โรคเก๊าท์ เกิดจากอะไร วิธีป้องกันและรักษาโรคเก๊าท์

         หลายคนคงรู้จัก “โรคเก๊าท์” กันเป็นอย่างดี เพราะโรคที่มีอาการปวดตามข้อนี้มักเป็นกันมาก จนกลายเป็นเรื่องธรรมดาของคนในบ้าน ทั้งนี้ ผู้ที่กำลังเป็นโรคเก๊าท์ก็อย่าได้หวาดระวางไป เพราะสามารถทำให้อาการคงที่ ลดอาการเจ็บปวดลงได้ จนสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนบุคคลทั่วไป อย่างไรก็ตาม หากเลือกได้คงไม่มีใครอยากเป็นโรคนี้ ดังนั้น เรามาทำความรู้จักกับโรคเก๊าท์ให้มากขึ้นกันดีกว่า จะได้รู้วิธีป้องกัน หลีกเลี่ยงให้ห่างไกลโรค

 
โรคเก๊าท์ เกิดจากอะไร
1.ภาวะที่มีการสร้างกรดยูริกสูง กรดยูริกในเลือดที่สูงในมนุษย์จะเป็นผลมาจากการที่ขาดยีนในการสลายกรดยูริก และยังพบว่ากรดยูริกในร่างกายมนุษย์จะได้มาจาก 2 แหล่ง คือ จากขบวนการสลายสารพิวรีนในร่างกาย โดยการสลายโปรตีนและได้สารพิวรินออกมา ซึ่งกรดยูริกในร่างกายส่วนใหญ่จะเกิดจากกระบวนการนี้ และได้จากอาหารที่รับประทานเข้าไป โดยเฉพาะอาหารที่มีพิวรีนสูง
2.การขับกรดยูริกออกจากร่างกายลดลง กรดยูริกที่สร้างขึ้นจะมีการขับออกจากร่างกาย 2 ทางหลัก คือ ขับออกทางระบบทางเดินอาหาร ซึ่งจะขับออกได้ประมาณ 1 ใน 3 ของปริมาณกรดยูริกที่ร่างกายสร้างได้ในแต่ละวัน อีกทางคือขับออกทางไต โดยขับส่วนที่เหลืออีก 2 ใน 3 เป็นการขับออกทางไต
จากการศึกษาในคนที่เป็นโรคเก๊าท์จะพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 มีความผิดปกติในการขับกรดยูริกออกทางไต กล่าวคือที่ความเข้มข้นของระดับกรดยูริกในเลือดที่เท่ากัน คนที่เป็นโรคเก๊าท์จะมีการขับกรดยูริกออกทางไตได้น้อยกว่าคนปกติที่ไม่มีระดับกรดยูริกในเลือดสูงถึงร้อยละ 40 แสดงให้เห็นว่า ความผิดปกติหลักในผู้ป่วยโรคเก๊าท์อยู่ที่ความผิดปกติในการขับกรดยูริกออกทางไต

 

วิธีป้องกัน โรคเก๊าท์
หลักในการป้องกันพิษภัยจากโรคเก๊าท์ คือการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต โดยเลือกพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการดำเนินชีวิตที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการลดการบริโภคอาหารจำพวกเนื้อและอาหารทะเล การบริโภควิตามินซีอย่างเพียงพอ การจำกัดการบริโภคแอลกอฮอล์และฟรักโทสต ลอดจนการหลีกเลี่ยงโรคอ้วน ซึ่งมีส่วนทำให้เป็นโรคเก๊าท์ได้นั่นเอง ซึ่งพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำในผู้ชายที่เป็นโรคอ้วนสามารถลดระดับกรดยูริกได้ถึง 100 µmol/l (1.7 mg/dl) การบริโภควิตามิน ซีในปริมาณ 1,500 mg ต่อวันลดความเสี่ยงของโรคเกาต์ได้ถึง 45% และการบริโภคกาแฟ (แต่ไม่รวมชา) ช่วยลดความเสี่ยงของโรคเกาต์

