ทำความรู้จักโรคผิวหนัง เชื้อรา สิ่งใกล้ตัวที่ใครๆก็ร้องอี๋!

         ได้ยินชื่อ “โรคผิวหนัง เชื้อรา” เชื่อว่าท่านผู้อ่านคงร้องอี๋ ด้วยความรู้สึกขยะแขยง เพราะอาการของโรคผิวหนัง เชื้อรา โดยทั่วไปจะมีผื่นและเกิดอาการคัน ซึ่งผื่นที่พบจะเป็นผื่นแดง มีขุย มีขอบนูนเล็กน้อย สร้างความน่ารังเกียจให้แก่ผู้พบเห็น
โรคผิวหนัง เชื้อรา คือการติดเชื้อของเซลล์ผิวชั้นนอก ซึ่งเกิดจากเชื้อราบางชนิด โดยมักเกิดจากการสัมผัสกับเชื้อราผ่านทางพื้นดิน การสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ หรือผ่านทางขนของสัตว์ที่เป็นพาหะ ร่วมกับสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมของผิวหนังของผู้ติดเชื้อ เช่น ผิวหนังที่มีบาดแผล หรือผิวหนังที่เปื่อยยุ่ยจากความอับชื้น โรคผิวหนัง เชื้อราสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายในตำแหน่งที่มีเหงื่อออกมาก อับชื้น การระบายอากาศไม่ค่อยดี โดยมีลักษณะของอาการ ดังนี้

         1.หนังศีรษะ มีรอยเกิดโรคเป็นหย่อมๆบริเวณหนังศีรษะ มีการอักเสบของผิวหนัง และมีขุย ถ้าอักเสบมากๆอาจมีน้ำเหลือง และเส้นผมหักหรือหลุดร่วงได้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
         2.ผิวหนังทั่วไป เช่น ใบหน้า ลำตัว ขาหนีบ แขนขา จะมีลักษณะผื่นเป็นวง ขอบนูนแดง ตรงกลางดูค่อนข้างปกติ แต่เห็นแห้งๆ และมีขุยชัดเจน ผื่นจะลามออกช้าๆ มักมีอาการคันมากพอสมควร
         3.ฝ่ามือฝ่าเท้า จะเห็นเป็นขุยหยาบชัด บางครั้งจะเป็นหนังหนาๆ ถ้ามีอาการอักเสบรุนแรงมากจะเห็นเป็นตุ่มน้ำได้ สำหรับบริเวณง่ามมือมักเกิดเป็นผิวยุ่ยๆ หรือหนังอาจหลุดจนเห็นผิวชั้นในแดงๆ และมักมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย
         4.เล็บ พบหลายแบบ เช่น เล็บขาวหรือเหลืองเป็นบางส่วน มีขุยใต้เล็บ หรือมีการแยกของแผ่นเล็บจากเนื้อด้านล่าง

โรคผิวหนัง เชื้อรา ป้องกันได้อย่างไร
1.หลีกเลี่ยงการใช้ของส่วนตัวร่วมกับคนอื่น อย่างเช่น หวี หมวก รองเท้า ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น
 2.รักษาความสะอาดบริเวณที่อับ เช่น รักแร้ ขาหนีบ ซอกนิ้ว และเมื่ออาบน้ำเสร็จ ควรเช็ดหรือซับผิวให้แห้งก่อนทาแป้ง
3.หมั่นทำความสะอาดรองเท้าและตากแดดเป็นประจำ อย่าปล่อยให้อับชื้นและสกปรก เพราะอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคผิวหนัง เชื้อราที่เท้า
         4.หลังว่ายน้ำหรือออกกำลังกายต้องอาบน้ำและสวมใส่เสื้อผ้าแห้ง
5.อย่าสัมผัสกับพื้นดินที่สกปรก หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรสวมอุปกรณ์ป้องกัน เช่น ถุงมือยาง รองเท้ายาง
 6.รักษาความสะอาดห้องน้ำ อ่างล่างน้ำ ชักโครก หรือเครื่องสุขภัณฑ์
 7.หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่เป็นโรคผิวหนัง เชื้อรา

 

การรักษาโรคผิวหนัง เชื้อรา
 เมื่อพบว่าเริ่มเป็นโรคผิวหนัง เชื้อรา อย่างเช่น กลาก เกลื้อน สังคัง เชื้อราบนหนังศีรษะ ควรปฏิบัติตนดังนี้
         1.รักษาความสะอาดของร่างกายให้ทั่วถึงอย่างสม่ำเสมอ อาบน้ำฟอกสบู่ และเช็ดตัวให้แห้งทุกครั้ง โดยเฉพาะบริเวณซอกรักแร้ ขาหนีบ ซอกนิ้ว
        2.ตัดเล็บมือ เล็บเท้าให้สั้น หมั่นล้างมือให้สะอาด และอย่าแคะแกะเกาผิวหนังที่เกิดโรค เพราะจะทำให้ติดเชื้อได้ง่าย และอาจแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น
        3.ป้องกันการติดเชื้อหรือแพร่กระจาย โดยการแยกเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ส่วนตัวไม่ใช้ปะปนกัน และควรซักทำความสะอาดตากแดดให้แห้งทุกครั้ง
         4.รักษาด้วยยาทาเชื้อราที่ผิวหนัง โดยทั่วไปจะทาวันละ 2-3 ครั้ง ทาติดต่อกันจนกว่าผื่นจะหาย โดยทายาที่เป็นผื่นและบริเวณใกล้เคียงโดยรอบ สำหรับเชื้อราที่เล็บและหนังศีรษะจะยุ่งกว่าที่ผิวหนัง ต้องใช้ยารับประทาน

อย่างไรก็ตาม โรคผิวหนัง เชื้อราอาจต้องใช้เวลาในการรักษาให้หายขาด ซึ่งการติดเชื้อในแต่ละส่วนของร่างกายต้องการเวลาในการรักษาที่แตกต่างกัน เช่น เชื้อราบนหนังศีรษะใช้เวลาในการรักษา 1-3 เดือน ขึ้นกับความรุนแรงของโรค เชื้อราของเล็บใช้เวลาในการักษา 6-12 เดือน ดังนั้น อย่าหยุดยาในขณะที่รู้สึกว่ารอยโรคดีขึ้น เพราะอาจทำให้โรคผิวหนัง เชื้อหากำเริบขึ้นอีกครั้ง โดยหลังจากผื่นหายแล้วควรทำการรักษต่อไปอีกอย่างน้อย 2 สัปดาห์

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.