เส้นเลือดตีบตัน…ภัยเงียบที่ไม่ควรประมาท

         ปัจจุบันมีผู้ป่วยเป็นโรคเส้นเลือดตีบตันเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ ซึ่งมีแนวโน้มสูงมากที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดตามมา โดยในปีที่ผ่านมาพบว่ามีจำนวนผู้เสียชีวิตอันเนื่องมาจากโรคดังกล่าวกว่า 10 ล้านคน และคาดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า จำนวนการตายจะเพิ่มขึ้นเป็น 20 ล้านคน ในจำนวนนี้ 13 ล้านคนมาจากประเทศกำลังพัฒนาและกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก
         สำหรับประเทศไทยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาพบว่า มีอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มสูงขึ้นถึง 20 เท่า โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือ ทั้งนี้ สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่เร่งรีบ การทำงานที่แข่งขันกับเวลา ภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ความดันสูง เบาหวาน ความอ้วน การสูบบุหรี่ การขาดการออกกำลังกาย ความเครียด และอาหาร


เส้นเลือดตีบตัน คืออะไร

         โรคเส้นเลือดตีบในที่นี้ หมายถึงหลอดเลือดแดงขนาดกลาง หรือเส้นใหญ่ มีการสะสมของไขมันและแคลเซียมที่ผนังด้านในของหลอดเลือดแดง เมื่อสะสมมีขนาดใหญ่พอ ก็จะทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะน้อยลง ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน และมีผลทำให้เกิดอาการร้ายแรงตามมา เช่น โรคหลอดเลือดในสมอง หลอดเลือดหัวใจตีบตัน กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น
         โดยสาเหตุทางการแพทย์ยังไม่ทราบทั้งหมด แต่ก็มีข้อสันนิฐานของการเกิดเส้นเลือดตีบตันได้จากการได้ผลกระทบที่ผนังหลอดเลือดแดง (intima) ซึ่งอาจจะเกิดจากแรงดันของความดันโลหิต การอักเสบจากโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกัน โรคติดเชื้อบางชนิดเช่น Chlamydia pneumoniae or Helicobacter pylori) หรือเชื้อไวรัสบางตัวเช่น cytomegalovirus สารเคมีในร่างกาย เช่น ไขมัน Cholesterol น้ำตาล

         เมื่อผนังหลอดเลือดแดงได้รับอันตรายไม่ว่าจะเกิดจากไขมัน หรือการติดเชื้อ ก็จะมีเม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า Monocyte หรือ Macrophage มาจัดการกับสิ่งแปลกปลอมนั้น เมื่อเวลาผ่านไปก็จะเกิดเป็นคราบหรือที่เรียกว่า Plaque ซึ่งจะมีขนาดใหญ่จนบางครั้งอาจจะอุดทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะน้อยลง
         แต่ก็มีบางภาวะโดยเฉพาะคราบที่เกิดใหม่ซึ่งส่วนประกอบของคราบจะเป็นไขมัน โดยที่มีผังผืด Fibrous capsule ไม่แข็งแรง เมื่อเจอภาวะที่แรงดันเลือดสูงทำให้คราบนั้นฉีกขาด ร่างกายก็จะมีเกล็ดเลือด เม็ดเลือดขาวมายังที่เกิดการฉีกขาด ทำให้เกิดลิ่มเลือด Thrombus ซึ่งอาจจะอุดตันเส้นเลือดดังกล่าวหรืออาจจะหลุดลอยไปอุดเส้นเลือดส่วนปลายทำให้เกิดเส้นเลือดตีบตัน

ผลกระทบจากเส้นเลือดตีบตัน
         อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่า หากมีภาวะเส้นเลือดตีบตัน จะทำให้เกิดโรคร้ายแรงตามมามากมาย หนึ่งในโรคที่เป็นกันมากคือ “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน” ซึ่งอาจกว่าได้ว่าเกิดจากความเสื่อมของเส้นเลือด ผลพวงของการมีไขมันและการสะสมของหินปูนไปเกาะเส้นเลือดแดง จนเกิดการอุดตันหรือเส้นเลือด ปริแตกเกิดขึ้น จึงส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง บางรายอาจทำให้เสียชีวิตแบบเฉียบพลันได้ ส่วนเหตุที่ทำให้หลอดเลือดหัวใจเสื่อม เกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน เช่น การสูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน ซึ่งทำให้เส้นเลือดตีบ

         สำหรับการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันที่ได้รับความนิยม คือการขยายหลอดเลือดที่ตีบด้วย บอลลูน และใส่ขดลวดค้ำยัน ในรายที่มีหลอดเลือดตีบหลายตำแหน่ง การรักษาที่เป็นมาตรฐาน มักจะใช้วิธีการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ หรือที่รู้จักกันว่า “การทำบายพาส” นั่นเอง
         เห็นไหมว่าเส้นเลือดตีบตัน เปรียบเสมือนภัยเงียบที่ไม่ควรประมาท ถ้าไม่อยากเผชิญกับโรคร้ายนี้ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่จะเป็นการลดปัจจัยเสี่ยง เช่น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนัก และอาหารการกิน โดยให้รับประทานผัก ผลไม้ รวมถึงอาหารที่มีเส้นใยสูง ที่สำคัญควรหากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด ทำจิตใจให้สบาย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และต้องหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

กลุ่มอาการโรค NCDs ภัยเงียบที่ไร้อาการ ที่คร่าชีวิตคนไทยกว่า 73% ต่อปี

กลุ่มอาการโรค Non-Communicable Diseases (NCDs) หรือ “กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” เป็นชื่อเรียกของกลุ่มโรคที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ ไม่ได้เกิดขึ้นจากเชื้อโรค ทำให้ไม่สามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัส คลุกคลี หรือติดต่อผ่านพาหะนต่างๆ เหมือนกับโรคติดต่อปกติโดยทั่วไป ในอดีตเชื่อกันว่ากลุ่มอาการโรค NCDs เป็น “โรคของคนรวย” แต่ที่จริงแล้ว กลุ่มอาการของโรค NCDs เป็นโรคที่ “คุณสร้างเอง/Life style diseas” หรือ เป็นโรคที่เกิดจากการใช้วิถีชีวิตอย่างไม่ระวัง ซึ่งเป็นโรคที่สามารถพบได้จากกับคนทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะในหมู่ “ผู้สูงอายุ” ที่มักเกิดขึ้นจากการสะสมต้นเหตุของโรคเอาไว้ด้วยการทำร้ายตัวเองตั้งแต่ในวัยหนุ่มสาว แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนที่มีอายุน้อย ก็มีแนวโน้มที่จะป่วยเป็นโรคในกลุ่มอาหาร NCDs สูงมากขึ้นเรื่อยๆ และ 1 ใน 4 ของผู้ที่เสียชีวิต อยู่ในช่วงอายุน้อยกว่ 60 ปี

สาเหตุหลักๆของการเกิดกลุ่มอาการโรค NCDs สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มหลักๆ คือ

  1. พฤติกรรมการใช้ชีวิต มาจากปัจจัยต่างๆภายในร่างกาย ส่วนใหญ่มักเกิดจากลักษณะการใช้ขีวิต ที่นำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย ทานอาหารรสหวาน มัน เค็ม จัดจนเกินไป ความเครียด เป็นต้น
  2. โรคที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานของร่างกาย เป็นโรคที่มักพบในกลุ่มวัยกลางคนขึ้นไป โดยที่ร่างกายเกิดความผิดปกติในการสันดาปอาหารในกลุ่มให้พลังง่น เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน ส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ อย่างเช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น
  3. ปัจจัยอื่นๆ เช่น พันธุกรรม และอายุที่เพิ่มมมากขึ้นจะก่อให้เกิดปัญหาการเสื่อมสภาพของการทำงานอวัยวะต่างๆตามธรรมชาติ

