ยาเบาหวาน มีอะไรบ้าง และต้องใช้อย่างไรให้ถูกต้อง

         เบาหวาน…เป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด แต่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ด้วยวิธีการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และใช้ยาเบาหวาน สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุขเหมือนคนทั่วไป ทั้งนี้ ในเรื่องของการใช้ยาเบาหวาน จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ยาฉีดอินซูลิน และยารับประทาน

1.ยาเบาหวานแบบฉีดอินซูลิน
         เป็นยาที่ใช้ฉีดเข้าสู่ร่างกายเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยฉีดเข้าใต้ผิวหนังบริเวณต้นขา หรือหน้าท้อง วันละ 1-4 ครั้งก่อนอาหารประมาณครึ่งชั่วโมง ซึ่งควรหมุนเวียนเปลี่ยนที่ฉีดเข้าใต้ผิวหนังแทนการฉีดซ้ำที่เดิม แต่ยังคงอยู่ในบริเวณผิวหนังเดียวกัน เช่น ฉีดบริเวณต้นขา ก็เปลี่ยนตำแหน่งแทงเข็มโดยให้ยังคงอยู่ที่บริเวณต้นขา

         อินซูลินมีทั้งชนิดที่เป็นน้ำใสและน้ำขุ่น หากต้องใช้ทั้ง 2 ชนิด ผู้ป่วยต้องใช้กระบอกฉีดยาดูดอินซูลินชนิดน้ำใสก่อน แล้วจึงดูดยาอินซูลินชนิดน้ำขุ่น เข้ามาผสมในกระบอกฉีดยาเดียวกัน จากนั้นจึงนำไปฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ข้อสำคัญคือ อินซูลินที่ยังไม่เปิดใช้ต้องเก็บไว้ในตู้เย็นที่ไม่ใช่ช่องแช่แข็ง เมื่อจะใช้จึงนำออกมาจากตู้เย็น และนำไปคลึงระหว่างฝ่ามือทั้งสองข้างเพื่อให้อินซูลินมีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิกายก่อนนำไปฉีด
         อย่างไรก็ดี ยาเบาหวานประเภทฉีดยังไม่เป็นที่นิยมของคนไทยมากนัก เนื่องจากคนในบ้านเรามักไม่ชอบการฉีดยาและมักจะยอมฉีดก็ต่อเมื่อไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้จากการรับประทานยาแล้วเท่านั้น ยาเบาหวานชนิดรับประทานจึงเป็นที่รู้จักและนิยมของคนไทยมากกว่า

2.ยาเบาหวานแบบรับประทาน
         1) ยาก่อนอาหาร ยากลุ่มนี้ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายพร้อมที่จะใช้พลังงานจากแป้งและน้ำตาล โดยกระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมา ณ เวลาที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงหลังจากรับประทานอาหาร โดยทั่วไปแล้วยารุ่นเก่ามักแนะนำให้ใช้ก่อนอาหารประมาณ ๓๐ นาที ส่วนยารุ่นใหม่สามารถใช้ก่อนอาหารทันทีได้ขึ้นอยู่กับความเร็วในการกระตุ้นตับอ่อนของยาแต่ละตัว ยาเบาหวานก่อนอาหาร ก็อย่างเช่น Chlorpropamide, Gliclazide, Gliquidine, Glimepiride, และ Repaglinide เป็นต้น
         เมื่อใช้ยากลุ่มนี้ก่อนอาหารแล้ว จำเป็นต้องรับประทานทานอาหารหลังกินยาเสมอ ไม่เช่นนั้นฮอร์โมนอินซูลินที่ถูกกระตุ้นให้หลั่งออกมาจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าระดับปกติ จนอาจเกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรงได้ เช่นเดียวกับกรณีลืมกินยา ไม่ควรกินยาหลังอาหารแทน เพราะยาจะออกฤทธิ์ในช่วงที่ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงไปแล้ว จึงทำให้ระดับน้ำตาลลดต่ำลงไปมากกว่าเดิม โอกาสเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดจะต่ำกว่าระดับปกติจะมากขึ้น

