โรคออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) คืออะไร แก้ไขยังไง

         วันนี้เราจะพูดถึงโรคออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) ซึ่งมักเกิดขึ้นกับคนวัยทำงานโดยไม่รู้ตัว ด้วยอิริยาบถและสภาพแวดล้อมในที่ทำงานที่ไม่เหมาะสม ทำผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ ได้แก่ หลัง ไหล่ บ่า แขน ข้อมือ เป็นอาทิ โดยเฉพาะการกระดกข้อมือขึ้นลงซ้ำๆจากแป้นคีย์บอร์ดและการคลิกเมาส์ จึงเกิดการอักเสบบริเวณเส้นเอ็นได้ง่าย รวมทั้งเกิดภาวะพังผืดหนา มีอาการชาบริเวณนิ้วและข้อมือ ที่สำคัญคือความเครียดเป็นตัวบ่มเพาะโรคนี้ให้รุนแรงมากขึ้น เช่น มีอาการปวดศีรษะ ปวดตา หน้ามืด เป็นต้น


โรคออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) คืออะไร

         โรคออฟฟิศซินโดรม คือภาวะที่มักเกิดกับคนทำงานตามออฟฟิศ หรือแม้แต่คนที่ทำงานอยู่กับบ้านก็ตาม โดยเกิดจากการทำงานหรือใช้ชีวิต นั่ง เดิน เคลื่อนไหวร่างกายในท่าทางอิริยาบถที่ไม่ถูกลักษณะ ผิดท่าที่เหมาะที่ควร บ่อยครั้ง เป็นเวลานานๆ โดยอยู่ในท่าเดิมหลายชั่วโมง ซึ่งท่าทางลักษณะเหล่านี้จะทำให้มีอาการปวดเมื่อยล้าตรงกล้ามเนื้อ จะรู้สึกเกร็งเหมือนกล้ามเนื้อถูกดึงรั้ง ที่น่ากลัวคือนานวันเข้าจากอาการแค่ปวดกล้ามเนื้อ อาจกลายเป็นกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง ปวดเจ็บตามอวัยวะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแขนขา ข้อมือ ไหล่ หลัง ซึ่งปวดมากหรือปวดน้อยก็แล้วแต่การสะสมของโรค
         ขณะที่บางรายอาจจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น สายตาพร่ามัว ตาแห้ง ระคายเคือง ปวดศีรษะ ปวดไมเกรน หรือบางรายที่มีอาการรุนแรงมากๆ ก็อาจทำให้มีอาการหมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือเกิดกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งส่วนใหญ่พอนานวันเข้า ก็มักจบด้วยการไปโรงหมอเพราะทนอาการเจ็บป่วยจากโรคออฟฟิศซินโดรมไม่ไหว


โรคออฟฟิศซินโดรม รักษาได้อย่างไร

         หลายคนเมื่อไปพบหมอแล้ว มักจะมีการสอบถามอาการและทำการวินิจฉัยสาเหตุ ซึ่งโดยหลักๆก็แบ่งเป็น 2 แนวทางคือ รักษาที่สาเหตุ สามารถทำได้ทั้งแบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด และอีกแนวทางคือการรักษาเพื่อบรรเทาอาการ เช่น การรับประทานยา การฉีดยา หรืออาจมีการทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย
         อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่อยากให้โรคออฟฟิศซินโดรมส่งผลรุนแรง จนต้องถึงมือหมอ คุณควรทำงานให้ถูกอิริยาบถ โดยเฉพาะเวลานั่งควรให้หลังชิดติดพนัก และอย่าให้หลังงอคอตกเป็นอันขาด นอกจากนี้ยังควรพักสายตาและปรับเปลี่ยนไปทำกิจกรรมอื่นๆบ้าง เพื่อให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายและรู้สึกไม่เครียดจนเกินไป เช่น เดินไปดื่มน้ำทุกๆครึ่งชั่วโมง เป็นต้น


ท่าบริหาร บำบัดโรคออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome)

         เพื่อเป็นการเอาใจคนทำงานออฟฟิศโดยเฉพาะ วันนี้เราได้นำ “6 ท่าสู้อาการปวด ออฟฟิศซินโดรม” มาให้ท่านผู้อ่านได้นำไปใช้กัน จะได้ไม่ต้องทุกข์ทรมานกับอาการปวดที่รุนแรง และจะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อให้รู้สึกดีขึ้นมากทีเดียว
         โดยข้อมูลจาก ASTV ผู้จัดการ นายชิษณุพงศ์ ยะอ้อน นักวิทยาศาสตร์กายภาพ ระบุว่า ท่าบริหารจัดโครงสร้างและยืดหยุ่นร่างกายอย่างถูกวิธี สามารถช่วยให้หนุ่มสาวออฟฟิศบรรเทาอาการปวดเฉพาะส่วนซึ่งเกิดจากโรคออฟฟิศซินโดรมได้ ซึ่งท่าบริหารอย่างง่ายที่สามารถนำไปปฏิบัติตามที่ทำงานได้ง่ายและบ่อยครั้ง มีทั้งหมด 6 ท่า ซึ่งจะช่วยเพิ่มสมรรถนะและความยืดหยุ่น รวมถึงผ่อนคลายกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เช่น คอ ไหล่ สะบัก หลัง และขา

