ปรับพฤติกรรม ป้องกัน ‘office syndrome’

         เชื่อว่าหลายคนโดยเฉพาะหนุ่มสาววัยทำงานคงคุ้นหูกับคำว่า “ออฟฟิศ ซินโดรม” (office syndrome) กันเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อยในคนใช้ชีวิตการทำงานอยู่แต่ในออฟฟิศ ที่สภาพแวดล้อมในที่ทำงานไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการนั่งทำงานตลอดเวลา อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ และปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ เช่น หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ ส่วนบางรายที่มีอาการของหมอนรองกระดูกเคลื่อนอยู่แล้ว หากทำงานในอริยาบทที่ผิดจะทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้น
         อย่างไรก็ตาม มีการสำรวจพนักงานออฟฟิศในประเทศฝั่งยุโรป พบว่าส่วนใหญ่ต้องปรึกษาแพทย์ด้วยอาการต่างๆ ได้แก่อาการปวดหลัง ปวดบริเวณคอ/ไหล่ และปวดศีรษะตามลำดับ ซึ่งเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับภาวะ office syndrome และยังพบว่ากลุ่มคนทำงานอายุระหว่าง 16-24 ปี มีความเสี่ยงของการเกิดภาวะดังกล่าวสูงถึงร้อยละ 55

ภาวะ office syndrome เกิดขึ้นได้อย่างไร

         office syndrome เกิดจากการทำงานหนัก ประกอบกับอิริยาบถในการทำงานไม่เหมาะสม ทั้งนั่งหลังค่อม การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ บางคนมากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบท นอกจากนี้ ปัญหาความเครียดก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะ office syndrome ได้ โดยพบสูงถึงร้อยละ 80 สำหรับในบ้านเราเคยมีการสำรวจในคนทำงานที่สำนักพิมพ์แห่งหนึ่งจำนวน 400 คนพบว่าร้อยละ 60 มีภาวะดังกล่าว
         ไม่เพียงแค่นั้น สภาพโต๊ะทำงานยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิด office syndrome โดยโต๊ะทำงานที่ไม่เป็นระเบียบ ไม่สะดวกต่อการหยิบสิ่งของ เก้าอี้ไม่เหมาะสม ไม่มีพนักพิงที่รองรับหลังอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการกดแป้นคียบอร์ดที่ไม่มีตัวรองรับข้อมือ จะทำให้มีการกระดกข้อมือขึ้นลงซ้ำๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการอักเสบบริเวณเส้นเอ็น รวมทั้งเกิดภาวะพังผืดหนา ทำให้เกิดอาการชาบริเวณนิ้ว และข้อมือได้

10 โรคยอดนิยมสำหรับคนทำงานออฟฟิศ

         การตกอยู่ในภาวะ office syndrome นอกจากจะทำให้สุขภาพร่างกายค่อยทรุดโทรมลงแล้ว ยังเป็นต้นเหตุของโรคต่างๆมากมาย โดย 10 โรคยอดนิยมสำหรับคนทำงานออฟฟิศ ที่อยู่ในภาวะ office syndrome มีดังนี้
         1.นิ่วในถุง น้ำดี
         2.กระเพาะ ปัสสาวะอักเสบ
         3.โรคเครียด นอนไม่หลับ
         4.ความดัน โลหิตสูง
         5.โรคอ้วน
         6.กรดไหลย้อน
         7.ปวดหลัง เรื้อรัง
         8.ไมเกรน ปวดศีรษะเรื้อรัง
         9.มือชา เอ็น อักเสบ นิ้วล็อก
         10.ต้อหิน ตาพร่ามัว

พฤติกรรมที่ควรปรับปรุง เพื่อป้องกันการเกิด office Syndrome
         1.นั่งไขว่ห้าง น้ำหนักตัวจะถูกกดทับลงข้างใดข้างหนึ่ง เมื่อกดทับเป็นเวลานาน สามารถทำให้กระดูกสันหลังเราคดได้
         2.นั่งกอดอก จะทำให้หลังช่วงบน สะบัก และหัวไหล่ ถูกยืดยาวออก หลังช่วงบนค่อมและงุ้มไปด้านหน้า ทำให้กระดูกคอยื่นไปด้านหน้า มีผล ต่อเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงแขน อาจทำให้มืออ่อนแรงและชาได้
         3.นั่งหลังงอ หลังค่อม เช่น การนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ เป็นชั่วโมง ๆ จะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งค้าง เกิดการคั่งของกรดแลคติค มีอาการ เมื่อยล้า ปวด และมีปัญหาเรื่องกระดูกผิดรูปตามมา
         4.นั่งเบาะเก้าอี้ไม่เต็มก้น จะทำให้กล้ามเนื้อหลังทำงานหนัก เพราะฐานในการรับน้ำหนักตัวในสมดุล

