ข้ออักเสบรูมาตอยด์ การรักษา ยังไงดี ให้หาย

         บทความก่อนหน้านี้คงทำให้ท่านผู้อ่านได้รู้จักกับโรค “ข้ออักเสบรูมาตอยด์ กันไปพอสมควร โดยโรคนี้คือการเจริญของเยื่อบุข้อมากผิดปกติ จนลุกลามและทำลายกระดูกและข้อให้เสียหายในที่สุด ซึ่งพบบ่อยมากเป็นลำดับที่ 2 ของโรคข้อเสื่อมที่พบบ่อยที่สุด อาการระยะแรกผู้ป่วยจะทุกข์ทรมานจากข้ออักเสบหลายข้อพร้อมกัน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ข้อจะเคลื่อนหลุด ผิดรูป และเกิดภาวะทุพพลภาพ
         สำหรับวิธีรักษาข้ออักเสบรูมาตอยด์ ที่ดีที่สุดก็ทำได้แค่ประคับประคองอาการให้คงที่ ไม่ให้เกิดความเจ็บปวดหรือแสดงอาการอื่นๆไปมากกว่าที่เป็น พูดง่ายๆคือข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นโรคที่ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ รู้แบบนี้ก็อยากให้ทุกคนตื่นตัว พยายามดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองให้ดีที่สุด โรคร้ายนี้จะได้ไม่มาเยือน


การรักษา ข้ออักเสบรูมาตอยด์

         1.รักษาด้วยยา ยาที่ใช้ในการรักษาประกอบไปด้วยยาบรรเทาอาการปวด ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ขนาดต่ำ ยาต้านข้ออักเสบรูมาตอยด์ปรับเปลี่ยนการดำเนินโรค และสารชีวภาพ ในปัจจุบันแพทย์จะใช้ยาเหล่านี้ร่วมกันโดยมีจุดมุ่งหมายในการควบคุมโรคให้สงบ (ไม่มีข้ออักเสบหลงเหลืออยู่) หรือมีภาวะข้ออักเสบระดับต่ำเกือบสงบ โดยก่อนพิจารณาเลือกใช้ยาแพทย์จะทำการประเมินสุขภาพร่างกายโดยรวมของผู้ป่วย (การตรวจเลือดและภาพรังสี) โดยเลือกตามความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
         2.รักษาด้วยวิธีการที่ไม่ใช้ยา ได้แก่ การปฏิบัติตัว การใช้วิธีการทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู การบริหารร่างกายเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ และคง/เพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อ การปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การใช้กายอุปกรณ์และอุปกรณ์เสริม สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดและส่งเสริมให้ข้อสามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่
         3.รักษาด้วยการผ่าตัด จะพิจารณาทำในรายที่ข้อมีการผิดรูปอย่างมาก ทำให้ไม่สามารถใช้ข้อทำงานได้อย่างปกติ หรือข้อถูกทำลายอย่างมาก ทั้งนี้ เพื่อให้ข้อสามารถกลับมาทำงานใหม่ได้อย่างเหมาะสม แต่หลังจากผ่าตัดมักมีการทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย


อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ไม่ให้ข้ออักเสบรูมาตอยด์กำเริบ

         เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงว่า อาหารจะรักษาโรคไขข้อให้หายขาดได้ ในทางตรงกันข้ามอาหารบางชนิดทำให้อาการปวดไขข้อแย่ลง แต่มีงานวิจัยล่าสุดพบว่าผู้ที่เป็นข้ออักเสบรูมาตอยด์ 30–40 เปอร์เซ็นต์ มีอาการดีขึ้นเมื่องดอาหารที่สงสัยว่าทำให้ปวด โดยอาหารที่ควรงด ได้แก่
         1.กรดไขมันอิ่มตัว มีงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าไขมันอิ่มตัวอาจเพิ่มการอักเสบ เนื่องจากกรดไขมันอิ่มตัวไปกระตุ้นการสร้างสารพรอสตาแกลนดินที่ก่อให้เกิดการอักเสบ อาการปวดบวมและข้อเสื่อมในโรครูมาตอยด์ อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน เนย ครีม เป็นต้น
         2.กรดไขมันโอเมกา 6 เป็นไขมันที่พบในน้ำมันพืชที่มีกรดไลโนเลอิค เช่น น้ำมันข้าวโพด ถั่วเหลือง ดอกทานตะวัน จมูกข้าวสาลี เป็นต้น หากรับประทานมากๆอาจทำให้อาการข้ออักเสบรูมาตอยด์กำเริบได้

 

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

รูมาตอยด์ อาการ สาเหตุ และการรักษา ที่ได้ผล

         รูมาตอยด์คือะไร หลายคนอาจยังไม่เคยรู้ หรืออาจรู้แบบผิดๆ เนื่องจากไม่เคยสัมผัสกับตัวเอง (ถ้าเลือกได้คงไม่มีใครอยากเป็น) แต่ทั้งนี้ รูมาตอยด์ถือเป็นโรคที่ไม่เข้าใครออกใคร ไม่เลือกอายุและเพศ พูดง่ายๆคือใครก็สามารถเป็นได้ ที่สำคัญคือหากได้เป็นแล้วจะรักษาไม่หาย คงสงสัยกันแล้วใช่ไหมว่าเจ้ารูมาตอยด์มันคืออะไรกันแน่
         รูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเด่นคือ มีการเจริญงอกงามของเยื่อบุข้ออย่างมาก เยื่อบุข้อนี้จะลุกลามและทำลายกระดูกและข้อให้เสียหายในที่สุด อย่างไรก็ดี โรคนี้มิได้เป็นแต่เฉพาะข้อเท่านั้น ยังอาจมีอาการทางระบบอื่นๆ อีก เช่น ตา ประสาท กล้ามเนื้อ เป็นต้น