การรักษา โรคเก๊าท์
จุดมุ่งหมายเบื้องต้นของการรักษาโรคเก๊าท์คือ ทำอย่างไรให้สามารถระงับอาการกำเริบแบบเฉียบพลันได้ และทำให้อย่างไรให้สามารถป้องกันการกำเริบซ้ำๆ ซึ่งสร้างความทุกข์ทรมานให้แก่ผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ด้วยจุดประสงค์ในการรักษาดังกล่าว สามารถป้องกันได้โดยการใช้ยาชนิดต่างๆ เพื่อลดระดับของกรดยูริก เช่น ยาเม็ดคอลซิซีน (Colchicine) ยาเม็ดโพรเบเนซิด (Probenecid) เพื่อขับยูริค แต่การใช้ยาต้องอยู่ที่ดุลพินิจของแพทย์เท่านั้น
นอกจากนี้ ยังสามารถรักษาด้วยการประคบน้ำแข็งเป็นเวลา 20 ถึง 30 นาที วันละหลายๆครั้ง จะช่วยลดความเจ็บปวดให้ทุเลาลงได้ กระนั้นก็ตาม ทางเลือกสำหรับการรักษาแบบเฉียบพลันได้แก่ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAIDs) โคลชิซีน และสเตอรอยด์

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

โรคเก๊าท์ อาการของโรคเก๊าท์ วิธีดูแล และอาหารที่ควรกิน

         โรคเก๊าท์คืออะไร หลายคนยังไม่รู้ หรืออาจรู้แบบผิดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เชื่อว่ารับประทานไก่มากๆแล้วจะเป็นโรคเก๊าท์ ความคิดแบบนี้ผิดถนัด เพราะจริงๆแล้ว เนื้อไก่หรือสัตว์ปีกจะทำให้เก๊าท์กำเริบเท่านั้น ไม่ได้ทำให้คนปกติทั่วไปเป็นโรคเก๊าท์แต่อย่างใด
         ซึ่งโรคนี้เกิดจากการที่มีระดับของกรดยูริคในเลือดสูง และไปตกเป็นผลึกเรียกว่า ผลึกยูเรท อยู่ตามเนื้อเยื่อต่างๆโดยเฉพาะที่ข้อบริเวณใกล้ข้อและไต การที่จะเกิดการตกเป็นผลึกยูเรทตามเนื้อเยื่อต่างๆได้นั้นขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัย คือระดับกรดยูริคในเลือด และสภาพของเนื้อเยื่อ ซึ่งเอื้อให้เกิดการตกผลึกเป็นผลึกยูเรท
         สำหรับสาเหตุที่ทำให้มีระดับกรดยูริคในเลือดสูงจนเป็นโรคเก๊าท์ ก็คือ 1.อาหารที่รับประทาน เช่น เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ต่างๆ รวมถึงผักบางชนิด และ 2.การสลายตัวของเซลล์ในร่างกาย ดังนั้น คนที่ชอบรับประทานไก่มากๆ ไม่ได้มีความเสี่ยงต่อโรคเก๊าท์อย่างที่เข้าใจกัน

 

อาการของโรคเก๊าท์
         ระยะแรกเริ่มที่เป็นโรคเก๊าท์ ข้อจะยังไม่ถูกทำลายมาก ทว่านานๆไป ข้อกระดูกก็จะถูกทำลาย และมีอาการปวดที่รุนแรงมากขึ้น โดยจะปวด บวม แดง ร้อน โดยเฉพาะบริเวณนิ้วหัวแม่เท้าเป็นข้อที่พบบ่อยที่สุด อาการปวดมักเป็นๆหายๆ หรือเรื้อรัง ทั้งนี้ ข้อที่ปวดพบได้ทุกข้อ แต่พบมากตามข้อนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ ข้อนิ้วและข้อศอก ในรายที่เป็นมานานอาจพบนิ่วทางเดินปัสสาวะ
         นอกจากนั้น ยังพบว่าผู้ป่วยมักปวดข้อกระดูกตอนกลางคืน และอาการปวดจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมักจะมีปัจจัยกระตุ้น ได้แก่ การรับประทานอาหารที่ยูริกสูง การดื่มแอลกอฮอล์ ผ่าตัด และความเครียด เป็นต้น