         ท่าที่ 1 บริหารต้นคอ เริ่มต้นด้วยการไขว้แขนขวาไปด้านหลัง เอียงคอไปด้านซ้าย แล้วเอื้อมมือซ้ายข้ามศีรษะไปวางแนบด้านข้างของศีรษะด้านขวา แล้วทำเช่นเดียวกันนี้กับอีกข้างหนึ่ง
         ท่าที่ 2 บริหารบ่าและไหล่ ยืนตัวตรง ประสานมือเหยียดแขนไปข้างหน้า ก้มศีรษะพร้อมกับยืดตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย ค้างไว้แล้วนับ 1-10
         ท่าที่ 3 บริหารสะบักและหน้าอก ยืนตัวตรง กางแขนทั้งสองข้างออกในลักษณะตั้งฉาก แล้วค่อยๆ ดึงแขนไปด้านหลัง
         ท่าที่ 4 บริหารขาด้านหลังและหลังส่วนล่าง ยืนตัวตรง ชูแขนทั้งสองข้างเหนือศีรษะ แล้วค่อยๆ ก้มตัวลงเอามือทั้งสองข้างวางแนบพื้นหรือแตะปลายเท้า โดยไม่งอเข่า
         ท่าที่ 5 บริหารขาด้านหลัง น่อง และหลังส่วนล่าง ทำต่อเนื่องจากท่าที่ 4 โดยยังอยู่ในท่าก้มตัว สอดมือทั้งสองไว้ด้านหลัง หัวเข่า แล้วค่อยๆ งอเข่าทั้งสองข้าง ค้างไว้แล้วนับ 1-10
         ท่าที่ 6 บริหารหลังส่วนล่าง ยืนตัวตรง ยกแขนทั้งสองข้างเหนือศีรษะ ประสานมือเอาไว้ แล้วค่อยๆ เอนตัวไปด้านหลัง

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

ปรับพฤติกรรม ป้องกัน ‘office syndrome’

         เชื่อว่าหลายคนโดยเฉพาะหนุ่มสาววัยทำงานคงคุ้นหูกับคำว่า “ออฟฟิศ ซินโดรม” (office syndrome) กันเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อยในคนใช้ชีวิตการทำงานอยู่แต่ในออฟฟิศ ที่สภาพแวดล้อมในที่ทำงานไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการนั่งทำงานตลอดเวลา อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ และปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ เช่น หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ ส่วนบางรายที่มีอาการของหมอนรองกระดูกเคลื่อนอยู่แล้ว หากทำงานในอริยาบทที่ผิดจะทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้น
         อย่างไรก็ตาม มีการสำรวจพนักงานออฟฟิศในประเทศฝั่งยุโรป พบว่าส่วนใหญ่ต้องปรึกษาแพทย์ด้วยอาการต่างๆ ได้แก่อาการปวดหลัง ปวดบริเวณคอ/ไหล่ และปวดศีรษะตามลำดับ ซึ่งเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับภาวะ office syndrome และยังพบว่ากลุ่มคนทำงานอายุระหว่าง 16-24 ปี มีความเสี่ยงของการเกิดภาวะดังกล่าวสูงถึงร้อยละ 55

ภาวะ office syndrome เกิดขึ้นได้อย่างไร

         office syndrome เกิดจากการทำงานหนัก ประกอบกับอิริยาบถในการทำงานไม่เหมาะสม ทั้งนั่งหลังค่อม การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ บางคนมากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบท นอกจากนี้ ปัญหาความเครียดก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะ office syndrome ได้ โดยพบสูงถึงร้อยละ 80 สำหรับในบ้านเราเคยมีการสำรวจในคนทำงานที่สำนักพิมพ์แห่งหนึ่งจำนวน 400 คนพบว่าร้อยละ 60 มีภาวะดังกล่าว
         ไม่เพียงแค่นั้น สภาพโต๊ะทำงานยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิด office syndrome โดยโต๊ะทำงานที่ไม่เป็นระเบียบ ไม่สะดวกต่อการหยิบสิ่งของ เก้าอี้ไม่เหมาะสม ไม่มีพนักพิงที่รองรับหลังอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการกดแป้นคียบอร์ดที่ไม่มีตัวรองรับข้อมือ จะทำให้มีการกระดกข้อมือขึ้นลงซ้ำๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการอักเสบบริเวณเส้นเอ็น รวมทั้งเกิดภาวะพังผืดหนา ทำให้เกิดอาการชาบริเวณนิ้ว และข้อมือได้

