กินไก่มากๆ…เป็นโรคเก๊าท์จริงหรือ ?

         หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องที่บอกต่อๆกันเป็นเชิงขบขันว่า หากรับประทานไก่หรือสัตว์ปีกมากๆจะทำให้เป็นโรคเก๊าท์ ซึ่งจริงๆแล้วหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เนื่องจากการรับประทานไก่ เป็ด หรือสัตว์ปีกเป็นประจำ ไม่ได้ทำให้คนปกติกลายเป็นโรคเก๊าต์ แต่จะมีผลกับผู้ป่วยซึ่งเป็นโรคเก๊าต์อยู่แล้วแต่ยังไม่แสดงอาการ หรือมีผลต่อผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงโรคเก๊าท์ได้นั่นเอง หากรับประทานเยอะจนเกินไป
         นอกจากเรื่องการรับประทานไก่แล้ว ท่ามกลางความสับสนมึนงงเกี่ยวกับโรคเก๊าท์ ก็ยังมีคำถามอีกมากมาย บทความนี้ขอทำหน้าที่ไขข้อข้องใจให้คุณเอง ไม่ว่าจะเป็นคำถามว่าที่ จริงๆแล้วโรคเก๊าท์เกิดจากสาเหตุใดกันแน่ แล้วอาการของโรคนี้ร้ายแรงเพียงใด ที่สำคัญคือจะรู้ได้อย่างไรว่าเราตกอยู่ในภาวะเสี่ยงหรือไม่ วันนี้เรามาหาคำตอบกัน


โรคเก๊าท์ คืออะไร

         โรคเก๊าท์ เป็นโรคข้ออักเสบเฉียบพลันซึ่งเกิดจากการที่มีกรดยู ริกสะสมมากกว่าปกติ แล้วตกผลึกในรูปของเกลือยูเรต สะสมตามข้อกระดูกต่างๆ ทำใหเกิดการอักเสบขึ้น อย่างไรก็ตาม นอกจากเราจะพบกรดยูริกตามข้อต่อกระดูกซึ่งทำให้เกิดโรคเก๊าท์แล้ว กรดยูริคยังพบได้ตามส่วนต่างๆของร่างกายอีกด้วย เช่น หากสะสมในผิวหนังก็จะทำให้เกิดผิวหนังปวดบวม หากสะสมและตกผลึกในไตก็จะทำให้เกิดก้อนนิ่วในไต และอาจทำให้เกิดโรคไตวายเรื้อรังได้ ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราจะพบว่าผู้ป่วยเป็นโรคเก๊าท์มักจะมีอาการของโรคอื่นตามมาเสมอ
         ทั้งนี้ ประมาณร้อยละ 80-90 ของผู้ป่วยโรคเกาท๊ มักเป็นเพศชาย ซึ่งส่วนใหญ่มีอาการครั้งแรกในช่วงอายุ 35-45 ปี ส่วนในเพศหญิงจะพบโรคเก๊าท์ในช่วงหลังจากที่ประจำเดือนหมดไปแล้ว

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเก๊าท์
         กรดยูริกเป็นสารชนิดหนึ่งในร่างกายที่สร้างขึ้นที่ตับ ซึ่งเกิดจากการสลายตัวของสารชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า “พิวรีน” สารนี้ในร่างกายได้มาจาก 2 แหล่ง คือ 1.อาหารที่รับประทาน เช่น เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ต่างๆ รวมถึงผักบางชนิด และ 2.การสลายตัวของเซลล์ในร่างกาย
         กรดยูริกที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะถูกขับออกทางไต มีส่วนน้อยที่จะถูกขับออกทางลำไส้ ปกติแล้วคนทั่วไป จะมีกรดยูริกในเลือดระหว่าง 3-7 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร ซึ่งถ้ามีระดับกรดยูริกในเลือดมากกว่า 7 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร แสดงว่ามีกรดยูริกในเลือดสูง มีความเสี่ยงอย่างมากที่จะเป็นโรคเก๊าท์