         อย่างไรก็ตาม หากอาการปวด บวม แดง ร้อน ที่ข้อไม่ชัดเจน และถ้าเป็นบริเวณที่ข้อเท้า แต่ยังสามารถเดินเหินได้สบาย แม้ว่าเจาะเลือดแล้วยูริคสูง ก็สามารถสันนิฐานว่าไม่ใช่โรคเก๊าท์ ในทางตรงกันข้ามถ้ามีอาการปวด บวม แดง ร้อนที่ข้อชัดเจน เป็นในตำแหน่งข้อเท้า ข้อนิ้วหัวแม่เท้า เป็นเร็ว แม้ว่าจะเจาะยูริคแล้วไม่สูง ก็น่าจะเป็นโรคเก๊าท์

วิธีดูแลตัวเอง สำหรับผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์
         1.นอนหลับให้เพียงพอ การที่ร่างกายได้รับการพักผ่อนนอนหลับไม่เพียงพอ จะทำให้เกิดอาการโรคเก๊าท์ชนิดฉับพลันได้ง่าย
         2.สวมรองเท้าขนาดพอเหมาะ จะช่วยลดความชอกช้ำที่ร่างกายได้รับ เช่น จากการสวมรองเท้าที่คับเกินไป จะเป็นสาเหตุให้เกิดอาการโรคเก๊าท์ชนิดเฉียบพลันขึ้นได้
         3.ควบคุมน้ำหนัก การที่น้ำหนักตัวมากเกินไปหรืออ้วนเกินไปจะทำให้การรักษาโรคเก๊าท์ยุ่งยาก ซับซ้อน และอาจทำให้อาการโรครุนแรงยิ่งขึ้น
         4.ดื่มน้ำมากๆ ผู้ป่วยด้วยโรคเก๊าท์มักจะมีก้อนนิ่วเกิดขึ้นในไตได้ง่าย การดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว หรือประมาณ 2 ลิตร จะช่วยบรรเทาอาการปวดข้ออันเนื่องมากจากโรคเก๊าท์ได้มาก
         5.ใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง เมื่อจะเดินทางไกล ควรนำยาติดตัวไปด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงจากปัญหายาหมด ที่สำคัญคือควรใช้ยาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น อย่าหายามารับประทานเองเป็นเด็ดขาด

         6.อย่าเอาความวิตกกังวลไป เพราะความวิตกกังวลจะทำให้เกิดอาการโรคเก๊าท์ชนิดเฉียบพลันขึ้นได้ง่าย
         7.อย่าออกกำลังกายหักโหม ควรปฏิบัติหน้าที่การงานหาความเพลิดเพลิน และออกกำลังกายตามที่ท่านเคยปฏิบัติมา แต่อย่าให้มากเกินไป เพราะอาจส่งผลต่ออาการปวดได้
         8.อย่าปล่อยให้ร่างกายได้รับความเย็นมากเกินไป ผู้ป่วยด้วยโรคเก๊าท์มักทนต่อความเย็นไม่ค่อยได้ ฉะนั้น จึงควรใช้เครื่องนุ่งห่มที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายพอสมควร
         9.รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ โดยควรรับประทานอาหารตามปกติ และให้ร่างกายได้รับคุณค่าอาหารที่เพียงพอ ไม่ควรรับประทานมากเกินไปหรือน้อยเกินไป และไม่ควรรับประทานชนิดของอาหารตามที่แพทย์สั่งห้าม

อาหารที่ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ควร “งด” และควร “รับประทาน”

         การรักษาโรคเก๊าท์จะต้องควบคุมสารพิวรีนในอาหารด้วย ในระยะที่มีความรุนแรงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีพิวรีนสูง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก ปลาดุก อาหารทะเลบางชนิด ปลาซาร์ดีน ปลาไส้ตัน กุ้ง ปลาอินทรีย์ หอยเชลล์ ไข่ปลา กะปิ น้ำต้มกระดูก น้ำสกัดเนื้อ ซุปก้อน เห็ด ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ปลากระป๋องซาร์ดีนหรือแม็คโคเรล ผักยอดอ่อนบางประเภท เช่น กระถิน ชะอม สะเดา ยอดมะพร้าวอ่อน
         สำหรับอาหารที่ส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเก๊าท์รับประทาน ได้แก่ นมและผลิตภัณจากนม ไข่ ผักทั่วไป ผลไม้เกือบทุกชนิด ข้าว ขนมปัง ปลา เนยเหลว และเนยแข็ง ปลาน้ำจืดยกเว้นปลาดุก อาหารเหล่านี้สามารถทานได้ทุกวัน เนื่องจากไม่มีสารพิวรีนอยู่เลย ทำให้อาการปวดจากโรคเก๊าท์ไม่กำเริบ
 

 

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า


AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

กินไก่มากๆ…เป็นโรคเก๊าท์จริงหรือ ?

         หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องที่บอกต่อๆกันเป็นเชิงขบขันว่า หากรับประทานไก่หรือสัตว์ปีกมากๆจะทำให้เป็นโรคเก๊าท์ ซึ่งจริงๆแล้วหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เนื่องจากการรับประทานไก่ เป็ด หรือสัตว์ปีกเป็นประจำ ไม่ได้ทำให้คนปกติกลายเป็นโรคเก๊าต์ แต่จะมีผลกับผู้ป่วยซึ่งเป็นโรคเก๊าต์อยู่แล้วแต่ยังไม่แสดงอาการ หรือมีผลต่อผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงโรคเก๊าท์ได้นั่นเอง หากรับประทานเยอะจนเกินไป
         นอกจากเรื่องการรับประทานไก่แล้ว ท่ามกลางความสับสนมึนงงเกี่ยวกับโรคเก๊าท์ ก็ยังมีคำถามอีกมากมาย บทความนี้ขอทำหน้าที่ไขข้อข้องใจให้คุณเอง ไม่ว่าจะเป็นคำถามว่าที่ จริงๆแล้วโรคเก๊าท์เกิดจากสาเหตุใดกันแน่ แล้วอาการของโรคนี้ร้ายแรงเพียงใด ที่สำคัญคือจะรู้ได้อย่างไรว่าเราตกอยู่ในภาวะเสี่ยงหรือไม่ วันนี้เรามาหาคำตอบกัน


โรคเก๊าท์ คืออะไร

         โรคเก๊าท์ เป็นโรคข้ออักเสบเฉียบพลันซึ่งเกิดจากการที่มีกรดยู ริกสะสมมากกว่าปกติ แล้วตกผลึกในรูปของเกลือยูเรต สะสมตามข้อกระดูกต่างๆ ทำใหเกิดการอักเสบขึ้น อย่างไรก็ตาม นอกจากเราจะพบกรดยูริกตามข้อต่อกระดูกซึ่งทำให้เกิดโรคเก๊าท์แล้ว กรดยูริคยังพบได้ตามส่วนต่างๆของร่างกายอีกด้วย เช่น หากสะสมในผิวหนังก็จะทำให้เกิดผิวหนังปวดบวม หากสะสมและตกผลึกในไตก็จะทำให้เกิดก้อนนิ่วในไต และอาจทำให้เกิดโรคไตวายเรื้อรังได้ ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราจะพบว่าผู้ป่วยเป็นโรคเก๊าท์มักจะมีอาการของโรคอื่นตามมาเสมอ
         ทั้งนี้ ประมาณร้อยละ 80-90 ของผู้ป่วยโรคเกาท๊ มักเป็นเพศชาย ซึ่งส่วนใหญ่มีอาการครั้งแรกในช่วงอายุ 35-45 ปี ส่วนในเพศหญิงจะพบโรคเก๊าท์ในช่วงหลังจากที่ประจำเดือนหมดไปแล้ว

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเก๊าท์
         กรดยูริกเป็นสารชนิดหนึ่งในร่างกายที่สร้างขึ้นที่ตับ ซึ่งเกิดจากการสลายตัวของสารชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า “พิวรีน” สารนี้ในร่างกายได้มาจาก 2 แหล่ง คือ 1.อาหารที่รับประทาน เช่น เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ต่างๆ รวมถึงผักบางชนิด และ 2.การสลายตัวของเซลล์ในร่างกาย
         กรดยูริกที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะถูกขับออกทางไต มีส่วนน้อยที่จะถูกขับออกทางลำไส้ ปกติแล้วคนทั่วไป จะมีกรดยูริกในเลือดระหว่าง 3-7 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร ซึ่งถ้ามีระดับกรดยูริกในเลือดมากกว่า 7 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร แสดงว่ามีกรดยูริกในเลือดสูง มีความเสี่ยงอย่างมากที่จะเป็นโรคเก๊าท์

