โรคเก๊าท์ เกิดจากอะไร วิธีป้องกันและรักษาโรคเก๊าท์

         หลายคนคงรู้จัก “โรคเก๊าท์” กันเป็นอย่างดี เพราะโรคที่มีอาการปวดตามข้อนี้มักเป็นกันมาก จนกลายเป็นเรื่องธรรมดาของคนในบ้าน ทั้งนี้ ผู้ที่กำลังเป็นโรคเก๊าท์ก็อย่าได้หวาดระวางไป เพราะสามารถทำให้อาการคงที่ ลดอาการเจ็บปวดลงได้ จนสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนบุคคลทั่วไป อย่างไรก็ตาม หากเลือกได้คงไม่มีใครอยากเป็นโรคนี้ ดังนั้น เรามาทำความรู้จักกับโรคเก๊าท์ให้มากขึ้นกันดีกว่า จะได้รู้วิธีป้องกัน หลีกเลี่ยงให้ห่างไกลโรค

 
โรคเก๊าท์ เกิดจากอะไร
1.ภาวะที่มีการสร้างกรดยูริกสูง กรดยูริกในเลือดที่สูงในมนุษย์จะเป็นผลมาจากการที่ขาดยีนในการสลายกรดยูริก และยังพบว่ากรดยูริกในร่างกายมนุษย์จะได้มาจาก 2 แหล่ง คือ จากขบวนการสลายสารพิวรีนในร่างกาย โดยการสลายโปรตีนและได้สารพิวรินออกมา ซึ่งกรดยูริกในร่างกายส่วนใหญ่จะเกิดจากกระบวนการนี้ และได้จากอาหารที่รับประทานเข้าไป โดยเฉพาะอาหารที่มีพิวรีนสูง
2.การขับกรดยูริกออกจากร่างกายลดลง กรดยูริกที่สร้างขึ้นจะมีการขับออกจากร่างกาย 2 ทางหลัก คือ ขับออกทางระบบทางเดินอาหาร ซึ่งจะขับออกได้ประมาณ 1 ใน 3 ของปริมาณกรดยูริกที่ร่างกายสร้างได้ในแต่ละวัน อีกทางคือขับออกทางไต โดยขับส่วนที่เหลืออีก 2 ใน 3 เป็นการขับออกทางไต
จากการศึกษาในคนที่เป็นโรคเก๊าท์จะพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 มีความผิดปกติในการขับกรดยูริกออกทางไต กล่าวคือที่ความเข้มข้นของระดับกรดยูริกในเลือดที่เท่ากัน คนที่เป็นโรคเก๊าท์จะมีการขับกรดยูริกออกทางไตได้น้อยกว่าคนปกติที่ไม่มีระดับกรดยูริกในเลือดสูงถึงร้อยละ 40 แสดงให้เห็นว่า ความผิดปกติหลักในผู้ป่วยโรคเก๊าท์อยู่ที่ความผิดปกติในการขับกรดยูริกออกทางไต

 

วิธีป้องกัน โรคเก๊าท์
หลักในการป้องกันพิษภัยจากโรคเก๊าท์ คือการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต โดยเลือกพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการดำเนินชีวิตที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการลดการบริโภคอาหารจำพวกเนื้อและอาหารทะเล การบริโภควิตามินซีอย่างเพียงพอ การจำกัดการบริโภคแอลกอฮอล์และฟรักโทสต ลอดจนการหลีกเลี่ยงโรคอ้วน ซึ่งมีส่วนทำให้เป็นโรคเก๊าท์ได้นั่นเอง ซึ่งพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำในผู้ชายที่เป็นโรคอ้วนสามารถลดระดับกรดยูริกได้ถึง 100 µmol/l (1.7 mg/dl) การบริโภควิตามิน ซีในปริมาณ 1,500 mg ต่อวันลดความเสี่ยงของโรคเกาต์ได้ถึง 45% และการบริโภคกาแฟ (แต่ไม่รวมชา) ช่วยลดความเสี่ยงของโรคเกาต์

