กลุ่มอาการ โรค NCDs ภัยเงียบไร้อาการ ที่คร่าชีวิตคนไทยกว่า 73% ต่อปี

         กลุ่มอาการโรค Non-Communicable Diseases (NCDs) หรือ “กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” เป็นชื่อเรียกของกลุ่มโรคที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ ไม่ได้เกิดขึ้นจากเชื้อโรค ทำให้ไม่สามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัส คลุกคลี หรือติดต่อผ่านพาหะนต่างๆ เหมือนกับโรคติดต่อปกติโดยทั่วไป ในอดีตเชื่อกันว่ากลุ่มอาการโรค NCDs เป็น “โรคของคนรวย” แต่ที่จริงแล้ว กลุ่มอาการของโรค NCDs เป็นโรคที่ “คุณสร้างเอง/Life style diseas” หรือ เป็นโรคที่เกิดจากการใช้วิถีชีวิตอย่างไม่ระวัง ซึ่งเป็นโรคที่สามารถพบได้จากกับคนทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะในหมู่ “ผู้สูงอายุ” ที่มักเกิดขึ้นจากการสะสมต้นเหตุของโรคเอาไว้ด้วยการทำร้ายตัวเองตั้งแต่ในวัยหนุ่มสาว แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนที่มีอายุน้อย ก็มีแนวโน้มที่จะป่วยเป็นโรคในกลุ่มอาหาร NCDs สูงมากขึ้นเรื่อยๆ และ 1 ใน 4 ของผู้ที่เสียชีวิต อยู่ในช่วงอายุน้อยกว่ 60 ปี

สาเหตุหลักๆของการเกิดกลุ่มอาการโรค NCDs สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มหลักๆ คือ
         1.พฤติกรรมการใช้ชีวิต มาจากปัจจัยต่างๆภายในร่างกาย ส่วนใหญ่มักเกิดจากลักษณะการใช้ขีวิต ที่นำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย ทานอาหารรสหวาน มัน เค็ม จัดจนเกินไป ความเครียด เป็นต้น
         2.โรคที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานของร่างกาย เป็นโรคที่มักพบในกลุ่มวัยกลางคนขึ้นไป โดยที่ร่างกายเกิดความผิดปกติในการสันดาปอาหารในกลุ่มให้พลังง่น เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน ส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ อย่างเช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น
         3.ปัจจัยอื่นๆ เช่น พันธุกรรม และอายุที่เพิ่มมมากขึ้นจะก่อให้เกิดปัญหาการเสื่อมสภาพของการทำงานอวัยวะต่างๆตามธรรมชาติ
ถึงแม้ว่ากลุ่มอาการโรค NCDs จะเป็นโรคติดต่อไม่เรื้อรัง แต่ถ้าหากไม่ได้รับการควบคุมรักษาอย่างถูกต้อง อาการของโรคเหล่านี้ก็จะค่อยๆรุนแรงมากขึ้นทีละน้อย แต่กลุ่มอาการโรค NCDs สามารถเกิดขึ้นพร้อมๆกันเป็นกลุ่มโรคได้ทีละหลายโรค ดังนั้นในหลายครั้งผู้ป่วยจึงมักมีอาการของโรคที่หลากหลาย และส่งผลต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก
 จากการศึกษาขององค์กรอนามัยโลก (WHO) ให้ความสำคัญกับกลุ่มอาการโรค NCDs อยู่ในระดับของปัญหาที่มีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ในปี พ.ศ.2554 กลุ่มอาการโรค NCDs ได้คร่าชีวิตของประชากรโลกโดยรวมมากกว่าสาเหตุการตายอื่นๆรวมกันมากดึง 36.2 ล้านคน ต่อปี  หรือคิดเป็น 63% ของประชากรโลก ที่น่าตกใจคือ กว่า 80% ของผู้ที่เสียชีวิต เกิดขึ้นกับคนที่อยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนาสำหรับในประเทศไทย จากสถิติเมื่อปี พ.ศ.2552 พบว่า มีผู้ป่วยจากกลุ่มอาการโรค NCDs กว่า 14 ล้านคน นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตของประชากรในประเทศไทย มากถึง 300,000 คน หรือคิดเป็น 73% ของผู้ที่เสียชีวิตทั้งหมด สถิติการเสียชีวิตดั่งกล่าว แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตมากกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งโลก และมีแนวโน้มว่าจะสูงมากขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย

6 กลุ่มอาการโรค NCDs ที่มีอัตราผู้ป่วยเสียชีวิตสูงสุด
 กลุ่มอาการของโรค NCDs ที่มีอัตราผู้เสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก ได้แก่  โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ คิดเป็น 48% ของผู้เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อทั้งหมด รองลงมาคือโรคมะเร็ง 21% โรคถุงลมโป่งพอง รวมโรคปอดเรื้อรังและหอบหืด 12% และโรคเบาหวาน 4 %
         1.กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ (Cardiovascular & Cerebrovascular Diseases ) ในปี  พ.ศ.2548 ประชากรโลก 17.5 ล้านคน เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ 80% อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา และเป็นประชากรในกลุ่มวัยแรงงาน  ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ทำนายเอาไว้ว่า ในปี พ.ศ.2573 ประชากรโลกจะเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ มากขึ้นเป็นกว่า 23 ล้านคน โดย 85% จะเกิดขึ้นกับประชากรของประเทศที่กำลังพัฒนา
         2.กลุ่มโรคมะเร็ง (Cancer) เป็นกลุ่มของโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริยเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ ด้วยการแบ่งตัวและเจริญเติบโตอย่างที่ไม่สามารถควบคุมได้ จนกลายเป็นเนื้องอกร้าย ที่รุกรานเข้าสู่ร่างกายข้างเคียง มะเร็งอาจสามารถแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนอื่นที่อยู่ห่างไกลออกไปได้ ผ่านระบบน้ำเหลือง หรือกระแสเลือด
         3.กลุ่มโรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema) มีผู้ป่วยกว่า 80 ล้านคน ทั่วโลก และมีอัตราการเสียชีวิตโดยเฉลี่ยถึงปีละ 3 ล้านคน เป็นประชากรไทยเกือบ 1 แสนคน สำหรับสาเหตุหลักๆร้อยละ 90 คือ การสูบบหุรี่ โรคถุงลมโป่งพองจะส่งผลทำให้ปอดมีสภาพคล้ายกับลูกโป่งที่เคยเป่ามาแล้ว ตีบ และแคบ เมื่อทำการหายใจ ทำให้เกิดลมค้างอยู่ที่ปอดบีบออกไม่หมด ทำให้ไม่สามารถหายใจได้เต็มปอด อึดอัด แน่นหน้าอก ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยไม่พอต่อการใช้งาน
         4.กลุ่มโรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus) จากผลสำรวจในปี พ.ศ.2552 พบว่า ประชากรไทยวัยผู้ใหญ่กว่า 6.9 % หรือประมาณ 3.2 ล้านคน มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง โดยเฉพาะประชากรชายที่มีน้ำตาลในเลือดสูง เพียง 56.7% ที่รู้ตัว และมีเพียง 21.1% ที่สามารถควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือดได้
         5.กลุ่มโรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) เมื่อค่าความดันโลหิตตัวบนเท่ากับหรือสูงกว่า 140 มม. ปรอท และค่าความดันโลหิตตัวล่างเท่ากับ หรือสูงกว่า 90 มม. ปรอท จะก่อให้เกิดแรงเลือดกระทำต่อผลนังหลอดเลือดที่มากเกินกว่ามาตราฐาน จากผลสำรวจในปี พ.ศ.2552 พบว่า ประชากรไทยวัยผู้ใหญ่กว่า 21.4 % เป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่มีอัตราของคนที่รับรู้ และการเข้ารับการรักาทางการแพทย์ที่ต่ำ ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตในที่สุด
         6.กลุ่มโรคอ้วนลงพุง (Obesity) เป็นภาวะอ้วน ที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะกับส่วนเอว เนื่องจากมีไขมันสะสมอยู่ในช่องท้องมากจนเกินควร ส่งผงให้หน้าท้องยื่นออกมาอย่างชัดเจน สามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งคนที่มีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน และที่มากกว่ามาตรฐาน ซึ่งโรคอ้วนลงพุง มักที่ตะทำให้เกิดความผิดความผิดปกติอื่นๆของร่างกายร่วมด้วยอีกหลายโรค อาทิเช่น ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และระดับไขมันในเลือดสูง เป็นต้น จากผลสำรวจในปี พ.ศ.2552 พบว่า ประชากรไทยวัยผู้ใหญ่กว่า 19.4 % หรือเกือบ 9 ล้านคน มีภาวะไขมันคอเลสเตอรอลสูง โดยเฉพาะผู้หญิง ซึ่งประชากรไทยเกือบ 1 ใน 3 เข้าข่ายภาวะน้ำหนักเกิน และอีกกว่า 8.5 % เข้าข่ายป่วยเป็นโรคอ้วน และจากการสำรวนสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงของคนไทยที่มีอายุมากกว่า 15 ปี ขึ้นไป พบว่า มีสัดส่วนของผู้ที่เป็นโรคอ้วนในช่วงเวลา 20 ปี ที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเพศชาย ที่เพิ่มอย่างต่อเนื่อง (ปี พ.ศ.2535 – 2552) มากขึ้นถึง 4 เท่า

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.