 
อาการปวดของโรคเก๊าท์
         ระยะแรกเริ่มที่เป็น ข้อจะยังไม่ถูกทำลายมาก ทว่าหากนานๆไป ข้อกระดูกก็จะถูกทำลาย มีอาการปวดที่รุนแรงมากขึ้น โดยจะปวด บวม แดง ร้อน โดยเฉพาะบริเวณนิ้วหัวแม่เท้าเป็นข้อที่พบบ่อยที่สุด อาการปวดมักเป็นๆหายๆ หรือเรื้อรัง ทั้นนี้ ข้อที่ปวดพบได้ทุกข้อ แต่พบมากข้อนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ ข้อนิ้วและข้อศอก ในรายที่เป็นมานานอาจพบนิ่วทางเดินปัสสาวะ
         นอกจากนั้น ยังพบว่าผู้ป่วยมักปวดข้อกระดูกตอนกลางคืน และอาการปวดจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆมักจะมีปัจจัยกระตุ้น ได้แก่ การรับประทานอาหารที่ยูริกสูง การดื่มแอลกอฮอล์ ผ่าตัด และความเครียด เป็นต้น

คนเป็นโรคเก๊าท์ กินไก่ หรือสัตว์ปีกได้หรือไม่
         อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่าไก่และสัตว์ปีกจะทำให้อาการของโรคเก๊าท์กำเริบ ทว่าความรุนแรงของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางรายอาจรับประทานสัตว์ปีกและยอดผักได้ แต่บางคนรับประทานแล้วอาการจะกำเริบทุกครั้ง ซึ่งคุณหมอจะแนะนำสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงไปตามลักษณะอาการ

         กระนั้นก็ตาม สิ่งที่ต้องงด ได้แก่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างอื่นสามารถรับประทานได้ แต่ต้องสังเกตุว่าอาหารชนิดไหนที่รับประทานแล้วมีอาการกำเริบ ถ้าไม่มีอาการกำเริบก็รับประทานได้ปกติ แต่อย่าให้บ่อยจนเกินไป ควรบริโภคอาหารที่หลากหลายตามคำแนะนำของแพทย์จึงจะถือเป็นการดี

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

มาดูวิธีการใช้ยาโรคเก๊าท์ที่ถูกต้อง

         ในบรรดาโรคข้ออักเสบทั้งหมด เก๊าท์ (gout) เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเกิดจากการมีกรดยูริกคั่งในร่างกายเป็นระยะเวลานานๆ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นเพศชายอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป ในเพศหญิงพบในวัยหลังหมดประจำเดือน นอกจากนี้การเกิดข้ออักเสบจากโรคเก๊าท์ยังขึ้นอยู่กับสภาวะทางพันธุกรรมและระดับของกรดยูริกในเลือดอีกด้วย
         โดยพบว่าผู้ที่มีกรดยูริกในเลือดสูงและมีประวัติญาติสายตรงเป็นโรคเก๊าท์จะมีความเสี่ยงในการเกิดข้ออักเสบจากโรคเก๊าท์ได้มากกว่าผู้ที่ตรวจพบว่ามีระดับกรดยูริกในเลือดสูงเพียงอย่างเดียว และผู้ป่วยที่ตรวจพบระดับกรดยูริกในเลือดสูงมากๆจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเก๊าท์ได้มากกว่าพวกที่มีระดับกรดยูริกในเลือดสูงเพียงเล็กน้อย
         ทีนี้ปัญหาก็คือผู้ป่วยโรคเก๊าท์จำนวนมากยังไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม เห็นได้จากการที่ผู้ป่วยยังมีข้ออักเสบเฉียบพลันเกิดขึ้นเป็นๆหายๆ ดังนั้น วันนี้เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาโรคเก๊าท์ที่ถูกต้องกัน