         โรคข้ออักเสบเรื้อรังนี้มีกลไกเกิดจากระบบภูมิคุ้มกัน ต้านทานโรคของร่างกายทำลายอวัยวะของตัวเอง โดยทำให้เกิดพยาธิสภาพในหลายอวัยวะ แต่ที่เป็นลักษณะเฉพาะของโรคและเป็นปัญหาทำให้ผู้ป่วยเกิดความพิการตามมาคือ การที่ข้อต่างๆเกิดการอักเสบโดยเฉพาะข้อมือและข้อนิ้วมือ โดยสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าพันธุกรรมมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยส่วนหนึ่ง นอกจากนั้น ยังไม่มียาสำหรับป้องกันการเกิดโรคและรักษาโรคให้หายขาดได้ แต่มียาที่ช่วยบรรเทาอาการและลดความรุนแรงของโรคลงได้

อาการของโรครูมาตอยด์
         โรครูมาตอยด์ จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 5 เท่า อาการอาจเริ่มปรากฏในช่วงอายุเท่าไหร่ก็ได้ แต่จะพบมากในช่วงอายุ 30-50 ปี ถ้าหากเริ่มเป็นตั้งแต่เด็กก็มักจะมีอาการรุนแรง ในเด็กจะมีอาการและอาการแสดงต่างจากผู้ใหญ่ โดยผู้ที่เป็นรูมาตอยด์จะมีอาการดังนี้
         1.มีการอักเสบเรื้อรังของข้อหลายๆข้อ ทั้งสองข้างพร้อมๆกัน ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 อาทิตย์

         2.ข้ออักเสบพบบ่อยที่บริเวณข้อมือ รวมถึงข้อโคนนิ้วมือ ข้อกลางนิ้วมือ ข้อเข่า ข้อเท้า ซึ่งจะมีอาการปวด บวม และกดเจ็บตามข้อต่างๆ ถ้าเป็นมานานจะมีข้อผิดรูปได้ ซึ่งเกิดจากการอักเสบของเยื่อบุข้อ การคั่งของเลือดในบริเวณข้อ ขาดการออกกำลังกายและการทำกายภาพบำบัด กินอาหารไม่เพียงพอ หรือการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อ
         3.มีอาการข้อฝืด ข้อแข็ง เคลื่อนไหวลำบาก ในช่วงตื่นนอนตอนเช้า มักต้องใช้เวลานานกว่า 1 ชั่วโมงจึงจะเริ่มขยับข้อได้ดีขึ้น และในช่วงบ่ายๆมักจะขยับข้อได้เป็นปกติ
         4.พบอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เบื่ออาหาร กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดเมื่อยหมดทั้งตัว น้ำหนักลด มีไข้ต่ำๆ ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ หลอดเลือดอักเสบ ปุ่มรูมาตอยด์ใต้ผิวหนัง และภาวะเลือดจาง


การรักษาโรครูมาตอยด์

         1.ทำกายภาพบำบัดข้อ อย่างเช่น การประคบด้วยความร้อน หรือแช่ในน้ำอุ่น ใส่เฝือกชั่วคราวในช่วงที่อักเสบมากหรือตอนกลางคืน เพื่อลดอาการปวดและป้องกันข้อติดผิดรูป ขยับข้อให้เคลื่อนไหวมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันข้อติดแข็ง โดยเฉพาะนิ้วมือและข้อมือ หรือการออกกำลังให้กล้ามเนื้อแข็งแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อนิ้วมือ มือ และแขน ซึ่งอาจจะใช้วิธีบีบฟองน้ำ ลูกบอลยาง ลูกเทนนิสหรือเครื่องออกกำลังที่ใช้มือบีบ เป็นต้น
         2.ใช้ยากลุ่มระงับการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง จะช่วยลดอาการปวดและบวมตามข้อได้ค่อนข้างดี และเมื่อเลือกใช้ยาตัวใดก็ควรรับประทานยาติดต่อกันอย่างน้อย 2 อาทิตย์ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นจึงเปลี่ยนเป็นยาตัว
         3.ใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยากลุ่มนี้มีทั้งชนิดกินและฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือฉีดเข้าข้อ จะใช้เมื่อการอักเสบรุนแรง แต่ไม่ควรใช้ในขนาดสูงหรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะผลข้างเคียงมาก เช่น กระดูกพรุน ไตวายเฉียบพลัน ติดเชื้อง่าย และเมื่อหยุดยาก็จะกลับมีอาการขึ้นอีก ในช่วงที่มีการอักเสบมาก อาจใช้ในขนาดสูง เมื่ออาการดีขึ้นก็ควรลดยาลง

         4.ใช้ยากลุ่มยับยั้งข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่ออกฤทธิ์ช้า เป็นยาที่ค่อนข้างอันตราย มีผลข้างเคียงมาก แพทย์จึงจะใช้ในกรณีที่ใช้ยากลุ่มอื่นแล้วไม่ได้ผลจริงๆ หรือในผู้ที่มีอาการอักเสบรุนแรง มีรูมาตอยด์แฟคเตอร์ในเลือดสูงมากๆ
         5.การผ่าตัด เช่น ผ่าตัดเลาะเยื่อบุข้อที่มีการอักเสบออก ผ่าตัดเย็บซ่อมหรือย้ายเส้นเอ็น ผ่าตัดเชื่อมข้อติดกัน ผ่าตัดกระดูกปรับแนวข้อให้ตรงขึ้น ผ่าตัดใส่ข้อเทียม ซึ่งการผ่าตัดถือว่าเป็นการรักษาปลายเหตุเพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น โดยแพทย์จะเลือกวิธีผ่าตัดรูมาตอยด์ตามความเหมาะสมกับตัวคนไข้

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.