 
อาการปวดของโรคเก๊าท์
         ระยะแรกเริ่มที่เป็น ข้อจะยังไม่ถูกทำลายมาก ทว่าหากนานๆไป ข้อกระดูกก็จะถูกทำลาย มีอาการปวดที่รุนแรงมากขึ้น โดยจะปวด บวม แดง ร้อน โดยเฉพาะบริเวณนิ้วหัวแม่เท้าเป็นข้อที่พบบ่อยที่สุด อาการปวดมักเป็นๆหายๆ หรือเรื้อรัง ทั้นนี้ ข้อที่ปวดพบได้ทุกข้อ แต่พบมากข้อนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ ข้อนิ้วและข้อศอก ในรายที่เป็นมานานอาจพบนิ่วทางเดินปัสสาวะ
         นอกจากนั้น ยังพบว่าผู้ป่วยมักปวดข้อกระดูกตอนกลางคืน และอาการปวดจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆมักจะมีปัจจัยกระตุ้น ได้แก่ การรับประทานอาหารที่ยูริกสูง การดื่มแอลกอฮอล์ ผ่าตัด และความเครียด เป็นต้น

คนเป็นโรคเก๊าท์ กินไก่ หรือสัตว์ปีกได้หรือไม่
         อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่าไก่และสัตว์ปีกจะทำให้อาการของโรคเก๊าท์กำเริบ ทว่าความรุนแรงของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางรายอาจรับประทานสัตว์ปีกและยอดผักได้ แต่บางคนรับประทานแล้วอาการจะกำเริบทุกครั้ง ซึ่งคุณหมอจะแนะนำสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงไปตามลักษณะอาการ

         กระนั้นก็ตาม สิ่งที่ต้องงด ได้แก่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างอื่นสามารถรับประทานได้ แต่ต้องสังเกตุว่าอาหารชนิดไหนที่รับประทานแล้วมีอาการกำเริบ ถ้าไม่มีอาการกำเริบก็รับประทานได้ปกติ แต่อย่าให้บ่อยจนเกินไป ควรบริโภคอาหารที่หลากหลายตามคำแนะนำของแพทย์จึงจะถือเป็นการดี

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

มาดูวิธีการใช้ยาโรคเก๊าท์ที่ถูกต้อง

         ในบรรดาโรคข้ออักเสบทั้งหมด เก๊าท์ (gout) เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเกิดจากการมีกรดยูริกคั่งในร่างกายเป็นระยะเวลานานๆ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นเพศชายอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป ในเพศหญิงพบในวัยหลังหมดประจำเดือน นอกจากนี้การเกิดข้ออักเสบจากโรคเก๊าท์ยังขึ้นอยู่กับสภาวะทางพันธุกรรมและระดับของกรดยูริกในเลือดอีกด้วย
         โดยพบว่าผู้ที่มีกรดยูริกในเลือดสูงและมีประวัติญาติสายตรงเป็นโรคเก๊าท์จะมีความเสี่ยงในการเกิดข้ออักเสบจากโรคเก๊าท์ได้มากกว่าผู้ที่ตรวจพบว่ามีระดับกรดยูริกในเลือดสูงเพียงอย่างเดียว และผู้ป่วยที่ตรวจพบระดับกรดยูริกในเลือดสูงมากๆจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเก๊าท์ได้มากกว่าพวกที่มีระดับกรดยูริกในเลือดสูงเพียงเล็กน้อย
         ทีนี้ปัญหาก็คือผู้ป่วยโรคเก๊าท์จำนวนมากยังไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม เห็นได้จากการที่ผู้ป่วยยังมีข้ออักเสบเฉียบพลันเกิดขึ้นเป็นๆหายๆ ดังนั้น วันนี้เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาโรคเก๊าท์ที่ถูกต้องกัน