การรักษา โรคเก๊าท์
จุดมุ่งหมายเบื้องต้นของการรักษาโรคเก๊าท์คือ ทำอย่างไรให้สามารถระงับอาการกำเริบแบบเฉียบพลันได้ และทำให้อย่างไรให้สามารถป้องกันการกำเริบซ้ำๆ ซึ่งสร้างความทุกข์ทรมานให้แก่ผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ด้วยจุดประสงค์ในการรักษาดังกล่าว สามารถป้องกันได้โดยการใช้ยาชนิดต่างๆ เพื่อลดระดับของกรดยูริก เช่น ยาเม็ดคอลซิซีน (Colchicine) ยาเม็ดโพรเบเนซิด (Probenecid) เพื่อขับยูริค แต่การใช้ยาต้องอยู่ที่ดุลพินิจของแพทย์เท่านั้น
นอกจากนี้ ยังสามารถรักษาด้วยการประคบน้ำแข็งเป็นเวลา 20 ถึง 30 นาที วันละหลายๆครั้ง จะช่วยลดความเจ็บปวดให้ทุเลาลงได้ กระนั้นก็ตาม ทางเลือกสำหรับการรักษาแบบเฉียบพลันได้แก่ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAIDs) โคลชิซีน และสเตอรอยด์

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

โรคเก๊าท์ อาการของโรคเก๊าท์ วิธีดูแล และอาหารที่ควรกิน

         โรคเก๊าท์คืออะไร หลายคนยังไม่รู้ หรืออาจรู้แบบผิดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เชื่อว่ารับประทานไก่มากๆแล้วจะเป็นโรคเก๊าท์ ความคิดแบบนี้ผิดถนัด เพราะจริงๆแล้ว เนื้อไก่หรือสัตว์ปีกจะทำให้เก๊าท์กำเริบเท่านั้น ไม่ได้ทำให้คนปกติทั่วไปเป็นโรคเก๊าท์แต่อย่างใด
         ซึ่งโรคนี้เกิดจากการที่มีระดับของกรดยูริคในเลือดสูง และไปตกเป็นผลึกเรียกว่า ผลึกยูเรท อยู่ตามเนื้อเยื่อต่างๆโดยเฉพาะที่ข้อบริเวณใกล้ข้อและไต การที่จะเกิดการตกเป็นผลึกยูเรทตามเนื้อเยื่อต่างๆได้นั้นขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัย คือระดับกรดยูริคในเลือด และสภาพของเนื้อเยื่อ ซึ่งเอื้อให้เกิดการตกผลึกเป็นผลึกยูเรท
         สำหรับสาเหตุที่ทำให้มีระดับกรดยูริคในเลือดสูงจนเป็นโรคเก๊าท์ ก็คือ 1.อาหารที่รับประทาน เช่น เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ต่างๆ รวมถึงผักบางชนิด และ 2.การสลายตัวของเซลล์ในร่างกาย ดังนั้น คนที่ชอบรับประทานไก่มากๆ ไม่ได้มีความเสี่ยงต่อโรคเก๊าท์อย่างที่เข้าใจกัน

 

อาการของโรคเก๊าท์
         ระยะแรกเริ่มที่เป็นโรคเก๊าท์ ข้อจะยังไม่ถูกทำลายมาก ทว่านานๆไป ข้อกระดูกก็จะถูกทำลาย และมีอาการปวดที่รุนแรงมากขึ้น โดยจะปวด บวม แดง ร้อน โดยเฉพาะบริเวณนิ้วหัวแม่เท้าเป็นข้อที่พบบ่อยที่สุด อาการปวดมักเป็นๆหายๆ หรือเรื้อรัง ทั้งนี้ ข้อที่ปวดพบได้ทุกข้อ แต่พบมากตามข้อนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ ข้อนิ้วและข้อศอก ในรายที่เป็นมานานอาจพบนิ่วทางเดินปัสสาวะ
         นอกจากนั้น ยังพบว่าผู้ป่วยมักปวดข้อกระดูกตอนกลางคืน และอาการปวดจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมักจะมีปัจจัยกระตุ้น ได้แก่ การรับประทานอาหารที่ยูริกสูง การดื่มแอลกอฮอล์ ผ่าตัด และความเครียด เป็นต้น

         อย่างไรก็ตาม หากอาการปวด บวม แดง ร้อน ที่ข้อไม่ชัดเจน และถ้าเป็นบริเวณที่ข้อเท้า แต่ยังสามารถเดินเหินได้สบาย แม้ว่าเจาะเลือดแล้วยูริคสูง ก็สามารถสันนิฐานว่าไม่ใช่โรคเก๊าท์ ในทางตรงกันข้ามถ้ามีอาการปวด บวม แดง ร้อนที่ข้อชัดเจน เป็นในตำแหน่งข้อเท้า ข้อนิ้วหัวแม่เท้า เป็นเร็ว แม้ว่าจะเจาะยูริคแล้วไม่สูง ก็น่าจะเป็นโรคเก๊าท์

