ปวดข้อ เอ็น และกล้ามเนื้อ ทำอย่างไรดี

         อาการปวดข้อ เอ็น และกล้ามเนื้อ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ง่ายทั้งหญิงชาย โดยเฉพาะเมื่อตัวเลขของอายุสูงขึ้น เนื่องจากความเสื่อมสภาพของกระดูกและกล้ามเนื้อ ซึ่งเมื่อมีการใช้งานบริเวณกล้ามเนื้ออย่างหนักและรุนแรงเป็นประจำก็มักจะส่งให้เกิดการปวดข้อ เอ็น และกล้ามเนื้อนั่นเอง อย่างเช่น การยกของหนัก ออกกำลังกายโดยไม่มีการอบอุ่นร่างกาย การนั่งคุกเข่า นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธินานๆ เป็นต้น และอาจพบอาการบวมร่วมด้วย ทั้งนี้ ปัจจุบันยังไม่มียาใดรักษาให้หายขาดได้ เพียงแต่ให้ยาบรรเทาปวดหรือลดการอักเสบเท่านั้น

ลักษณะอาการ
         – ในระยะแรกจะมีอาการขัด หรือรู้สึกฝืดข้อเล็กน้อย เมื่อเริ่มออกเดิน เมื่อเดินไป 2-3 ก้าว อาการจะดีขึ้น แต่เมื่อเดินต่อไปนาน ๆ อาการอาจแย่ลง
         – เมื่อเป็นนานๆ ทุกครั้งที่มีการขยับข้อ หรือแม้แต่นั่งอยู่เฉยๆ จะมีอาการปวดข้อตลอดเวลา

          ขณะเดินอาจมีเสียงลั่นในข้อ มีอาการเข่าอ่อน หรือรู้สึกข้อเข่าคลอนไม่มั่นคงจนต้องใช้ไม้เท้าช่วยพยุงทุกครั้งที่เดิน
         – รายที่เป็นมาก อาจไร้สมรรถภาพ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เนื่องจากมีอาการปวดข้อ ปวดเอ็น หรือปวดกล้ามเนื้ออย่างใดอย่างหนึ่งรุนแรง หรืออาจเป็นร่วมกันทั้งหมด
         – เมื่อตรวจร่างกายจะพบว่ามีข้อบวม เยื่อบุหนาจากการอักเสบเรื้อรัง มีน้ำในข้อและกดเจ็บเล็กน้อย
         อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงของอาการปวดข้อ เอ็น และกล้ามเนื้อ มักจะเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะในเพศหญิงวัยสูงอายุ ที่มีรูปร่างอ้วนและขาดการออกกำลังกาย ส่วนในช่วงก่อนวัยสูงอายุเพศชายจะมีโอกาสเกิดได้มากกว่าเพศหญิง โดยเฉพาะกลุ่มอาชีพที่ต้องใช้แรงงาน เช่น เกษตรกร กรรมกร นักกีฬา สำหรับวัยหนุ่มสาวโอกาสเกิดน้อยมาก เว้นแต่ ในรายที่ข้อมีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด หรือได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงมาก่อน

การป้องกันอาการปวดข้อ เอ็น และกล้ามเนื้อ
         1.ไม่ควรยืนนานๆ หรือตรากตรำทำงานหนัก หักโหมจนเกินไป ถ้าจำเป็นควรมีการพักบ้าง
         2.หลีกเลี่ยงการคลาน นั่งคุกเข่า นั่งพับเพียบหรือขัดสมาธิเป็นเวลานานๆ
         3.สำหรับผู้ที่มีอาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้ออยู่แล้ว พยายามขึ้นลงบันไดให้น้อยที่สุด

         4.นั่งเก้าอี้ขนาดพอเหมาะ ไม่ควรนั่งโซฟาที่นุ่ม หรือเตี้ยเกินไป
         5.ไม่ควรออกกำลังกายหนักจนเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บได้
         6.ให้ควรหลีกเลี่ยงการยกของหนักทุกชนิดที่เกินความสามารถที่เข่าและข้อจะรับได้ เนื่องจากอาจทำให้ปวดบวม อักเสบได้ในเวลาต่อมาด้วย
         7.รับประทานสารอาหารบางชนิดเพื่อบำรุง เช่น แคลเซี่ยม วิตามินดี น้ำมันตับปลา เป็นต้น เพราะจะส่งผลดีต่อข้อ กระดูก และกล้ามเนื้อ
         ทั้งนี้ หากเกิดการบาดเจ็บจนมีอาการอักเสบ บวมแดงร้อน หรือมีไข้ ตัวร้อน มีอาการปวดที่ข้ออื่นๆร่วมด้วย และปวดมากจนทรมาน หรือเดินไม่ไหว เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพ ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาด้วยวิธีการที่ถูกต้อง มิเช่นนั้นอาจทำให้อาการปวดข้อ เอ็น และกล้ามเนื้อยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น