การใช้ยาโรคเก๊าท์

         1.การใช้ยาเพื่อระงับข้ออักเสบเฉียบพลัน มีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่ม คือ 1) Colchicine เป็นยาโรคเก๊าท์ที่มีความจำเพาะสำหรับการรักษาข้ออักเสบจากโรคเก๊าท์ ใช้ไม่ค่อยได้ผลในโรคข้ออักเสบชนิดอื่น ขณะที่มีข้ออักเสบกำเริบให้กิน colchicine (0.6 มก.) 1 เม็ดวันละ 3 เวลาในระยะ 1-2 วันแรก ไม่ควรรักษาโดยให้กินยาครั้งละ 1 เม็ดทุก 1-2 ชั่วโมงตามทฤษฎี เพราะผู้ป่วยมักจะเกิดอาการข้างเคียง เช่น ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้และอาเจียน เมื่ออาการเริ่มดีขึ้นให้ลดขนาดและหยุดยา โดยทั่วไปถ้าใช้ยาได้อย่างเหมาะสมอาการจะดีขึ้นเร็วและหยุดยาได้ภายใน 1 สัปดาห์
         และ 2) ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) เป็นยาต้านอักเสบที่ไม่จำเพาะ ใช้รักษาโรคข้ออักเสบได้หลายชนิดรวมทั้งโรคเก๊าท์ด้วย โดยทั่วไปจะใช้ NSAIDs ตัวไหนก็ได้ยกเว้นแอสไพริน และhenylbutazone เนื่องจากยาทั้งสองขนานออกฤทธิ์ต่อระดับกรดยูริกในเลือดซึ่งเป็นฤทธิ์ที่ไม่พึงประสงค์ในการรักษาข้ออักเสบเฉียบพลันจากโรคเก๊าท์ แต่ต้องระวังผลข้างเคียง เช่น ทำให้เกิดแผลหรือเลือดออกในกระเพาะอาหาร มีเกลือและน้ำคั่งในร่างกาย ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
         2.การใช้ยาเพื่อป้องกันไม่ให้ข้ออักเสบกำเริบ ควรพิจารณาให้ในรายที่มีข้ออักเสบกำเริบบ่อย เช่น เกิดข้ออักเสบทุกเดือนหรือปีละหลายๆครั้ง โดยให้กิน colchicine (0.6 mg) 1 เม็ดวันละครั้ง หากข้ออักเสบยังกำเริบบ่อยอาจเพิ่มขนาดยาเป็น 1 เม็ดวันละ 2 เวลาได้ ถ้าผู้ป่วยไม่มีข้ออักเสบกำเริบต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน อาจพิจารณาลดขนาดยาลงหรือหยุดยาได้
         3.การให้ยาลดระดับกรดยูริกในเลือด ควรกระทำหลังจากที่ข้ออักเสบหายสนิทแล้วเท่านั้น คืออยู่ในระยะที่เรียกว่าเป็น intercritical gout ยาที่ใช้มี อยู่ 2 กลุ่มด้วยกันคือ 1) uricosuric drugs เช่น probenecid, sulfinpyrazone และ benzbromarone ยากลุ่มนี้จะเพิ่มการขับกรดยูริกออกทางไต สำหรับ probenecid ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่เป็นนิ่วไต ในรายที่มีการขับกรดยูริกออกมาในปัสสาวะสูง (> 1,000 มก./วัน) หรือ GFR น้อยกว่าร้อยละ 50 
         2) allopurinol เป็นยาต้านการทำงานของเอนไซม์ xanthine oxidase ช่วยลดการสร้างกรดยูริกในร่างกาย ใช้ลดกรดยูริกในรายที่มีการทำงานของไตบกพร่อง มีนิ่วไต ในรายที่มีการขับกรดยูริกออกมาในปัสสาวะสูง ในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ผู้ป่วยที่แพ้ยากลุ่มแรก หรือหลังจากที่ใช้ยากลุ่มแรกแล้วไม่ได้ผล ขนาดยาที่ใช้คือ 100-600 มก.ต่อวัน ให้กินวันละครั้งเดียว

