การใช้ยาโรคไตที่ถูกต้อง

         เมื่อเกิดโรคต่างๆขึ้นแล้ว สิ่งแรกที่คนเรามักนึกถึงก็คือการหายามารับประทาน อย่างเช่น เมื่อเริ่มมีอาการปวดหัวตัวร้อน ก็จัดการรับประทานยาพารา หรือยาลดไข้ เป็นต้น ทั้งนี้ สำหรับยาโรคไต ไม่ว่าจะเป็นไตวายเรื้อรัง โรคถุงน้ำที่ไต โรคไตอักเสบ และอื่นๆที่เกี่ยวกับไต จำเป็นต้องได้รับการรักษาและการใช้ยาโรคไตที่ถูกต้อง เพราะไตเป็นอวัยวะสำคัญและมีความละเอียดอ่อน หากขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาก็อาจส่งผลเสียต่อไต หรือยิ่งทำให้อาการทรุดหนักได้


ข้อมูลเกี่ยวกับยาโรคไตที่ควรทราบ

         1.ชื่อยาและขนาดยาที่ใช้ ยาบางรายการแพทย์จะพิจารณาปรับขนาดยาตามค่าการทำงานของไต หากผู้ป่วยโรคไตได้รับยาที่ถูกขจัดออกโดยไตในขนาดเท่ากับคนปกติ อาจเกิดการสะสมของยาในร่างกายจนก่อให้เกิดผลข้างเคียงจากยาและเกิดพิษต่อไตตามมาได้ ผู้ป่วยจึงควรให้ความสำคัญกับชื่อยา ลักษณะเม็ดยา ขนาดยา และวิธีที่รับประทานต่อวันเพื่อความปลอดภัยในการใช้ยาของผู้ป่วยเอง
         2.วัตถุประสงค์ของการใช้ยา ยาโรคไตบางชนิดมีหลายข้อบ่งใช้ ผู้ป่วยควรทราบข้อบ่งใช้และยาที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อตนเอง ตลอดจนผลที่คาดหวังจากการใช้ยา
         3.วิธีการรับประทานยาและข้อควรระวัง ยาบางรายการมีวิธีการรับประทานยาที่แตกต่างไป ยาบางรายการมีขนาดและระยะเวลารับประทานซึ่งแพทย์ได้พิจารณาจากผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ อาจมีการปรับขนาดยาลงหรือเพิ่มขนาดยามากขึ้นในแต่ละครั้งที่ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจรักษา ผู้ป่วยจึงควรสอบถามข้อมูลจากแพทย์และเภสัชกรให้ละเอียด

 
ตัวอย่างยาที่อาจส่งผลเสียต่อไต
         1.ยาแก้ปวดลดการอักเสบ ยากลุ่มนี้ไม่ใช่สเตียรอยด์ ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ ไอบูโพรเฟน ไดโคลฟีแนค อินโดเมทาซิน นาโปรเซน และซีลีคอกซิบ เป็นต้น ซึ่งผลข้างเคียงอาจทำให้เกิดอาการบวม ความดันโลหิตสูง อันเป็นผลมาจากการคั่งของน้ำและเกลือในร่างกาย และยังมีผลทำให้การทำงานของไตลดลงด้วย จึงควรหลีกเลี่ยงงการใช้ยากลุ่มนี้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
         2.ยาหรือพืชสมุนไพรบางชนิด ปัจจุบันมีการนำยาสมุนไพรมาใช้อย่างแพร่หลาย ซึ่งอาจต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากข้อมูลการศึกษาของสมุนไพรในผู้ป่วยโรคไตยังมีน้อย และยังขาดการตรวจสอบด้านมาตรฐานในการผลิต นำมาซึ่งสารพิษและสิ่งเจือปน มีผลทำให้การทำงานของไตลดลงได้
         3.สารทึบรังสี (Contrast media) บางครั้งผู้ป่วยโรคไตอาจมีความจำเป็นต้องทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องได้รับสารทึบรังสีเข้าสู่ร่างกายทางหลอดเลือดดำ อันจะส่งผลให้การทำงานของไตลดลงเฉียบพลัน ดังนั้น ก่อนเอกซเรย์ทุกครั้งควรแจ้งให้รังสีแพทย์ทราบว่ามีโรคไต เพื่อจะได้ให้การป้องกันไม่ให้การทำงานของไตเสื่อมลง
         4.ยาปฏิชีวนะ ที่มีผลทำให้ไตเสื่อมการทำงาน เช่น ยา Gentamicin และ Amikacin การได้รับยากลุ่มนี้อาจทำให้การทำงานของไตลดลง และยาปฏิชีวนะบางตัวจะต้องมีการปรับลดขนาดยาลงในผู้ป่วยโรตไตเรื้อรัง ดังนั้น จึงไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง


คำแนะนำในการใช้ยาโรคไต

         ผู้ป่วยโรคไตต้องเข้าใจว่าการใช้ยาโรคไต มีเป้าหมายเพื่อชะลอการเสื่อมของไต และป้องกันและรักษาภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ฉะนั้น ผู้ป่วย ญาติ หรือผู้ดูแล ควรแจ้งให้แพทย์และทีมรักษาทราบถึงรายการยา อาหารเสริม วิตามิน สมุนไพรที่ผู้ป่วยได้รับอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากยาและสมุนไพรบางชนิดอาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยารักษาโรคไตที่ผู้ป่วยใช้อยู่ หรืออาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อไตได้ ส่วนวิตามินบางรายการอาจเกิดการสะสมในร่างกายเนื่องจากไตไม่สามารถทำหน้าที่ขจัดวิตามินเหล่านั้นออกได้ตามปกติ
         ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการซื้อยา อาหารเสริม วิตามิน และสมุนไพรมารับประทานเอง ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนทุกครั้ง และในแต่ละครั้งที่เข้าพบแพทย์ อาจมีการปรับเปลี่ยนขนาดยาที่ได้รับอยู่เดิม ดังนั้นผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแลควรสอบถามแพทย์ถึงระยะเวลาการรับประทานยาและขนาดยาที่ปรับเปลี่ยนไปในแต่ละครั้ง และควรยึดวิธีการรับประทานยาตามการใช้ยาครั้งใหม่ เพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการรักษาโรคไต

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

โรคไต…โรคร้ายที่ไม่มีใครอยากเป็น

         ทราบหรือมไม่ โรคไตนับเป็นปัญหาอันดับต้นๆของระบบสาธารณสุขทั่วโลก ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจำนวน 8 ล้านคน มีผู้ป่วยรายใหม่ปีละประมาณ 1 หมื่นคน และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ต้องการการรักษาด้วยวิธีบำบัดทดแทนไต เช่น การฟอกเลือดทำไตเทียมการล้างไตทางช่องท้อง และการปลูกถ่ายไต รวม 4 หมื่นคน
         และข้อมูลสถิติที่น่าสนใจของผู้ป่วยโรคไตคือ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลด้วยวิธีบำบัดทดแทนไต ต้องใช้งบประมาณ 2 แสนบาทต่อคนต่อปี คำนวณค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยทั้งประเทศจะสูงถึง 4-6 พันล้านบาท นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังต้องรับภาระค่ายา ค่าพาหนะ และคุณภาพชีวิตที่ไม่สมบูรณ์ มีความทุกข์ทั้งกายและใจอีกด้วย เห็นไหมว่าโรคไตเป็นอีกหนึ่งโรคร้ายที่เป็นกันมาก และมีค่าใช้จ่ายแพงหูฉี่เลยทีเดียว


โรคไต คืออะไร

         เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องเราควรทราบกันก่อนว่า โรคไต หมายถึงโรคอะไรก็ได้ที่มีความผิดปกติหรือที่เรียกว่า “พยาธิสภาพ” เกิดที่บริเวณไต ที่พบมาก ได้แก่ โรคไตวายฉับพลันจากเหตุต่างๆ โรคไตวายเรื้อรังเกิดตามหลังโรคเบาหวาน โรคไตอักเสบ หรือโรคความดันโลหิตสูง โรคไตอักเสบเนโฟรติก โรคไตอักเสบจากภาวะภูมิคุ้มกันสับสน (โรค เอส.แอล.อี.) โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และโรคถุงน้ำที่ไต (Polycystic Kidney Disease)