ถึงแม้ว่ากลุ่มอาการโรค NCDs จะเป็นโรคติดต่อไม่เรื้อรัง แต่ถ้าหากไม่ได้รับการควบคุมรักษาอย่างถูกต้อง อาการของโรคเหล่านี้ก็จะค่อยๆรุนแรงมากขึ้นทีละน้อย แต่กลุ่มอาการโรค NCDs สามารถเกิดขึ้นพร้อมๆกันเป็นกลุ่มโรคได้ทีละหลายโรค ดังนั้นในหลายครั้งผู้ป่วยจึงมักมีอาการของโรคที่หลากหลาย และส่งผลต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก

จากการศึกษาขององค์กรอนามัยโลก (WHO) ให้ความสำคัญกับกลุ่มอาการโรค NCDs อยู่ในระดับของปัญหาที่มีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ในปี พ.ศ.2554 กลุ่มอาการโรค NCDs ได้คร่าชีวิตของประชากรโลกโดยรวมมากกว่าสาเหตุการตายอื่นๆรวมกันมากดึง 36.2 ล้านคน ต่อปี  หรือคิดเป็น 63% ของประชากรโลก ที่น่าตกใจคือ กว่า 80% ของผู้ที่เสียชีวิต เกิดขึ้นกับคนที่อยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนาสำหรับในประเทศไทย จากสถิติเมื่อปี พ.ศ.2552 พบว่า มีผู้ป่วยจากกลุ่มอาการโรค NCDs กว่า 14 ล้านคน นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตของประชากรในประเทศไทย มากถึง 300,000 คน หรือคิดเป็น 73% ของผู้ที่เสียชีวิตทั้งหมด สถิติการเสียชีวิตดั่งกล่าว แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตมากกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งโลก และมีแนวโน้มว่าจะสูงมากขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย

6 กลุ่มอาการโรค NCDs ที่มีอัตราผู้ป่วยเสียชีวิตสูงสุด
กลุ่มอาการของโรค NCDs ที่มีอัตราผู้เสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก ได้แก่  โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ คิดเป็น 48% ของผู้เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อทั้งหมด รองลงมาคือโรคมะเร็ง 21% โรคถุงลมโป่งพอง รวมโรคปอดเรื้อรังและหอบหืด 12% และโรคเบาหวาน 4 %