การรักษาอาการปวดข้อ เอ็น และกล้ามเนื้อ
         การรักษาอาการปวดข้อ เอ็น และกล้ามเนื้อ จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของผู้ป่วย หลักสำคัญคือระงับอาการปวด และลดการอักเสบที่เกิดขึ้น ผู้ป่วยต้องพักผ่อนให้เต็มที่ งดใช้งานข้อบริเวณที่เส้นเอ็นอักเสบ ควรประคบด้วยความเย็นเป็นครั้งคราว การใช้ยาแก้ปวด ช่วยบรรเทาอาการได้ตามสมควร การใช้ยาลดการอักเสบช่วยให้อาการดีขึ้น

         ในรายที่เป็นมาก แพทย์อาจพิจารณาฉีดยา Corticosteroid เข้าไปรอบ ๆ บริเวณเส้นเอ็นที่เกิดการอักเสบ จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้มาก แต่ทั้งนี้ไม่ควรฉีดบ่อย จะทำให้เส้นเอ็นไม่แข็งแรงและอาจฉีกขาดได้ง่าย นอกจากนี้ยังต้องทำกายภาพบำบัด และการออกกำลังกายเพื่อเสริมกำลังของกล้ามเนื้อ ช่วยให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นแข็งแรงขึ้น
         กระนั้นก็ตาม บางรายอาจต้องมีการผ่าตัด ในกรณีที่เส้นเอ็นเกิดการฉีกขาด เทคนิคการซ่อมเส้นเอ็นทำได้หลายแบบ รวมทั้งการผ่าตัดเพื่อเสริมความแข็งแรงของเส้นเอ็นอีกด้วย ที่สำคัญคือควรหยุดพักการใช้ข้อที่ปวด ใช้ถุงน้ำร้อนประคบ ทานวดด้วยขี้ผึ้งน้ำมันระกำหรือยาหม่อง ใช้ผ้าพันแผลชนิดยืดพันให้พอแน่น กินยาแก้ปวด และยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ เช่นเดียวกับการดูแลผู้ป่วยข้อแพลง เมื่อทุเลาปวดให้ค่อย ๆ เคลื่อนไหวบริหารข้อนั้นให้คืนสู่สภาพปกติ
         ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 2 สัปดาห์ ต้องทำเอกซเรย์ (บางคนอาจพบมีหินปูน หรือแคลเซียมเกาะที่เส้นเอ็น) ในรายที่เป็นมากอาจต้องฉีดสเตอรอยด์ตรงบริเวณที่ปวด (การฉีดยาชนิดนี้อาจทำให้ปวดมาก บางครั้งอาจต้องผสมยาชา) ซึ่งเป็นวิธีรักษาที่ได้ผลดี แต่ไม่ควรฉีดเกินปีละ 2-3 ครั้ง อาจทำให้เส้นเอ็นเปื่อยฉีกขาด

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

ท่าบริหารฤๅษีดัดตน แก้อาการปวดขา

         ขาเป็นอวัยวะที่สำคัญมากต่อร่างกาย วันใดวันหนึ่งหากถึงคราวต้องสูญเสียมันไป เชื่อว่าหลายคนคงรับไม่ได้ ดังนั้น นอกจากจะต้องดูแลสุขภาพแล้ว ขาเป็นอีกอวัยวะหนึ่งที่เราไม่ควรละเลย เคยมีกรณีตัวอย่างของหนุ่มนักเต้นที่ต้องใช้งานขาอย่างหนักในการร่ายลีลาบนเวทีเกือบทุกวัน แต่กลับไม่เคยดูแลเอาใจใส่อวัยวะอย่างขาเลย ไม่เคยแม้กระทั่งยืดกล้ามเนื้อหรือบริหารขา และแล้ววันหนึ่งเขาก็ตื่นขึ้นมาพร้อมกับฝันร้าย คือมีอาการปวดขาอย่างหนัก เมื่อไปตรวจก็พบว่ากล้ามเนื้อและกระดูกที่ขาของเขาเสื่อมรุนแรงจนไม่สามารถลุกขึ้นมาเต้นได้อีกต่อไป
         เห็นหรือยังว่าการดูแลเอาใจใส่อวัยวะขาที่เราใช้งานหนักอยู่ทุกวี่วันนั้นสำคัญแค่ไหน กระนั้นก็ตาม ถ้ากำลังขายังมีเรี่ยวแรงอยู่ก็ยังถือว่าไม่สายเกินไป วันนี้เรามีวิธีดูแลรักษาขาด้วยท่าบริหารแก้ปวดขา แก้เมื่อยขามาให้ท่านผู้อ่านได้นำไปใช้ มีวิธีไหนบ้างมาดูกัน