อาการของผู้ป่วยโรคไต
         ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไตแต่ละชนิด จะมีอาการแตกต่างกันไป แต่ส่วนมากมักจะปัสสาวะเป็นเลือด อาจเป็นเลือดสดๆ เลือดเป็นลิ่มๆ ปัสสาวะเป็นสีแดง สีน้ำล้างเนื้อ สีชาแก่ๆ หรือปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้มก็ได้ ปัสสาวะเป็นฟองมาก เพราะมี albumin หรือโปรตีนออกมามาก จะทำให้ปัสสาวะมีฟองขาวๆเหมือนฟองสบู่ รวมทั้งการมีปัสสาวะเป็นเลือด พร้อมกับมีไข่ขาว-โปรตีนออกมาในปัสสาวะพร้อมๆกัน ก็เป็นข้อสันนิฐานที่มีน้ำหนักมากว่าจะเป็นโรคไต
         นอกจากนี้ หากปัสสาวะเป็นสีขุ่น อาจเกิดจากมี เม็ดเลือดแดง (ปัสสาวะเป็นเลือด) เม็ดเลือดขาว (มีการอักเสบ) มีเชื้อแบคทีเรีย (แสดงว่ามีการติดเชื้อ) หรืออาจเกิดจากสิ่งที่ร่างกายขับออกจากไต แต่ละลายได้ไม่ดี เช่น พวกผลึกคริสตัลต่างๆ เป็นต้น และความผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ เช่น การถ่ายปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบ ปัสสาวะราด เบ่งปัสสาวะ อาการเหล่านี้ล้วนเป็นอาการผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก และท่อทางเดินปัสสาวะ

         สำหรับใครที่มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง (colicky pain) ร่วมกับการมีปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่น หรือมีกรวดทราย แสดงว่าเป็นนิ่วในไต และทางเดินปัสสาวะ มีก้อนบริเวณไต หรือบริเวณบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง อาจเป็นโรคไต เป็นถุงน้ำการอุดตันของไต หรือเนื้องอกของไต
         อาการปวดหลังมักเกิดในกรณีที่เป็นกรวยไตอักเสบ จะมีอาการไข้หนาวสั่น และปวดหลังบริเวณไต คือ บริเวณสันหลังใต้ซี่โครงซีกสุดท้าย อาการบวม โดยเฉพาะการบวมที่บริเวณหนังตาในตอนเช้า หรือหน้าบวม ซึ่งถ้าเป็นมาก จะมีอาการบวมทั่วตัว อาจเกิดได้ในโรคไตหลายชนิด แต่ที่พบได้บ่อย โรคไตอักเสบชนิดเนฟโฟรติค ซินโดรม (Nephrotic Syndrome)
         ส่วนกรณีที่มีความดันโลหิตสูง อาจเกิดจากไตสร้างสารควบคุมความดันโลหิต ประกอบกับไตมีหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำ และเกลือแร่ในร่างกาย เพราะฉะนั้นความดันโลหิตสูงอาจเป็นเพราะโรคไตโดยตรง หรือในระยะไตวายมากๆ ความดันโลหิตก็จะสูง ได้
         หากพบว่าตัวเองมีอาการดังกล่าวก็อาจเข้าข่ายเป็นผู้ป่วยโรคไตได้ ดังนั้น จึงควรไปพบแพทย์เพื่อทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด เอ็กซ์เรย์ จึงจะพอบอกได้แน่นอนขึ้น ว่าเป็นโรคไตหรือไม่ ถ้าผลตรวจออกมาว่าเป็นโรคไตจะได้ทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ แต่หากไม่ใช่ ก็จะได้หาวิธีป้องกันโรคร้ายนี้ต่อไป

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.