         ระหว่างการให้ยาโรคเก๊าท์นี้ควรติดตามดูระดับกรดยูริกในเลือดเป็นระยะๆ ควบคุมให้ระดับกรดยูริกในเลือดลดต่ำกว่า 5.5 มก./ดล. ในกรณีที่ให้ยาตัวใดตัวหนึ่งในขนาดสูงสุดแล้วยังไม่สามารถทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดลดลงตามที่ต้องการได้ อาจใช้ยา 2 กลุ่มร่วมกัน เช่นให้กิน allopurinol ร่วมกับ benzbromarone ในขนาดต่ำ
         4.การใช้ยาเพื่อควบคุมโรคอื่นๆที่พบร่วมด้วย ในกรณีที่ตรวจพบว่าผู้ป่วยเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือดสูง เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดตาย เส้นเลือดสมองตีบ ไตเสื่อม หรือไตวาย ต้องให้การรักษาควบคู่กันไปกับโรคเก๊าต์ด้วย แต่จะต้องระวัง drug interaction ของยาที่ผู้ป่วยได้รับ
         ตัวอย่างเช่น ระดับกรดยูริกในเลือดอาจเพิ่มสูงขึ้นในรายที่ได้ hydrochlorthiazide เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง และได้แอสไพรินในขนาดต่ำเพื่อรักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดตาย ในทางกลับกันยาที่ใช้ในการรักษาโรคเก๊าต์ก็อาจทำให้โรคประจำตัวของผู้ป่วยทรุดหนักลงได้ เช่น การใช้ NSAID ขนาดสูงเพื่อรักษาข้ออักเสบเฉียบพลันอาจทำให้ไตวายได้ หรือทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุ ในกรณีเช่นนี้อาจต้องหายาอื่นทดแทนหากตัดสินใจว่าผู้ป่วยยังมีความจำเป็นจะต้องกินยาต่อ
         ทั้งหมดนี้คือข้อมูลเกี่ยวกับการยาโรคเก๊าท์ที่ถูกต้องเหมาะสม แม้จะดูเข้าใจยากด้วยข้อมูลทางวิชาการ แต่ก็เป็นสิ่งที่ทุกคนควรทราบจะได้ทำการรักษาอย่างเหมาะสม หากไม่เข้าใจก็ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะจะทำให้การรักษาโรคเก๊าท์สัมฤทธิ์ผลได้ดียิ่งขึ้น

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

โรคเก๊าท์…ใครว่ารักษาให้หายขาดไม่ได้

         เมื่อพูดถึงโรคเก๊าท์หลายคนมักคิดว่าเกิดจากการรับประทานไก่มากๆ จริงๆโรคเก๊าท์คือโรคที่เกิดจากการที่มีระดับของกรดยูริคในเลือดสูง และไปตกเป็นผลึกเรียกว่า ผลึกยูเรท อยู่ตามเนื้อเยื่อต่างๆโดยเฉพาะที่ข้อบริเวณใกล้ข้อและไต การที่จะเกิดการตกเป็นผลึกยูเรทตามเนื้อเยื่อต่างๆได้นั้นขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัย คือระดับกรดยูริคในเลือด และสภาพของเนื้อเยื่อ ซึ่งเอื้อให้เกิดการตกผลึกเป็นผลึกยูเรท
         สภาพเนื้อเยื่อของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ระดับของกรดยูริคในเลือดยิ่งสูงเท่าไหร่ โอกาสตกเป็นผลึกก็มากขึ้น บางคนระดับกรดยูริคในเลือดไม่สูงมาก แต่ก็เกิดการตกเป็นผลึกยูเรทได้เนื่องจากเนื้อเยื่อของคนคนนั้น เอื้ออำนวยให้เกิดการตกเป็นผลึกยูเรท
         โรคเก๊าท์พบได้บ่อย แต่หากได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะได้รับประโยชน์มาก ในทางตรงกันข้ามถ้าไม่ได้รับการรักษา หรือได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง ผู้ป่วยอาจต้องพบกับการพิการทางข้อ และหรือไตวายเรื้อรังได้

         สำหรับคนที่มีระดับกรดยูริคในเลือดมากกว่า 7 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรแต่ไม่มีข้ออักเสบ ไม่มีปุ่มปมของเก๊าท์ที่เรียกว่า “โทฟัส” และไม่มีนิ่วทางเดินปัสสาวะ เราไม่เรียกว่าเป็นโรคเก๊าท์แต่เรียกว่าเป็นบุคคลที่ระดับกรดยูริคสูงชนิดไม่มีอาการ

ใครบ้างที่มีโอกาสเป็นโรคเก๊าท์
         อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่าโรคเก๊าท์พบได้ในเพศชายมากกว่า โดยเฉพาะเมื่ออายุมากกว่า 30 ปี ทั้งนี้ ในเพศหญิงก็มีโอกาสเป็นโรคเก๊าท์ได้ ส่วนใหญ่ก็จะพบแต่ในวัยหมดประจำเดือน ถ้าหากพบโรคเก๊าท์ในเด็กก็ต้องมองหาความผิดปกติของโรคทางพันธุกรรมบางชนิดซึ่งพบได้น้อยมาก โรคนี้พบว่ามีพันธุกรรมมาเกี่ยวข้องด้วย พบโรคเก๊าท์นี้มากในสายเลือดเดียวกัน เช่น พี่เป็น น้องเป็น และพ่อเป็น ลูกเป็น