         2) ยาพร้อมอาหาร ยาลดน้ำตาลในเลือดกลุ่มนี้ทำหน้าที่ออกฤทธิ์ขัดขวางการดูดซึมน้ำตาลจากลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือด จึงควรรับประทานพร้อมกับมื้ออาหาร โดยทั่วไปแนะนำให้ใช้พร้อมกับอาหารคำแรก ยากลุ่มนี้ ได้แก่ Acarbokse (ชื่อทางการค้า Glucobay) และ Voglibose (ชื่อทางการค้า Basen FDT)
         ระยะเวลาก่อนอาหารหรือหลังอาหารนานๆ ยากลุ่มนี้จะไม่เจอกับน้ำตาลที่ย่อยและพร้อมจะดูดซึมอยู่ในลำไส้เล็ก ดังนั้น ถ้าลืมใช้ยานี้พร้อมอาหาร อาจสามารถรับประทานยาหลังอาหารได้ทันที แต่ประสิทธิผลของยาจะน้อยกว่าการใช้ยาพร้อมอาหาร สำหรับมื้อที่ไม่ได้รับประทานอาหารก็ไม่จำเป็นต้องกินยากลุ่มนี้
         3) ยาหลังอาหาร จะออกฤทธิ์ช่วยทำให้อวัยวะต่างๆ ใช้น้ำตาลในกระแสเลือดที่ดูดซึมหลังรับประทานอาหารเพื่อไปเก็บสะสมหรือเปลี่ยนเป็นพลังงานได้ดีขึ้น จึงสามารถใช้ยากลุ่มนี้หลังอาหารได้ทันที ทั้งนี้ ยาหลังอาหารมีหลายกลุ่มด้วยกัน ผู้ป่วยหลายคนอาจต้องใช้ยามากกว่า 1 ชนิด เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิผลในการรักษามากขึ้น ตัวอย่างยาเบาหวานที่รับประทานหลังอาหาร เช่น Pioglitazone, Metformin, Saxagliptin, Sitagliptin, Vildagliptin เป็นต้น 
         เนื่องจากยาเบาหวานล้วนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งมีความละเอียดอ่อนมาก หากใช้ไม่ถูกต้องอาจส่งผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้ ดังนั้น ควรใช้ยาภายใต้คำสั่งของแพทย์เท่านั้น ที่สำคัญคือควรระมัดระวังในการรับประทานอาหาร เพราะควบคุมอาหารก็เป็นสิ่งที่สำคัญในการรักษาโรคเบาหวาน

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

โรคเบาหวาน รู้ให้ทันป้องกันได้

         โรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ในปัจจุบันนั้นมีมากมายหลากหลายเหนือคณานับ บางโรคก็ไม่ค่อยเป็นอันตรายหรือสร้างความเจ็บปวดต่อร่างกายมากนัก ในขณะที่บางโรคสร้างความเจ็บปวดทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วยจนถึงขั้นล้มหายตายจากก็มี อย่างเช่น การเกิดเนื้องอกในสมอง หลอดเลือดในสมองแตก โรคมะเร็ง โรคหัวใจ เป็นต้น
         อย่างไรก็ดี บทความนี้จะพูดถึงโรคภัยอย่างหนึ่งที่ถือเป็นโรคเรื้อรังและก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้มากมาย แต่ถ้าดูแลรักษาเป็นอย่างดี อาการต่างๆก็จะสามารถทุเลาลงได้ มันคือ “โรคเบาหวาน” นั่นเอง ซึ่งต้องบอกเลยว่าโรคนี้ไม่ได้ร้ายแรงอย่างที่คิด เพราะโรคเบาหวาน ถ้ารู้ให้ทันก็สามารถป้องกันและยับยั้งอาการไม่ให้รุนแรงได้