การใช้ยาโรคเก๊าท์

         1.การใช้ยาเพื่อระงับข้ออักเสบเฉียบพลัน มีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่ม คือ 1) Colchicine เป็นยาโรคเก๊าท์ที่มีความจำเพาะสำหรับการรักษาข้ออักเสบจากโรคเก๊าท์ ใช้ไม่ค่อยได้ผลในโรคข้ออักเสบชนิดอื่น ขณะที่มีข้ออักเสบกำเริบให้กิน colchicine (0.6 มก.) 1 เม็ดวันละ 3 เวลาในระยะ 1-2 วันแรก ไม่ควรรักษาโดยให้กินยาครั้งละ 1 เม็ดทุก 1-2 ชั่วโมงตามทฤษฎี เพราะผู้ป่วยมักจะเกิดอาการข้างเคียง เช่น ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้และอาเจียน เมื่ออาการเริ่มดีขึ้นให้ลดขนาดและหยุดยา โดยทั่วไปถ้าใช้ยาได้อย่างเหมาะสมอาการจะดีขึ้นเร็วและหยุดยาได้ภายใน 1 สัปดาห์
         และ 2) ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) เป็นยาต้านอักเสบที่ไม่จำเพาะ ใช้รักษาโรคข้ออักเสบได้หลายชนิดรวมทั้งโรคเก๊าท์ด้วย โดยทั่วไปจะใช้ NSAIDs ตัวไหนก็ได้ยกเว้นแอสไพริน และhenylbutazone เนื่องจากยาทั้งสองขนานออกฤทธิ์ต่อระดับกรดยูริกในเลือดซึ่งเป็นฤทธิ์ที่ไม่พึงประสงค์ในการรักษาข้ออักเสบเฉียบพลันจากโรคเก๊าท์ แต่ต้องระวังผลข้างเคียง เช่น ทำให้เกิดแผลหรือเลือดออกในกระเพาะอาหาร มีเกลือและน้ำคั่งในร่างกาย ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
         2.การใช้ยาเพื่อป้องกันไม่ให้ข้ออักเสบกำเริบ ควรพิจารณาให้ในรายที่มีข้ออักเสบกำเริบบ่อย เช่น เกิดข้ออักเสบทุกเดือนหรือปีละหลายๆครั้ง โดยให้กิน colchicine (0.6 mg) 1 เม็ดวันละครั้ง หากข้ออักเสบยังกำเริบบ่อยอาจเพิ่มขนาดยาเป็น 1 เม็ดวันละ 2 เวลาได้ ถ้าผู้ป่วยไม่มีข้ออักเสบกำเริบต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน อาจพิจารณาลดขนาดยาลงหรือหยุดยาได้
         3.การให้ยาลดระดับกรดยูริกในเลือด ควรกระทำหลังจากที่ข้ออักเสบหายสนิทแล้วเท่านั้น คืออยู่ในระยะที่เรียกว่าเป็น intercritical gout ยาที่ใช้มี อยู่ 2 กลุ่มด้วยกันคือ 1) uricosuric drugs เช่น probenecid, sulfinpyrazone และ benzbromarone ยากลุ่มนี้จะเพิ่มการขับกรดยูริกออกทางไต สำหรับ probenecid ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่เป็นนิ่วไต ในรายที่มีการขับกรดยูริกออกมาในปัสสาวะสูง (> 1,000 มก./วัน) หรือ GFR น้อยกว่าร้อยละ 50 
         2) allopurinol เป็นยาต้านการทำงานของเอนไซม์ xanthine oxidase ช่วยลดการสร้างกรดยูริกในร่างกาย ใช้ลดกรดยูริกในรายที่มีการทำงานของไตบกพร่อง มีนิ่วไต ในรายที่มีการขับกรดยูริกออกมาในปัสสาวะสูง ในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ผู้ป่วยที่แพ้ยากลุ่มแรก หรือหลังจากที่ใช้ยากลุ่มแรกแล้วไม่ได้ผล ขนาดยาที่ใช้คือ 100-600 มก.ต่อวัน ให้กินวันละครั้งเดียว