อาการของโรคเก๊าท์เป็นอย่างไร
         หลายคนอาจจะทราบกันดีว่าโรคเก๊าท์ก่อให้เกิดความเจ็บปวดอย่างรุนแรงตามข้อต่างๆ ขณะที่เก๊าท์กำเริบส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบริเวณหัวแม่เท้า และสามารถเกิดขึ้นในส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้เช่นกัน ในการสำรวจผู้ป่วยโรคเก๊าท์พบว่า เมื่อเป็นมักเกิดการอักเสบเฉียบพลัน กับข้อกระดูกใดข้อกระดูกหนึ่ง ไม่เป็นหลายข้อ ในเวลาเดียวกัน  ได้แก่ หัวแม่เท้า (76%) ข้อเท้าหรือเท้า (50%) เข่า (32%) นิ้ว (25%) ข้อศอก (10%) เป็นมากกว่าหนึ่งข้อ (11%) และข้อมือ (10%)
         แต่ในกรณีที่มีอาการปวดข้อ และสงสัยว่ามีปวด บวม แดง ร้อนหรือไม่ หรือตรวจไม่พบ ไม่ชัดเจน ให้สันนิฐานว่าไม่ใช่โรคเก๊าท์ รายที่เป็นเรื้อรังอาจมีปวดหลายข้อและพบมีปุ่มก้อนที่รอบๆ ข้อ เช่น ข้อเท้า ส้นเท้า ข้อมือ นิ้วมือ เป็นต้น ถ้าก้อนเหล่านี้แตกออกจะพบตะกอนยูริคคล้ายผงชอล์กไหลออกมา การเจาะเลือดตรวจระดับกรดยูริคในเลือด ในช่วงที่มีข้ออักเสบอาจพบว่า สูง ต่ำ หรือเป็นปกติได้

         ดังนั้น หากอาการปวด บวม แดง ร้อน ที่ข้อไม่ชัดเจน และถ้าเป็นบริเวณที่ข้อเท้า แล้วผู้ป่วยเดินได้สบาย แม้ว่าเจาะเลือดแล้วยูริคสูง ก็ให้สงสัยว่าไม่ใช่โรคเก๊าท์ ในทางตรงกันข้ามถ้ามีอาการปวด บวม แดง ร้อนที่ข้อชัดเจน เป็นในตำแหน่งข้อเท้า ข้อนิ้วหัวแม่เท้า เป็นเร็ว แม้ว่าจะเจาะยูริคแล้วไม่สูง ก็น่าจะเป็นโรคเก๊าท์

โรคเก๊าท์ รักษาให้หายขาดได้หรือไม่
         การรักษาโรคเก๊าท์จะต้องประกอบไปด้วยการดูแลตัวเองเพื่อมิให้กรดยูริกขึ้น เช่น การลดอาหารเนื้อสัตว์ ลดสุรา การใช้ยาลดกรดยูริก รับประทานสมุนไพร เป็นต้น นอกเหนือจากนั้น ก็ควรออกกำลังกายแบบแอโรบิกเพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางกายโดยการเดินขี่จักรยาน รำมวยจีน ลีลาศ (ยกเว้นท่าที่สะบัดคอ) ว่ายน้ำ (หลีกเลี่ยงท่ากบ) เป็นต้น โดยออกกำลังกาย สัปดาห์ละ 3-4 วัน วันละ 20-30 นาที
         กระนั้นก็ดี ผู้ป่วยที่มีกระดูกคอเสื่อมควรหลีกเลี่ยงการวิ่งการหมุนคอหรือการกระโดด ซึ่งควรแพทย์พิจารณาก่อนจะเริ่มมีแผนออกกำลังกาย สำหรับคำถามที่ว่าโรคเก๊าท์ สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ คำตอบคือรักษาให้หายได้ โดยผู้ป่วยที่รักษาแล้วจะไม่มีอาการปวดข้ออีกเลยตลอดชีวิต

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.