         อาหารที่รับประทานเข้าไปส่วนใหญ่จะเปลี่ยนจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดเพื่อใช้เป็นพลังงาน เซลล์ในตับอ่อนชื่อเบต้าเซลล์เป็นตัวสร้างอินซูลิน ซึ่งเจ้าอินซูลินนี้เป็นตัวนำน้ำตาลกลูโคสเข้าเซลล์เพื่อใช้เป็นพลังงาน ทั้งนี้ โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดเนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือประสิทธิภาพของอินซูลินลดลงเนื่องจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเป็นเวลานาน และจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆได้ เช่น ตา ไต และระบบประสาท

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน
         เริ่มรู้จักกับโรคเบาหวานกันไปพอสมควรแล้วว่ามันเกิดจากอะไร ทีนี้มาดูกันว่าใครบ้างที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานได้ง่าย ซึ่งถ้าคุณเข้าข่ายกลุ่มคนดังต่อไป ก็ควรดูแลเอาใจสุขภาพเป็นพิเศษ จะไดป้องกันพิษภัยจากโรคเบาหวานที่อาจจะมาเยือนเมื่อไหร่ก็ได้
         1.คนที่มีพ่อแม่หรือญาติพี่น้องเป็นโรคเบาหวาน กลุ่มนี้มีโอกาสเป็นโรคเบาหวานได้มากกว่าคนอื่นๆ เพราะได้รับการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ จึงไม่แปลกที่หากพ่อแม่ปู่ย่าตายายเป็นโรคเบาหวานแล้วตนจะเป็นด้วย
         2.คนอ้วนหรืออยู่ในภาวะน้ำหนักเกิน มีโอกาสเป็นโณคเบาหวานมากกว่าคนไม่อ้วน เนื่องจากร้อยละ 80 ของโรคเบาหวานพบได้ในคนอ้วน
         3.คนที่ร่างกายอ่อนแอ โรคเบาหวานมักเกิดขึ้นกับคนที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย หรือร่างกายอ่อนแอ เนื่องจากขาดภูมิคุ้มกันโรค ทั้งนี้ คนที่ไม่ออกกำลังยยังมีความเสี่ยงต่อโรคอื่นๆอีกมากมาย
         4.คนที่เครียดเป็นประจำ ความเครียดจะมีผลไปกระตุ้นให้มีการหลั่งของฮอร์โมนหลายชนิดในร่างกายซึ่งขัดขวางการทำงานของอินซูลิน ทำให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้นได้ง่าย
         5.คนที่เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของตับอ่อน หรือมีการอักเสบที่ตับอ่อนจากเชื้อไวรัส หรือยาบางชนิด ก็ถือว่ามีความเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน
         6.คนที่ดื่มสุราเป็นประจำ สุราจะทำให้ตับอ่อนเสื่อมสมรรถภาพได้ ส่งผลให้เกิดโรคต่างๆตามมา โดยคนที่ชอบดื่มสุรามักเป็นโรคตับ และโรคอื่นๆมากมาย รวมทั้งเบาหวานด้วย

 