         ระหว่างการให้ยาโรคเก๊าท์นี้ควรติดตามดูระดับกรดยูริกในเลือดเป็นระยะๆ ควบคุมให้ระดับกรดยูริกในเลือดลดต่ำกว่า 5.5 มก./ดล. ในกรณีที่ให้ยาตัวใดตัวหนึ่งในขนาดสูงสุดแล้วยังไม่สามารถทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดลดลงตามที่ต้องการได้ อาจใช้ยา 2 กลุ่มร่วมกัน เช่นให้กิน allopurinol ร่วมกับ benzbromarone ในขนาดต่ำ
         4.การใช้ยาเพื่อควบคุมโรคอื่นๆที่พบร่วมด้วย ในกรณีที่ตรวจพบว่าผู้ป่วยเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือดสูง เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดตาย เส้นเลือดสมองตีบ ไตเสื่อม หรือไตวาย ต้องให้การรักษาควบคู่กันไปกับโรคเก๊าต์ด้วย แต่จะต้องระวัง drug interaction ของยาที่ผู้ป่วยได้รับ
         ตัวอย่างเช่น ระดับกรดยูริกในเลือดอาจเพิ่มสูงขึ้นในรายที่ได้ hydrochlorthiazide เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง และได้แอสไพรินในขนาดต่ำเพื่อรักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดตาย ในทางกลับกันยาที่ใช้ในการรักษาโรคเก๊าต์ก็อาจทำให้โรคประจำตัวของผู้ป่วยทรุดหนักลงได้ เช่น การใช้ NSAID ขนาดสูงเพื่อรักษาข้ออักเสบเฉียบพลันอาจทำให้ไตวายได้ หรือทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุ ในกรณีเช่นนี้อาจต้องหายาอื่นทดแทนหากตัดสินใจว่าผู้ป่วยยังมีความจำเป็นจะต้องกินยาต่อ
         ทั้งหมดนี้คือข้อมูลเกี่ยวกับการยาโรคเก๊าท์ที่ถูกต้องเหมาะสม แม้จะดูเข้าใจยากด้วยข้อมูลทางวิชาการ แต่ก็เป็นสิ่งที่ทุกคนควรทราบจะได้ทำการรักษาอย่างเหมาะสม หากไม่เข้าใจก็ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะจะทำให้การรักษาโรคเก๊าท์สัมฤทธิ์ผลได้ดียิ่งขึ้น

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

โรคเก๊าท์…ใครว่ารักษาให้หายขาดไม่ได้

         เมื่อพูดถึงโรคเก๊าท์หลายคนมักคิดว่าเกิดจากการรับประทานไก่มากๆ จริงๆโรคเก๊าท์คือโรคที่เกิดจากการที่มีระดับของกรดยูริคในเลือดสูง และไปตกเป็นผลึกเรียกว่า ผลึกยูเรท อยู่ตามเนื้อเยื่อต่างๆโดยเฉพาะที่ข้อบริเวณใกล้ข้อและไต การที่จะเกิดการตกเป็นผลึกยูเรทตามเนื้อเยื่อต่างๆได้นั้นขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัย คือระดับกรดยูริคในเลือด และสภาพของเนื้อเยื่อ ซึ่งเอื้อให้เกิดการตกผลึกเป็นผลึกยูเรท
         สภาพเนื้อเยื่อของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ระดับของกรดยูริคในเลือดยิ่งสูงเท่าไหร่ โอกาสตกเป็นผลึกก็มากขึ้น บางคนระดับกรดยูริคในเลือดไม่สูงมาก แต่ก็เกิดการตกเป็นผลึกยูเรทได้เนื่องจากเนื้อเยื่อของคนคนนั้น เอื้ออำนวยให้เกิดการตกเป็นผลึกยูเรท
         โรคเก๊าท์พบได้บ่อย แต่หากได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะได้รับประโยชน์มาก ในทางตรงกันข้ามถ้าไม่ได้รับการรักษา หรือได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง ผู้ป่วยอาจต้องพบกับการพิการทางข้อ และหรือไตวายเรื้อรังได้

         สำหรับคนที่มีระดับกรดยูริคในเลือดมากกว่า 7 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรแต่ไม่มีข้ออักเสบ ไม่มีปุ่มปมของเก๊าท์ที่เรียกว่า “โทฟัส” และไม่มีนิ่วทางเดินปัสสาวะ เราไม่เรียกว่าเป็นโรคเก๊าท์แต่เรียกว่าเป็นบุคคลที่ระดับกรดยูริคสูงชนิดไม่มีอาการ

ใครบ้างที่มีโอกาสเป็นโรคเก๊าท์
         อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่าโรคเก๊าท์พบได้ในเพศชายมากกว่า โดยเฉพาะเมื่ออายุมากกว่า 30 ปี ทั้งนี้ ในเพศหญิงก็มีโอกาสเป็นโรคเก๊าท์ได้ ส่วนใหญ่ก็จะพบแต่ในวัยหมดประจำเดือน ถ้าหากพบโรคเก๊าท์ในเด็กก็ต้องมองหาความผิดปกติของโรคทางพันธุกรรมบางชนิดซึ่งพบได้น้อยมาก โรคนี้พบว่ามีพันธุกรรมมาเกี่ยวข้องด้วย พบโรคเก๊าท์นี้มากในสายเลือดเดียวกัน เช่น พี่เป็น น้องเป็น และพ่อเป็น ลูกเป็น

