต้อง

         เมื่อเกิดโรคต่างๆขึ้นแล้ว สิ่งแรกที่คนเรามักนึกถึงก็คือการหายามารับประทาน อย่างเช่น เมื่อเริ่มมีอาการปวดหัวตัวร้อน ก็จัดการรับประทานยาพารา หรือยาลดไข้ เป็นต้น ทั้งนี้ สำหรับยาโรคไต ไม่ว่าจะเป็นไตวายเรื้อรัง โรคถุงน้ำที่ไต โรคไตอักเสบ และอื่นๆที่เกี่ยวกับไต จำเป็นต้องได้รับการรักษาและการใช้ยาโรคไตที่ถูกต้อง เพราะไตเป็นอวัยวะสำคัญและมีความละเอียดอ่อน หากขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาก็อาจส่งผลเสียต่อไต หรือยิ่งทำให้อาการทรุดหนักได้


ข้อมูลเกี่ยวกับยาโรคไตที่ควรทราบ

         1.ชื่อยาและขนาดยาที่ใช้ ยาบางรายการแพทย์จะพิจารณาปรับขนาดยาตามค่าการทำงานของไต หากผู้ป่วยโรคไตได้รับยาที่ถูกขจัดออกโดยไตในขนาดเท่ากับคนปกติ อาจเกิดการสะสมของยาในร่างกายจนก่อให้เกิดผลข้างเคียงจากยาและเกิดพิษต่อไตตามมาได้ ผู้ป่วยจึงควรให้ความสำคัญกับชื่อยา ลักษณะเม็ดยา ขนาดยา และวิธีที่รับประทานต่อวันเพื่อความปลอดภัยในการใช้ยาของผู้ป่วยเอง
         2.วัตถุประสงค์ของการใช้ยา ยาโรคไตบางชนิดมีหลายข้อบ่งใช้ ผู้ป่วยควรทราบข้อบ่งใช้และยาที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อตนเอง ตลอดจนผลที่คาดหวังจากการใช้ยา
         3.วิธีการรับประทานยาและข้อควรระวัง ยาบางรายการมีวิธีการรับประทานยาที่แตกต่างไป ยาบางรายการมีขนาดและระยะเวลารับประทานซึ่งแพทย์ได้พิจารณาจากผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ อาจมีการปรับขนาดยาลงหรือเพิ่มขนาดยามากขึ้นในแต่ละครั้งที่ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจรักษา ผู้ป่วยจึงควรสอบถามข้อมูลจากแพทย์และเภสัชกรให้ละเอียด

 
ตัวอย่างยาที่อาจส่งผลเสียต่อไต
         1.ยาแก้ปวดลดการอักเสบ ยากลุ่มนี้ไม่ใช่สเตียรอยด์ ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ ไอบูโพรเฟน ไดโคลฟีแนค อินโดเมทาซิน นาโปรเซน และซีลีคอกซิบ เป็นต้น ซึ่งผลข้างเคียงอาจทำให้เกิดอาการบวม ความดันโลหิตสูง อันเป็นผลมาจากการคั่งของน้ำและเกลือในร่างกาย และยังมีผลทำให้การทำงานของไตลดลงด้วย จึงควรหลีกเลี่ยงงการใช้ยากลุ่มนี้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
         2.ยาหรือพืชสมุนไพรบางชนิด ปัจจุบันมีการนำยาสมุนไพรมาใช้อย่างแพร่หลาย ซึ่งอาจต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากข้อมูลการศึกษาของสมุนไพรในผู้ป่วยโรคไตยังมีน้อย และยังขาดการตรวจสอบด้านมาตรฐานในการผลิต นำมาซึ่งสารพิษและสิ่งเจือปน มีผลทำให้การทำงานของไตลดลงได้
         3.สารทึบรังสี (Contrast media) บางครั้งผู้ป่วยโรคไตอาจมีความจำเป็นต้องทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องได้รับสารทึบรังสีเข้าสู่ร่างกายทางหลอดเลือดดำ อันจะส่งผลให้การทำงานของไตลดลงเฉียบพลัน ดังนั้น ก่อนเอกซเรย์ทุกครั้งควรแจ้งให้รังสีแพทย์ทราบว่ามีโรคไต เพื่อจะได้ให้การป้องกันไม่ให้การทำงานของไตเสื่อมลง
         4.ยาปฏิชีวนะ ที่มีผลทำให้ไตเสื่อมการทำงาน เช่น ยา Gentamicin และ Amikacin การได้รับยากลุ่มนี้อาจทำให้การทำงานของไตลดลง และยาปฏิชีวนะบางตัวจะต้องมีการปรับลดขนาดยาลงในผู้ป่วยโรตไตเรื้อรัง ดังนั้น จึงไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง


คำแนะนำในการใช้ยาโรคไต

         ผู้ป่วยโรคไตต้องเข้าใจว่าการใช้ยาโรคไต มีเป้าหมายเพื่อชะลอการเสื่อมของไต และป้องกันและรักษาภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ฉะนั้น ผู้ป่วย ญาติ หรือผู้ดูแล ควรแจ้งให้แพทย์และทีมรักษาทราบถึงรายการยา อาหารเสริม วิตามิน สมุนไพรที่ผู้ป่วยได้รับอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากยาและสมุนไพรบางชนิดอาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยารักษาโรคไตที่ผู้ป่วยใช้อยู่ หรืออาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อไตได้ ส่วนวิตามินบางรายการอาจเกิดการสะสมในร่างกายเนื่องจากไตไม่สามารถทำหน้าที่ขจัดวิตามินเหล่านั้นออกได้ตามปกติ
         ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการซื้อยา อาหารเสริม วิตามิน และสมุนไพรมารับประทานเอง ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนทุกครั้ง และในแต่ละครั้งที่เข้าพบแพทย์ อาจมีการปรับเปลี่ยนขนาดยาที่ได้รับอยู่เดิม ดังนั้นผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแลควรสอบถามแพทย์ถึงระยะเวลาการรับประทานยาและขนาดยาที่ปรับเปลี่ยนไปในแต่ละครั้ง และควรยึดวิธีการรับประทานยาตามการใช้ยาครั้งใหม่ เพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการรักษาโรคไต

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

ไตวาย อันตรายถึงชีวิตที่หลายคนมองข้าม

         “ไต” เป็นอวัยวะสำคัญ ที่ทำหน้าที่คอยช่วยกรองของเสียออกจากเลือด นอกจากนี้ไตยังมีส่วนช่วยในการควบคุมความดันโลหิต ให้มีความสมดุล การผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงภายในร่างกาย ดังนั้นเมื่อเกิดอาการไตวาย หรือไตล้มเหลวขึ้น จะทำให้ร่างกายเกิดความอ่อนแอ หายใจถี่ ง่วง ความสับสนมึนงง และที่สำคัญที่สุดเลยคือ ร่างกายไม่สามารถที่จะแยกเอาโพแสเซียมออกจากกระแสเลือด จนนำไปสู่จังหวะการเต้าของหัวใจที่ผิดปกติ ซึ่งร้ายแรงถึงแก่ชีวิตได้ในที่สุด
 มีหลายสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการไตวาย การรักษาที่ดีในขั้นต้นสำหรับบางสาเหตุอาจจะเริ่มจากการเยียวยารักษาไตให้กลับมาเป็นปกติ และอาจจำเป็นที่จะต้องใช้ความพยายามตลอดทั้งชีวิตในการควบคุมความดันโลหิต และโรคเบาหวาน แต่อาการไตวายอาจจะมีความรุนแรงมากขึ้น ภายในปัจจัย และสถานการณ์ต่างๆ เนื่องจากอายุการทำงานของไตที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่เซลล์ทำงานของไตมีการเสื่อมสภาพมากขึ้นไปตามวันเวลาที่ผ่านไป อย่างไรก็ตามหากไตเกิดอาการล้มเหลว หรือไตวายอย่างสิ้นเชิง หนทางรักษาที่เหลืออยู่จะมีเพียงทางเดียว นั่นก็คือการล้างไต หรือปลูกถ่ายเท่านั้น