วิธีป้องกันโรคเบาหวาน
         1.ควบคุมอาหาร ประการแรกเลยคือต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณและสัดส่วนพอเหมาะวันละ 3 เวลา โดยควรลดอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลทุกชนิด เช่น ขนมหวาน น้ำอัดลม น้ำหวาน และผลไม้รสหวานจัด เช่น ทุเรียน องุ่น ขนุน ลำไย น้อยหน่า ละมุด มะม่วงสุก ลูกเกด มะขามหวาน โดยเฉพาะผลไม้กระป๋อง เช่น เงาะ ลิ้นจี่ องุ่น ป็นต้น
         นอกจากนี้ยังควรลดเนื้อสัตว์ติดมันต่างๆ ลดอาหารประเภทไขมันที่ได้จากสัตว์ อาหารที่มีกะทิ และให้เพิ่มการรับประทานอาหารประเภทผักให้มากขึ้น โดยเฉพาะผักประเภทใบอย่างผักกาด ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง บวบ ตำลึง ต้นหอม กะหล่ำปี ฯลฯ
         2.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ให้เหมาะสมกับเพศและวัย ซึ่งการออกกำลังกายนี้จะยิ่งทำให้การควบคุมอาหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลดีต่อน้ำหนักตัว ทำให้ไม่อยู่ในภาวะน้ำหนักเกิน ซึ่งเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน
         3.หากเป็นโรคเบาหวานแล้วควรพบแพทย์ทันที เพื่อตรวจร่างกายตามนัดและปฏิบัติตาคำแนะนำของแพทย์โดยรับประทานยาหรือฉีดอินซูลินตามแพทย์สั่งอย่าหยุดยาหรือเพิ่มยาเอง
         กระนั้นก็ตาม โรคเบาหวานมีด้วยกันหลายชนิด แต่ที่พบได้บ่อยจะมี 2 ชนิด โดยชนิดที่ 1 มักจะพบในเด็กเป็นพวกขาดอินซูลิน ส่วนชนิดที่ 2 พบในคนสูงอายุและมีน้ำหนักเกิน การรักษาโรคเบาหวานทั้งสองชนิดไม่เหมือนกัน โรคแทรกซ้อนก็ต่างกัน การรักษาเบาหวานชนิดที่ 2 จะเน้นเรื่องการควบคุมน้ำหนัก การควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย ส่วนเบาหวานชนิดที่ 1 จะเน้นการให้อินซูลินเข้าสู่ร่างกาย ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นชื่อว่าโรคภัยคงไม่มีใครอยากเจอกับมันเป็นแน่ ฉะนั้น เมื่อรู้แล้วก็ควรหาทางป้องกันเสียตั้งแต่ตอนนี้

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

มาดูอาหารรักษาเบาหวาน ที่ผู้ป่วยควรรับประทาน

         เบาหวานถือเป็นอีกโรคยอดฮิตโรคหนึ่งที่คนมักเป็นกันมาก โดยเฉพาะในคนอ้วนและผู้สูงอายุ ยิ่งถ้าบ้านไหนมีคนเคยเป็นโรคเบาหวานมาก่อน ก็เตรียมรับมือกับมันไว้ได้เลย เพราะเบาหวานเป็นโรคที่ได้มาจากพันธุกรรม ทั้งนี้ เบาหวานไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ถ้าประคับประคอง ดูแลรักษาเป็นอย่างดีก็จะแสดงอาการของโรคได้น้อยลง
         หากใครอยากรู้ว่าตนมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ สังเกตได้จากอาการกินจุ น้ำหนักลด หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะมากและบ่อย คันตามผิวหนัง เป็นแผลรักษายาก หญิงที่แท้งบุตรง่าย ทารกตายในครรภ์ คลอดบุตรหัวโตน้ำหนักเกิน 4,000 กรัม หรือถ้าจะให้ชัวร์ก็ไปพบแพทย์วินิจฉัยด้วยวิธีตรวจเลือด (ควรงดอาหารทุกอย่างหลังเที่ยงคืน) เมื่อตรวจเลือดแล้วน้ำตาลสูงกว่า 115 มิลลิกรัม ในเลือด 100 มิลิเมตร ก็แสดงว่าท่านเข้าข่ายเป็นโรคเบาหวานแล้ว

         เมื่อเป็นโรคเบาหวาน หลายคนคงเกิดความกังวลระคนสงสัยว่า จะรักษาเบาหวานได้หรือไม่ คำตอบก็คือ โรคนี้เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถทำให้อาการทุเลาลงเหมือนคนปกติได้ ด้วยวิธีการให้อินซูลินในร่างกาย ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือรับประทานอาหารที่ไม่แสลงกับโรคเบาหวาน พูดง่ายๆก็คือต้องควบคุมอาหารเป็นอย่างดี และเน้นรับประทานอาหารที่เป็นโยชน์ต่อร่างกาย