อาการของโรคเก๊าท์เป็นอย่างไร
         หลายคนอาจจะทราบกันดีว่าโรคเก๊าท์ก่อให้เกิดความเจ็บปวดอย่างรุนแรงตามข้อต่างๆ ขณะที่เก๊าท์กำเริบส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบริเวณหัวแม่เท้า และสามารถเกิดขึ้นในส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้เช่นกัน ในการสำรวจผู้ป่วยโรคเก๊าท์พบว่า เมื่อเป็นมักเกิดการอักเสบเฉียบพลัน กับข้อกระดูกใดข้อกระดูกหนึ่ง ไม่เป็นหลายข้อ ในเวลาเดียวกัน  ได้แก่ หัวแม่เท้า (76%) ข้อเท้าหรือเท้า (50%) เข่า (32%) นิ้ว (25%) ข้อศอก (10%) เป็นมากกว่าหนึ่งข้อ (11%) และข้อมือ (10%)
         แต่ในกรณีที่มีอาการปวดข้อ และสงสัยว่ามีปวด บวม แดง ร้อนหรือไม่ หรือตรวจไม่พบ ไม่ชัดเจน ให้สันนิฐานว่าไม่ใช่โรคเก๊าท์ รายที่เป็นเรื้อรังอาจมีปวดหลายข้อและพบมีปุ่มก้อนที่รอบๆ ข้อ เช่น ข้อเท้า ส้นเท้า ข้อมือ นิ้วมือ เป็นต้น ถ้าก้อนเหล่านี้แตกออกจะพบตะกอนยูริคคล้ายผงชอล์กไหลออกมา การเจาะเลือดตรวจระดับกรดยูริคในเลือด ในช่วงที่มีข้ออักเสบอาจพบว่า สูง ต่ำ หรือเป็นปกติได้

         ดังนั้น หากอาการปวด บวม แดง ร้อน ที่ข้อไม่ชัดเจน และถ้าเป็นบริเวณที่ข้อเท้า แล้วผู้ป่วยเดินได้สบาย แม้ว่าเจาะเลือดแล้วยูริคสูง ก็ให้สงสัยว่าไม่ใช่โรคเก๊าท์ ในทางตรงกันข้ามถ้ามีอาการปวด บวม แดง ร้อนที่ข้อชัดเจน เป็นในตำแหน่งข้อเท้า ข้อนิ้วหัวแม่เท้า เป็นเร็ว แม้ว่าจะเจาะยูริคแล้วไม่สูง ก็น่าจะเป็นโรคเก๊าท์

โรคเก๊าท์ รักษาให้หายขาดได้หรือไม่
         การรักษาโรคเก๊าท์จะต้องประกอบไปด้วยการดูแลตัวเองเพื่อมิให้กรดยูริกขึ้น เช่น การลดอาหารเนื้อสัตว์ ลดสุรา การใช้ยาลดกรดยูริก รับประทานสมุนไพร เป็นต้น นอกเหนือจากนั้น ก็ควรออกกำลังกายแบบแอโรบิกเพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางกายโดยการเดินขี่จักรยาน รำมวยจีน ลีลาศ (ยกเว้นท่าที่สะบัดคอ) ว่ายน้ำ (หลีกเลี่ยงท่ากบ) เป็นต้น โดยออกกำลังกาย สัปดาห์ละ 3-4 วัน วันละ 20-30 นาที
         กระนั้นก็ดี ผู้ป่วยที่มีกระดูกคอเสื่อมควรหลีกเลี่ยงการวิ่งการหมุนคอหรือการกระโดด ซึ่งควรแพทย์พิจารณาก่อนจะเริ่มมีแผนออกกำลังกาย สำหรับคำถามที่ว่าโรคเก๊าท์ สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ คำตอบคือรักษาให้หายได้ โดยผู้ป่วยที่รักษาแล้วจะไม่มีอาการปวดข้ออีกเลยตลอดชีวิต

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.