  1. กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ (Cardiovascular & Cerebrovascular Diseases ) ในปี  พ.ศ.2548 ประชากรโลก 17.5 ล้านคน เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ 80% อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา และเป็นประชากรในกลุ่มวัยแรงงาน  ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ทำนายเอาไว้ว่า ในปี พ.ศ.2573 ประชากรโลกจะเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ มากขึ้นเป็นกว่า 23 ล้านคน โดย 85% จะเกิดขึ้นกับประชากรของประเทศที่กำลังพัฒนา
  2. กลุ่มโรคมะเร็ง (Cancer) เป็นกลุ่มของโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริยเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ ด้วยการแบ่งตัวและเจริญเติบโตอย่างที่ไม่สามารถควบคุมได้ จนกลายเป็นเนื้องอกร้าย ที่รุกรานเข้าสู่ร่างกายข้างเคียง มะเร็งอาจสามารถแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนอื่นที่อยู่ห่างไกลออกไปได้ ผ่านระบบน้ำเหลือง หรือกระแสเลือด
  3. กลุ่มโรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema) มีผู้ป่วยกว่า 80 ล้านคน ทั่วโลก และมีอัตราการเสียชีวิตโดยเฉลี่ยถึงปีละ 3 ล้านคน เป็นประชากรไทยเกือบ 1 แสนคน สำหรับสาเหตุหลักๆร้อยละ 90 คือ การสูบบหุรี่ โรคถุงลมโป่งพองจะส่งผลทำให้ปอดมีสภาพคล้ายกับลูกโป่งที่เคยเป่ามาแล้ว ตีบ และแคบ เมื่อทำการหายใจ ทำให้เกิดลมค้างอยู่ที่ปอดบีบออกไม่หมด ทำให้ไม่สามารถหายใจได้เต็มปอด อึดอัด แน่นหน้าอก ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยไม่พอต่อการใช้งาน
  4. กลุ่มโรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus) จากผลสำรวจในปี พ.ศ.2552 พบว่า ประชากรไทยวัยผู้ใหญ่กว่า 6.9 % หรือประมาณ 3.2 ล้านคน มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง โดยเฉพาะประชากรชายที่มีน้ำตาลในเลือดสูง เพียง 56.7% ที่รู้ตัว และมีเพียง 21.1% ที่สามารถควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือดได้
  5. กลุ่มโรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) เมื่อค่าความดันโลหิตตัวบนเท่ากับหรือสูงกว่า 140 มม. ปรอท และค่าความดันโลหิตตัวล่างเท่ากับ หรือสูงกว่า 90 มม. ปรอท จะก่อให้เกิดแรงเลือดกระทำต่อผลนังหลอดเลือดที่มากเกินกว่ามาตราฐาน จากผลสำรวจในปี พ.ศ.2552 พบว่า ประชากรไทยวัยผู้ใหญ่กว่า 21.4 % เป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่มีอัตราของคนที่รับรู้ และการเข้ารับการรักาทางการแพทย์ที่ต่ำ ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตในที่สุด
  6. กลุ่มโรคอ้วนลงพุง (Obesity) เป็นภาวะอ้วน ที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะกับส่วนเอว เนื่องจากมีไขมันสะสมอยู่ในช่องท้องมากจนเกินควร ส่งผงให้หน้าท้องยื่นออกมาอย่างชัดเจน สามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งคนที่มีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน และที่มากกว่ามาตรฐาน ซึ่งโรคอ้วนลงพุง มักที่ตะทำให้เกิดความผิดความผิดปกติอื่นๆของร่างกายร่วมด้วยอีกหลายโรค อาทิเช่น ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และระดับไขมันในเลือดสูง เป็นต้น จากผลสำรวจในปี พ.ศ.2552 พบว่า ประชากรไทยวัยผู้ใหญ่กว่า 19.4 % หรือเกือบ 9 ล้านคน มีภาวะไขมันคอเลสเตอรอลสูง โดยเฉพาะผู้หญิง ซึ่งประชากรไทยเกือบ 1 ใน 3 เข้าข่ายภาวะน้ำหนักเกิน และอีกกว่า 8.5 % เข้าข่ายป่วยเป็นโรคอ้วน และจากการสำรวนสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงของคนไทยที่มีอายุมากกว่า 15 ปี ขึ้นไป พบว่า มีสัดส่วนของผู้ที่เป็นโรคอ้วนในช่วงเวลา 20 ปี ที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเพศชาย ที่เพิ่มอย่างต่อเนื่อง (ปี พ.ศ.2535 – 2552) มากขึ้นถึง 4 เท่า

กลุ่มอาการโรค NCDs ที่มักเกิดขึ้นจากการแทรกซ้อนของโรค
นอกจากกลุ่มอาการของโรค NCDs ที่เสี่ยงต่อการอัตราการเสี่ยงเสียชีวิตสูง 6 อันดับ ดังที่ได้กล่าวถึงไปแล้วในตอนต้น ยังมีโรคอื่นๆ ที่ถูกนับว่าเป็นกลุ่มอาการของโรค NCDs ด้วยเช่นกัน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นอาการแทรกซ้อนที่เกิดร่วมกับกลุ่มอาการของโรค NCDs อื่นๆ เช่น

  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ
  • โรคไต
  • โรคแผลติดเชื้อที่เท้า
  • โรคไขมันอุดตันเส้นเลือด
  • โรคตับแข็ง
  • โรคหลอดเลือกสมองตีบ
  • โรคสมองเสื่อม
  • โรคอัมพาธ
  • โรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล

การดูแลรักษา และป้องกันตัวเองจากกลุ่มโรค NCDs
ถึงแมว่าสถติการป่วยและเสียชีวิตจากกลุ่มโรค NCDs จะสูงมาก แต่ก็สามารถที่จะทำการป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค จากพฤติกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้มากถึง 80% และยังสามารถลดการเกิดโรคมะเร็งได้มาก 40% โดย สารถปฎิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรค NCDs ได้ด้วยตัวเองอย่างง่ายๆ ดังต่อไปนี้

หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกฮออล์ จากาการสำรวจเมื่อปี พ.ศ.2554 พบว่า ปริมาณการดื่มแอลกฮอลล์ของคนไทยมากเป็นอันดับที่ 3 ของเอเชีย เฉลี่ยนคนละ 52 ลิตร ต่อปี เป็นกลุ่มวัยรุ่นมากถึง 17 ล้านคน หรือ คิดเป็น 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด

  1. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ จากาการสำรวจเมื่อปี พ.ศ.2554 พบว่า การสูบบุหรี่ของประชากรไทยอยู่ที่ร้อยละ 21.40 หรือราวๆ 11.5 ล้านคน
  2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายเพียง 150 นาที ต่อสัปดาห์ ลดมะเร็งได้ 80% ลดอ้วนลงพุงได้ 50-90%
  3. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีหวาน มัน เค็มจัด การสำรวจพบว่า ประชากรไทยมีแนวโน้มในการบริโภคอาหารรสจัดเพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อยๆมาโดยตลอด คนไมยบริโภคน้ำตาลมากเกินพิกัด เฉลี่ยวันละ 20 ช้อนชา เกินกว่ามาคาฐานถึง 3 เท่า
  4. รู้จักการรับมือและหลีกเลี่ยงความเครียด
  5. พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่โหมทำงานหนักติดต่อกันหลายชั่วโมงจนเกินไป
  6. ทานอาหารเสริมหรือวิตามินเสริมไปกับอาหารมื้อหลักบ้างเพื่อเติมสารอาหารบ้างส่วนที่ขาดแต่ต้องศึกษาข้อมูลให้แน่ใจด้วย

อย่างไรก็ตาม การรักษาโรค NCDs จำเป็นที่จะต้องรักษาตามอาการของโรคที่เกิดขึ้น และควรได้รับการรักษาจากแพทย์เฉพาะทาง อีกทั้งยังต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรั้งที่มักเป็นตลอดชีวิต และมักมีอาการที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต การงาน และคุณภาพชีวิต เนื่องจากไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถที่จะควบคุมอาการของโรคได้ ด้วยการปรับเปลี่นพฤติกรรม ด้วยการป้องกันไม่ให้เกิดโรคเหล่านี้ ที่ได้ทำการนำไปแล้ว ซึ่งง่ายกว่าการรักษาเป็นอย่างมาก

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

อยากอายุยืนต้องอ่าน โรคหัวใจรั่ว อาการสังเกตอย่างไร

         คงไม่มีใครปฎิเสธว่า หวัวใจเป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญที่สุดของร่างกาย เพราะเมื่อใดก็ตามที่หัวใจหยุดเต้น การทำงานทุกส่วนของร่างกายก็ต้องหยุดตาม ไม่มีแม่แต่ชิ้นเดียวที่สามารถทำงานต่อไปได้ ซึ่งในบรรดาเหล่าโรคภัยที่เกี่ยวข้องกับหัวใจนั้น โรคหัวใจรั่ว อาการนั้นเรียกได้ว่าหนักหนา และหากปล่อยเอาไว้โดยไม่ใส่ใจ ตรวจเช็คให้ดีแล้วล่ะก็ มันก็อาจจะร้ายแรงถึงขนาดทำให้เกิดการเสียชีวิตได้เลยทีเดียว ถ้าหากใครกำลังสงสัยว่าโรคหัวใจรั่ว อาการเป็นอย่างไร? ควรสังเกตอย่างไร เพื่อที่จะช่วยทำให้สังเกตเห็นถึงโรคหัวใจรั่ว อาการต่างๆ เพื่อที่จะได้ทำการรักษาได้อย่างทันท่วงทีแล้วล่ะก็ คุณสามารถติดตามอ่านในบทความชิ้นนี้ เพื่อเป็นการช่วยป้องกันการโจมตีของโรคหัวใจรั่ว อาการต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยตัวเอง

โรคหัวใจรั่ว คืออะไร
ในการไหลเวียนโลหิตเข้าสู่หัวใจนั้น จะมีวาล์ว หรือลิ้นหัวใจ ที่ทำหน้าที่ในการปล่อยให้เลือดมีการไหลไปในทิศทางเดียวกันขณะที่กระแสเลือดทำการไหลเวียนผ่านหัวใจ และยังมีวาล์วที่ทำหน้าที่ปิดเพื่อป้องกันไม่ให้เลือดเหล่านั้นเกิดการไหลย้อนกลับไปในหัวใจ ถ้าหากวาล์วดังกล่าวเกิดการรั่วขึ้นมา แทนที่เลือดจะไหลไปข้างหน้าในทิศทางเดียวกัน เลือดบางส่วนจะเกิดการไหลย้อนกลับวาล์วนั่นเอง ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ถูกเรียกว่าโรคหัวใจรั่วนั่นเอง ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจรั่วนั้น อาจจะเป็นมาตั้งแต่เกิด อาการเจ็บป่วยจากไข้รูมาติก โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจ การติดเชื้อเยื่อบุบหัวใจอักเสบ หรือในบางครั้งก็อาจจะเกิดขึ้นจากบางสาเหตุในช่วงชีวิต แต่หลายๆครั้งสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจรั่วนั้น กลับเกิดขึ้นราวกับปริศนา

โรคหัวใจรั่ว อาการที่แสดงออกมาให้เห็นมีอะไรบ้าง?
 โรคหัวใจรั่ว หรือโรคลิ้นหัวใจรั่วนั้น สำหรับโรคหัวใจรั่ว อาการอาจจะไม่แสดงออกมาให้เห็น แต่สามารถที่จะก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพต่างๆ ทั้งเล็กน้อยและรุนแรง โดยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการรั่ว ว่ารบกวนการไหลเวียนของโลหิตที่ผ่านหัวใจมากน้อยเพียงใด ถ้าหากเป็นอาการรั่วเพียงเล็กน้อย ก็มักจะก่อให้เกิดเพียงอาการมีสุขภาพที่ไม่ดีตามมา
ถ้าหากมีอาการหัวใจรั่วรุนแรงทำให้เกิดอาการหายใจถี่ โดยเฉพาะเวลาที่ออกแรง หรือเมื่อนอนราบ อาการขาบวม วิงเวียนศรีษะ การเต้นของหัวใจรุนแรง อาการเมื่อยล้า เหนื่อยง่ายจนผิดปกติ และถ้าหากอาการรั่วของหัวใจมีมากๆ ก็อาจจะทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวขึ้นได้ หรือก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ

         โดยส่วนใหญ่แล้ว แพทย์จะเป็นผู้ที่ตรวจสอบ และวืนิจฉัยโรคหัวใจรั่ว อาการในขณะนั้นเป็นเช่นไร ด้วยการใช้หูฟังแนบกับหน้าอก เพื่อฟังเสรยงผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหัวใจ รวมทั้งใช้การอุลตร้าซาวน์หัวใจที่เรียกว่า echocardiogram ที่จะช่วยให้แพทย์ทราบว่าโรคหัวใจรั่ว อาการมากน้อยเพียงใด

การรักษาโรคหัวใจรั่ว
 การรักษาโรคหัวใจรั่วนั่น แพทย์มักจะขอให้คุณกลับมาทำการตรวจสอบร่างกายในเวลาหนึ่งปีถัดไป เพื่อสังเกตว่าอาการของคุณนั้นแย่ลงหรือไม่ ซึ่งโรคหัวใจรั่ว สามารถทำการรักษาได้ด้วยการผ่าตัดซ่อมแซม หรือมักทำการทดแทนพื้นที่รั่วด้วยวาล์ว เพื่อป้องกันไม่ให้การทำงานของลิ้นหัวใจรั่ว รวมไปถึงการใช้ยาโดยขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคลิ้นหัวใจรั่วขึ้น นอกจากนี้ยาบางชนิดที่แพทย์แนะนำ ยังสามารถช่วยในการขับน้ำ และปัสสาวะที่สามารถช่วยทำให้อาการขาบวมที่เป็นผลข้างเคียงจากโรคหัวใจรั่วให้ลดน้อยลง

 

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.