         5.ยืนพักลงน้ำหนักด้วยขาข้างเดียว การยืนที่ถูกต้อง ควรลงน้ำหนักที่ขาทั้ง 2 ข้างให้เท่ากัน โดยให้ขายืนกว้างกว่าสะโพก จึงจะทำให้เกิดความ สมดุลของโครงสร้างร่างกาย6.การยืนแอ่นพุง/หลังค่อม ควรยืนหลังตรง แขม่วท้องเล็กน้อย เพื่อเป็นการรักษาแนวกระดูกช่วงล่างไม่ให้แอ่น และไม่ทำให้ปวดหลัง
         7.ใส่ส้นสูงเกินนิ้วครึ่ง จะทำให้กระดูกสันหลังช่วงล่างแอ่นมากกว่าปกติ ซึ่งนำมาสู่อาการปวดหลังได้
         8.สะพายกระเป๋าหนักข้างเดียว ไม่ควรสะพายกระเป๋าหนักข้างใดข้างหนึ่งเป็นเวลานาน ควรเปลี่ยนเป็นการถือกระเป๋า โดยใช้ร่างกายทั้งสองข้าง ให้เท่า ๆ กัน อย่าใช้แค่ข้างใดข้างหนึ่งตลอด เพราะจะทำให้เกิดการทำงานหนักอยู่ข้างเดียว ส่งผลให้กระดูกสันหลังคดได้
         9.หิ้วของหนักด้วยนิ้วบ่อยๆ จะมีผลทำให้เกิดพังผืดยึดตามข้อนิ้วมือ ทำให้เกิดอาการนิ้วล็อคได้
         10.การขดตัวหรือนอนตัวเอียง ท่านอนหงายเป็นท่าที่ถูกต้องที่สุด ควรนอนให้ศีรษะอยู่ในแนวระนาบ หมอนหนุนศีรษะต้องไม่แข็งหรือนิ่มเกินไป ควรมีหมอนรองใต้เข่า เพื่อลดความแอ่นของกระดูกสันหลังช่วงล้าง หากจำเป็นต้องนอนตะแคงให้หาหมอนข้างก่ายโดยให้ขาก่ายทั้งหมดอยู่บนหมอนข้าง เพื่อรักษาแนวกระดูกให้อยู่ในแนว ตรง

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

ออฟฟิศ ซินโดรม เมื่ออาชีพพนักงานบริษัททำลายร่างกายของคุณ

         งานในออฟฟิส หลายคนอาจจะมองว่าเป็นอาชีพในฝัน เพราะเพียงแค่นั่งทำงานง่ายๆอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ภายในห้องแอร์เย็นๆ โดยมีเวลาการเข้าออกงานที่ชัดเจน สม่ำเสมอ ไม่ต้องตะลอนออกไปข้างนอกเหมือนกับงานใช้แรงงานกลางแจ้ง แต่ในความเป็นจริงแล้ว การทำงานภายในสำนักงานอาจจะไม่ “ปลอดภัย” อีกต่อไป เพราะอาชีพนี้ ส่งผลให้เกิดโรคต่างๆทั้งทางร่างกาย การสะสมความเครียดทางจิตใจ ที่จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพโดยรวมของคุณได้อย่างไม่น่าเชื่อเลยทีเดียว
 การนั่งทุกวัน เป็นหนึ่งในบ่อเกิดสำคัญที่ทำให้เกิดโรคภัยต่างๆ การวิจัยแสดงให้เห็นว่า เมื่อคุณต้องนั่งทำงานเป็ยเวลายาวนานกว่า 8 ชั่วโมง ต่อวัน เป็นส่วนใหญ่ คุณมักที่จะต้องผจญกับความเสี่ยงที่สูงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคไต และความผิดปกติของมวลกล้ามเนื้อ หรือที่มักเรียกกันอย่างติดปากว่า โรคออฟฟิศ ซินโดรมนั่นเอง