บทบาทหน้าที่ของไตภายในร่างกาย
 ไต อยู่ในร่างกายบริเวณช่องท้องค่อนไปทางด้านหลัง ในด้านของกระดูกสันหลัง ไตจะทำหน้าที่ในการคัดกรองของเสียออกจากกระแสเลือดผ่านทางหลอดเลือดแดงใหญ่โดยตรง พร้อมกับส่งเลือดผ่านกลับสู่หัวใจผ่านทางหลอดเลือดดำของไต
   นอกจากนี้ ไต ยังมีความสามารถในการตรวจสอบปริมาณของเหลวในร่างกาย ความเข้มข้นของอิเล็กโทร เช่น โซเดียม และโพแทสเซียม รวมไปถึงความสมดุลของกรดต่างๆในร่างกายให้อยู่ในระดับมาตราฐาน ไตจะทำหน้าที่ช่วยกรองของเสียจากการเผาผลาญของร่างกายอื่นๆ เช่น ยูเรีย จากการเผาผลาญโปรตีน และกรดยูริค จากการสลายดีเอ็นเอ เป็นต้น
 เมื่อเลือดไหลไปที่ไต เซ็นเซอร์ภายในเซลล์จะทำหน้าที่คอยควบคุมว่าร่างกายจะมีการขับของเสียที่ถูกกรองออกปริมาณมากน้อยเพียงใด ผ่านการปัสสาวะ ถ้าหากคนที่ร่างกายขาดน้ำมาก เช่น หลังการออกกำลังกาย หรือการเจ็บป่วย ปัสสาวะจะมีสีเข้ม ไตจะทำการคัดกรองของเสียเข้าไปในปริมาณมากที่สุด โดยปัสสาวะให้น้อยที่สุด เพื่อรักษารดับภายในร่างกายเอาไว้ แต่ถ้าหากระดับน้ำในร่างกายสูง ปัสสาวะก็จมีสีอ่อนลง นอกจากนี้ไต ยังทำหน้าที่ในการความคุมการสร้างเม็ดเลือดแดงภายในร่างกายอีกด้วย

อาการไตวาย ข้อเท็จจริงของอันตรายที่คุณควรทราบ
 เมื่อเกิดอาการไตวาย โดยเฉพาะอาการไตวายฉียบพลัย ความสามารถในการทำงานของไตจะหายไปอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากคนเราจะมีไตอยู่สองข้าง ถ้าหากโชคดีมีเพียงไตด้านเดียวที่เกิดอาการล้มเหลว แพทย์สามารถที่จะถอดไตนั้นออกได้ แม้จะเหลือไตเพียงข้างเดียว คุณก็สามารถที่จะใช้ชีวิตอยู่ต่อไปได้ตามปกติเช่นเดิม แต่ถ้าหากอาการไตวายเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์กับไตทั้งสองแล้วล่ะก็ คุณอาจจะเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เช่นกัน จากการสะสมของเสียเอาไว้ภายในกระแสเลือดที่มากจนเกินไป สำหรับอาการที่ก่อให้เกิดอาการไตวายขึ้น มีดังต่อไปนี้
 1.ปริมาณเลือดต่ำ การสูญเสียเลือด หรือน้ำภายในร่างกายในปริมาณมากๆ
 2.การบริโภคของเหลวที่ไม่ดี เช่น ยาขับปัสสาวะ ที่ก่อให้เกิดการสูญเสียน้ำภายในร่างกายที่มากจนเกินไป
3.การไหลเวียนของเลือดที่ผิดปกติ ที่มักเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การอุดตันของหลอดเลือดแดงไต หลอดเลือดดำ เป็นต้น
4.แบคทีเรีย การติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด โดยเฉพาะในทางเดินปัสสาวะ นำไปสู่การเกิดอาการไตอักเสบ และการปิดของไต
 5.ยาบางชนิดที่เป็นพิษต่อไต เช่น Nonsteroidal ยาต้านการอักเสบ (NSAIDs) เช่น ibuprofen (แอ๊ด Motrin และอื่น ๆ ) และ naproxen (Aleve, Naprosyn) ยาปฏิชีวนะเช่น aminoglycosides GENTAMICIN (Garamycin), tobramycin ,ลิเธียม (Eskalith, Lithobid) เป็นต้น ยาเหล่านี้บางครั้ง จะทำให้กล้ามเนื้อ ระบบการกรองของไตอุดตัน หรือได้รับความบาดเจ็บ ที่อาจนำไปสู่อาการไตวาย ในที่สุด

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.