วิธีดูแลตัวเอง สำหรับผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์
         1.นอนหลับให้เพียงพอ การที่ร่างกายได้รับการพักผ่อนนอนหลับไม่เพียงพอ จะทำให้เกิดอาการโรคเก๊าท์ชนิดฉับพลันได้ง่าย
         2.สวมรองเท้าขนาดพอเหมาะ จะช่วยลดความชอกช้ำที่ร่างกายได้รับ เช่น จากการสวมรองเท้าที่คับเกินไป จะเป็นสาเหตุให้เกิดอาการโรคเก๊าท์ชนิดเฉียบพลันขึ้นได้
         3.ควบคุมน้ำหนัก การที่น้ำหนักตัวมากเกินไปหรืออ้วนเกินไปจะทำให้การรักษาโรคเก๊าท์ยุ่งยาก ซับซ้อน และอาจทำให้อาการโรครุนแรงยิ่งขึ้น
         4.ดื่มน้ำมากๆ ผู้ป่วยด้วยโรคเก๊าท์มักจะมีก้อนนิ่วเกิดขึ้นในไตได้ง่าย การดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว หรือประมาณ 2 ลิตร จะช่วยบรรเทาอาการปวดข้ออันเนื่องมากจากโรคเก๊าท์ได้มาก
         5.ใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง เมื่อจะเดินทางไกล ควรนำยาติดตัวไปด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงจากปัญหายาหมด ที่สำคัญคือควรใช้ยาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น อย่าหายามารับประทานเองเป็นเด็ดขาด

         6.อย่าเอาความวิตกกังวลไป เพราะความวิตกกังวลจะทำให้เกิดอาการโรคเก๊าท์ชนิดเฉียบพลันขึ้นได้ง่าย
         7.อย่าออกกำลังกายหักโหม ควรปฏิบัติหน้าที่การงานหาความเพลิดเพลิน และออกกำลังกายตามที่ท่านเคยปฏิบัติมา แต่อย่าให้มากเกินไป เพราะอาจส่งผลต่ออาการปวดได้
         8.อย่าปล่อยให้ร่างกายได้รับความเย็นมากเกินไป ผู้ป่วยด้วยโรคเก๊าท์มักทนต่อความเย็นไม่ค่อยได้ ฉะนั้น จึงควรใช้เครื่องนุ่งห่มที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายพอสมควร
         9.รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ โดยควรรับประทานอาหารตามปกติ และให้ร่างกายได้รับคุณค่าอาหารที่เพียงพอ ไม่ควรรับประทานมากเกินไปหรือน้อยเกินไป และไม่ควรรับประทานชนิดของอาหารตามที่แพทย์สั่งห้าม

อาหารที่ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ควร “งด” และควร “รับประทาน”

         การรักษาโรคเก๊าท์จะต้องควบคุมสารพิวรีนในอาหารด้วย ในระยะที่มีความรุนแรงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีพิวรีนสูง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก ปลาดุก อาหารทะเลบางชนิด ปลาซาร์ดีน ปลาไส้ตัน กุ้ง ปลาอินทรีย์ หอยเชลล์ ไข่ปลา กะปิ น้ำต้มกระดูก น้ำสกัดเนื้อ ซุปก้อน เห็ด ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ปลากระป๋องซาร์ดีนหรือแม็คโคเรล ผักยอดอ่อนบางประเภท เช่น กระถิน ชะอม สะเดา ยอดมะพร้าวอ่อน
         สำหรับอาหารที่ส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเก๊าท์รับประทาน ได้แก่ นมและผลิตภัณจากนม ไข่ ผักทั่วไป ผลไม้เกือบทุกชนิด ข้าว ขนมปัง ปลา เนยเหลว และเนยแข็ง ปลาน้ำจืดยกเว้นปลาดุก อาหารเหล่านี้สามารถทานได้ทุกวัน เนื่องจากไม่มีสารพิวรีนอยู่เลย ทำให้อาการปวดจากโรคเก๊าท์ไม่กำเริบ
 

 

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า


AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.