         โดยพื้นฐานร่างกายของมนุษย์ การหมั่นยืดเส้นยืดสายเป็นระยะระหว่างวัน ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น และการเคลื่อนไหวโดยรวมของร่างกายให้ดีมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าหากคุณมัวแต่คุ้นเคยกับการนั่งจมอยู่กับโต๊ะทำงานตลอดทั้งวัน ความหนาแน่นของมวลกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นมา ก็จะทำให้คุณเกิดอาการปวดตามส่วนต่างๆของร่ากาย ไม่ว่าจะเป็นต้นคอ หลัง ไหล่ สะโพก หรือแขน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นสัญญานแสดงให้เห็นว่า ร่างกายของคุณกำลังถูกคุกคามโดยโรคออฟฟิศ ซินโดรม ซึ่งเป็นโรคสมัยใหม่ที่กำลังเป็นปัญหาของคนที่จำเป็นจะต้องใช้เวลาทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานานๆ ตลอดทั้งวัน แต่โรคออฟฟิศ ซินโดรม ก็สามารถบรรเทา และหลีกเลี่ยงได้ ขอเพียงแค่คุณปฎิบัติตัวตามขั้นตอนง่ายๆ ดังต่อไปนี้

วิธีการบรรเทา และหลีกเลี่ยงอาการออฟฟิศ ซินโดรมอย่างง่ายๆด้วยตัวเอง
สำหรับวิธีการบรรเทา และหลีกเลี่ยงอาการออฟฟิศ ซินโดรมนั้น มีอยู่หลายวิธีเลยทีเดียว แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว วิธีที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากนั้น มีดังต่อไปนี้
1.ลดความหนาแน่นของกล้ามเนื้อคอและไหล่ เริ่มจากการค่อยๆเงยหน้าขึ้นไปมองบนเพดาน จากนั้นยืดแขนทั้งสองออกไปข้างหน้า พร้อมกับการบีบหัวไหล่เข้าหาแขน จากนั้นเหวี่ยงแขนทั้งสองไปด้านข้าง สลับซ้าย-ขวา ให้มากที่สุด ทำซ้ำ 10 ครั้ง เป็นจำนวนหลายๆครั้งต่อวัน

         2.ลดความหนาแน่นของกล้ามเนื้อสะโพก เป็นวิธีการออกกำลังกายลดอาการออฟฟิศ ซินโดรม โดยเริ่มต้นจากท่ายืน ลดสะโพกลงขนกว่าเข่าขวาจะสัมผัสกับพื้น โดยให้ต้นขาซ้ายมีการขนานกับพื้น บิดตัวไปทางซ้ายเล็กน้อย ทำค้างเอาไว้ 15-30 วินาที แล้วทำสลับซ้ำกับขาด้านตรงกันข้าม โดยทำเป็นประจำ 3-4 ครั้ง ต่อวัน
 3.ลดความหนาแน่นของกล้ามเนื้อข้อมือ ทำการยืดแขนทั้งสองข้างของไปข้างหน้า ในลักษระประสานมือเอาไว้ด้วยกัน ยกแขนชี้ไปทางเพดาน แล้วใช้มือซ้ายทำการดึงผ่ามือ และนิ้วมิข้างขวาของคุณกลับไปยังหัวไหล่ ทำค้างเอาไว้ 10 วินาที จากนั้นให้ย้ายไปทำซ้ำในฝั่งตรงกันข้าม ควรทำเป็นประจำ ทุกๆหนึ่งชั่วโมง เมื่อคุณจำเป็นที่จะต้องใช้คอมในระยะเวลานานๆ
อย่างที่ได้กล่าวถึงไปแล้วในตอนต้น โรคออฟฟิศ ซินโดรม เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการไม่ค่อยได้ลุกขยับตัวยิดเส้นสายตามสมควร ดังนั้นในขณะที่ทำงานคุณจึงควรลุกออกจากเก้าอี้ไปคุยกับเพื่อนบ้าน หาน้ดื่ม เข้าห้องน้ำ หรือเดินไปติดต่อประสานงานกับฝ่ายอื่นๆภายในออฟฟิศ กิจกรรมง่ายๆเหล่านี้ ก็สามารถที่จะช่วยลดอาการออฟฟิศ ซินโดรม ที่จะเกิดขึ้นกับตัวคุณให้น้อยลงได้ตามธรรมชาติแล้ว

 

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.