ฤๅษีดัดตนแก้ปวดขา

         ท่าที่ 1 ท่าเตรียมให้นั่งชันเข่าไขว้ขา เอามือทั้ง 2 จับขาทั้ง 2 ข้างไว้ ทำใจให้เป็นสมาธิ จากนั้นทำท่าบริหารแก้ปวดขาด้วยการหายใจเข้าช้าๆ พร้อมทั้งพยายามแบะเข่าออกโดยมีมือทั้ง 2 พยายามออกแรงต้านขาไว้ พอสุดลมหายใจเข้าหยุดนิดหนึ่งแล้วนับ 1-10 เสร็จแล้วหายใจออกผ่อนมือและขากลับที่เดิม โดยให้ทำสลับกัน 3-6 ครั้งทุกวัน
         ท่าที่ 2 ท่าเตรียมให้นั่งเหยียดขาราบติดพื้นเอาขาข้างดีไขว้ทับเหนือเข่าข้างที่เจ็บไว้ ท้าวมือทั้งสองข้างไว้ที่พื้น แขนเหยียดตรง จากนั้นก็หายใจเข้าช้าๆ สุดแล้วหายใจออกช้าๆ พร้อมทั้งไถมือไปข้างหน้าจนสุดเท่าที่จะทำได้ จะรู้สึกตึงที่ได้ขาพับเข่ามาก เสร็จแล้วผ่อนมือกลับที่เดิม ทำสลับกัน 3-6 ครั้งทุกวันจนกว่าจะหายตึง
         ท่าที่ 3 ให้นอนหงายชันเข่าทัง 2 ข้าง ถ้าปวดหลังช่วงเอวด้านขวา ให้ใช้ขาข้างขวาไขว้ขาซ้ายไว้ โดยให้ปลายเท้าขัดกับน่องและเอามือซ้ายจับเข่าขวาไว้ จากนั้นบริหารด้วยการหายใจเข้าช้าๆพร้อมทั้งเอามือดึงเข่าลงชิดพื้นด้านซ้าย นับ 1-10 แล้วหายใจออก กลับสู่ท่าเตรียม ท่าบริหารแก้ปวดขานี้ควรทำ 7-10 ครั้ง
         ท่าที่ 4 ให้นอนหงายชันเข่าข้างที่ปวดขาขึ้น ลำตัวตรงและขาอีกข้างเหยียดตรง จากนั้นให้หายใจเข้าช้าๆ ใช้มือทั้งสองข้างดังเข่าที่ตั้งชันอยู่เข้าหาอก พยายามดึงให้ชิดอกมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นับ 1-10 แล้วหายใจออกช้าๆ และค่อยๆเหยียดขาตรง วางขาบงสู่พื้นกลับสู่ท่าเตรียมใหม่ ท่านี้ควรบริหารประมาณ 7-10 ครั้ง

         ท่าที่ 5 ท่าเตรียมคือให้นอนหงายชันเข่าขึ้น เอาขาข้างที่ปวดขึ้นไขว้ห้างเป็น 4 หงายมือทั้งสองสอดเข้าไปใต้น่อง แล้วหายใจเข้าช้าๆลึกๆ พร้อมทั้งเอามือดึงท่อนขาเข้าชิดอกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จากนั้นนับ 1-10 และหายใจออกกลับสู่ท่าเตรียม ท่าบริหารแก้ปวดขานี้ให้ทำ 7-10 ครั้งเช่นกัน
         ท่าบริหารฤๅษีดัดตนนี้ จะช่วยแก้อาการปวดขา เมื่อยขาอย่างได้ผล โดยควรทำเป็นประจำทุกวัน จากคนที่ไม่ค่อยมีกำลังขาในการเดิน เมื่อบริหารอย่างสม่ำเสมอจะยิ่งทำให้ขามีเรี่ยวแรงมากขึ้น สามารถเดิน วิ่ง หรือออกกำลังกายได้นานกว่าที่เคยเป็น อย่างไรก็ดี เมื่อกำลังขาเริ่มกลับมาดีขึ้น และอาการปวดขาเริ่มทุเลาลง ก็ควรออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง เช่น การเดิน-วิ่งระยะไกล การว่ายน้ำ เต้นแอโรบิค ฯลฯ เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง อวัยวะสำคัญอย่างขาก็จะอยู่คู่กับเราไปได้อีกนาน

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.