อาหารรักษาเบาหวานที่ควรรับประทาน
         1.ข้าวกล้อง มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนผ่านการขัดสีน้อย
         2.วุ้นเส้นทำจากถั่ว สามารถบริโภคได้ประจำตามปริมาณที่กำหนด ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ก๋วยเตี๋ยววุ้นเส้น แกงจืด ยำวุ้นเส้น เป็นต้น
         3.อาหารไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันมะกอก เป็นต้น
         4.ผัก ผลไม้ การรับประทานผักให้หลากหลายทุกวันอย่างน้อย 2 มื้อ จะช่วยให้สุขภาพดีขึ้น และรักษาโรคเบาหวานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ควรรับประทานแบบต้มหรือนึ่งจะดีที่สุด หากเป็นผัดผักต้องใช้น้ำมันน้อยๆ

         สำหรับผักที่แนะนำ ได้แก่ มะระขี้นก หั่นชิ้นเล็กแล้วตากแดดให้แห้ง นำมาชงกับน้ำเหมือนชงชา ฟักทอง ให้ใช้เมล็ดฟักทองต้มน้ำดื่ม ครั้งละ 300 เมล็ด จะช่วยรักษาเบาหวานให้ดีขึ้น นอกจากนี้ผลฟักทองและน้ำฟักทอง ก็ช่วยลดอาหารเบาหวานได้ และผักอีกอย่างที่แนะนำคือแตงกวา การคั้นน้ำแตงกวาพร้อมเมล็ดจะดีต่อสุขภาพเมื่อดื่มขณะท้องว่าง
         5.น้ำนม ควรเลือกดื่มชนิดจืด ไม่เติมน้ำตาลหรือชนิดไม่ปรับปรุงแต่งรส หรือนมพร่องมันเนยที่มีไขมันประมาณ 1.9% สำหรับนมเปรี้ยว ควรเลือกชนิดที่ไม่ปรุงแต่งรส และนมที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรรับประทานคือนมข้นหวาน และนมถั่วเหลืองชนิดหวาน ทั้งนี้ น้ำเต้าหู้ ผู้ป่วยเบาหวานสามารถดื่มได้ แต่ต้องไม่เติมน้ำตาล

อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยง
         ได้ทราบกันไปแล้วว่าอาหารรักษาเบาหวานที่ควรรับประทานมีอะไรบ้าง ทีนี้มาดูอาหาทีที่ผู้ป่วยโรคนี้ไม่ควรรับประทานกันบ้าง จะได้เป็นความรู้ในการหลีกเลี่ยงอาหารพวกนี้ ได้แก่ น้ำตาลทุกชนิดรวมทั้งน้ำผึ้ง น้ำตาลจากผลไม้ ขนมหวานและขนมเชื่อมต่างๆ เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ขนมชั้น สังขยา ลอดช่อง ฯลฯ ผลไม้กวน เช่น มะม่วงกวน ทุเรียนกวน สับปะรดกวน ฯลฯ น้ำหวานต่าง ๆ น้ำผลไม้ ยกเว้น น้ำมะเขือเทศ นมรสหวานรวมทั้งน้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น ชา กาแฟ ถ้าจะดื่มกาแฟควรดื่มกาแฟดำไม่ควรใส่น้ำตาล นมข้นหวาน หรือครีมเทียม

         นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน องุ่น ลำใย มะม่วงสุก ขนุน ละมุด น้อยหน่า ลิ้นจี่ อ้อย สับปะรด ผลไม้แช่อิ่ม หรือ เชื่อมน้ำตาล รวมถึงของขบเคี้ยวทอดกรอบ และอาหารชุบแป้งทอดต่างๆ เช่น ปาท่องโก๋ กล้วย แขก ข้าวเม่าทอด เป็นต้น
         จากการแนะนำของแพทย์ หลักการรักษาเบาหวานจะต้องทำให้ผู้ป่วยอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข และไม่มีโรคแทรกซ้อนซึ่งต้องประกอบไปด้วย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้แก่การออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร งดบุหรี่ การดูแลสุขภาพทั่วๆไป ควบคุมความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ และการใช้ยาเม็ดหรือยาฉีดตามคำสั่งของแพทย์ เพียงแค่นี้อาการเบาหวานก็จะดีขึ้น ไม่เกิดความรุนแรง

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.