ข้ออักเสบรูมาตอยด์ การรักษา ยังไงดี ให้หาย

         บทความก่อนหน้านี้คงทำให้ท่านผู้อ่านได้รู้จักกับโรค “ข้ออักเสบรูมาตอยด์ กันไปพอสมควร โดยโรคนี้คือการเจริญของเยื่อบุข้อมากผิดปกติ จนลุกลามและทำลายกระดูกและข้อให้เสียหายในที่สุด ซึ่งพบบ่อยมากเป็นลำดับที่ 2 ของโรคข้อเสื่อมที่พบบ่อยที่สุด อาการระยะแรกผู้ป่วยจะทุกข์ทรมานจากข้ออักเสบหลายข้อพร้อมกัน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ข้อจะเคลื่อนหลุด ผิดรูป และเกิดภาวะทุพพลภาพ
         สำหรับวิธีรักษาข้ออักเสบรูมาตอยด์ ที่ดีที่สุดก็ทำได้แค่ประคับประคองอาการให้คงที่ ไม่ให้เกิดความเจ็บปวดหรือแสดงอาการอื่นๆไปมากกว่าที่เป็น พูดง่ายๆคือข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นโรคที่ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ รู้แบบนี้ก็อยากให้ทุกคนตื่นตัว พยายามดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองให้ดีที่สุด โรคร้ายนี้จะได้ไม่มาเยือน


การรักษา ข้ออักเสบรูมาตอยด์

         1.รักษาด้วยยา ยาที่ใช้ในการรักษาประกอบไปด้วยยาบรรเทาอาการปวด ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ขนาดต่ำ ยาต้านข้ออักเสบรูมาตอยด์ปรับเปลี่ยนการดำเนินโรค และสารชีวภาพ ในปัจจุบันแพทย์จะใช้ยาเหล่านี้ร่วมกันโดยมีจุดมุ่งหมายในการควบคุมโรคให้สงบ (ไม่มีข้ออักเสบหลงเหลืออยู่) หรือมีภาวะข้ออักเสบระดับต่ำเกือบสงบ โดยก่อนพิจารณาเลือกใช้ยาแพทย์จะทำการประเมินสุขภาพร่างกายโดยรวมของผู้ป่วย (การตรวจเลือดและภาพรังสี) โดยเลือกตามความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
         2.รักษาด้วยวิธีการที่ไม่ใช้ยา ได้แก่ การปฏิบัติตัว การใช้วิธีการทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู การบริหารร่างกายเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ และคง/เพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อ การปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การใช้กายอุปกรณ์และอุปกรณ์เสริม สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดและส่งเสริมให้ข้อสามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่
         3.รักษาด้วยการผ่าตัด จะพิจารณาทำในรายที่ข้อมีการผิดรูปอย่างมาก ทำให้ไม่สามารถใช้ข้อทำงานได้อย่างปกติ หรือข้อถูกทำลายอย่างมาก ทั้งนี้ เพื่อให้ข้อสามารถกลับมาทำงานใหม่ได้อย่างเหมาะสม แต่หลังจากผ่าตัดมักมีการทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย


อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ไม่ให้ข้ออักเสบรูมาตอยด์กำเริบ

         เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงว่า อาหารจะรักษาโรคไขข้อให้หายขาดได้ ในทางตรงกันข้ามอาหารบางชนิดทำให้อาการปวดไขข้อแย่ลง แต่มีงานวิจัยล่าสุดพบว่าผู้ที่เป็นข้ออักเสบรูมาตอยด์ 30–40 เปอร์เซ็นต์ มีอาการดีขึ้นเมื่องดอาหารที่สงสัยว่าทำให้ปวด โดยอาหารที่ควรงด ได้แก่
         1.กรดไขมันอิ่มตัว มีงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าไขมันอิ่มตัวอาจเพิ่มการอักเสบ เนื่องจากกรดไขมันอิ่มตัวไปกระตุ้นการสร้างสารพรอสตาแกลนดินที่ก่อให้เกิดการอักเสบ อาการปวดบวมและข้อเสื่อมในโรครูมาตอยด์ อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน เนย ครีม เป็นต้น
         2.กรดไขมันโอเมกา 6 เป็นไขมันที่พบในน้ำมันพืชที่มีกรดไลโนเลอิค เช่น น้ำมันข้าวโพด ถั่วเหลือง ดอกทานตะวัน จมูกข้าวสาลี เป็นต้น หากรับประทานมากๆอาจทำให้อาการข้ออักเสบรูมาตอยด์กำเริบได้

 

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.