10 โรคยอดนิยมสำหรับคนทำงานออฟฟิศ

         การตกอยู่ในภาวะ office syndrome นอกจากจะทำให้สุขภาพร่างกายค่อยทรุดโทรมลงแล้ว ยังเป็นต้นเหตุของโรคต่างๆมากมาย โดย 10 โรคยอดนิยมสำหรับคนทำงานออฟฟิศ ที่อยู่ในภาวะ office syndrome มีดังนี้
         1.นิ่วในถุง น้ำดี
         2.กระเพาะ ปัสสาวะอักเสบ
         3.โรคเครียด นอนไม่หลับ
         4.ความดัน โลหิตสูง
         5.โรคอ้วน
         6.กรดไหลย้อน
         7.ปวดหลัง เรื้อรัง
         8.ไมเกรน ปวดศีรษะเรื้อรัง
         9.มือชา เอ็น อักเสบ นิ้วล็อก
         10.ต้อหิน ตาพร่ามัว

พฤติกรรมที่ควรปรับปรุง เพื่อป้องกันการเกิด office Syndrome
         1.นั่งไขว่ห้าง น้ำหนักตัวจะถูกกดทับลงข้างใดข้างหนึ่ง เมื่อกดทับเป็นเวลานาน สามารถทำให้กระดูกสันหลังเราคดได้
         2.นั่งกอดอก จะทำให้หลังช่วงบน สะบัก และหัวไหล่ ถูกยืดยาวออก หลังช่วงบนค่อมและงุ้มไปด้านหน้า ทำให้กระดูกคอยื่นไปด้านหน้า มีผล ต่อเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงแขน อาจทำให้มืออ่อนแรงและชาได้
         3.นั่งหลังงอ หลังค่อม เช่น การนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ เป็นชั่วโมง ๆ จะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งค้าง เกิดการคั่งของกรดแลคติค มีอาการ เมื่อยล้า ปวด และมีปัญหาเรื่องกระดูกผิดรูปตามมา
         4.นั่งเบาะเก้าอี้ไม่เต็มก้น จะทำให้กล้ามเนื้อหลังทำงานหนัก เพราะฐานในการรับน้ำหนักตัวในสมดุล

         5.ยืนพักลงน้ำหนักด้วยขาข้างเดียว การยืนที่ถูกต้อง ควรลงน้ำหนักที่ขาทั้ง 2 ข้างให้เท่ากัน โดยให้ขายืนกว้างกว่าสะโพก จึงจะทำให้เกิดความ สมดุลของโครงสร้างร่างกาย6.การยืนแอ่นพุง/หลังค่อม ควรยืนหลังตรง แขม่วท้องเล็กน้อย เพื่อเป็นการรักษาแนวกระดูกช่วงล่างไม่ให้แอ่น และไม่ทำให้ปวดหลัง
         7.ใส่ส้นสูงเกินนิ้วครึ่ง จะทำให้กระดูกสันหลังช่วงล่างแอ่นมากกว่าปกติ ซึ่งนำมาสู่อาการปวดหลังได้
         8.สะพายกระเป๋าหนักข้างเดียว ไม่ควรสะพายกระเป๋าหนักข้างใดข้างหนึ่งเป็นเวลานาน ควรเปลี่ยนเป็นการถือกระเป๋า โดยใช้ร่างกายทั้งสองข้าง ให้เท่า ๆ กัน อย่าใช้แค่ข้างใดข้างหนึ่งตลอด เพราะจะทำให้เกิดการทำงานหนักอยู่ข้างเดียว ส่งผลให้กระดูกสันหลังคดได้
         9.หิ้วของหนักด้วยนิ้วบ่อยๆ จะมีผลทำให้เกิดพังผืดยึดตามข้อนิ้วมือ ทำให้เกิดอาการนิ้วล็อคได้
         10.การขดตัวหรือนอนตัวเอียง ท่านอนหงายเป็นท่าที่ถูกต้องที่สุด ควรนอนให้ศีรษะอยู่ในแนวระนาบ หมอนหนุนศีรษะต้องไม่แข็งหรือนิ่มเกินไป ควรมีหมอนรองใต้เข่า เพื่อลดความแอ่นของกระดูกสันหลังช่วงล้าง หากจำเป็นต้องนอนตะแคงให้หาหมอนข้างก่ายโดยให้ขาก่ายทั้งหมดอยู่บนหมอนข้าง เพื่อรักษาแนวกระดูกให้อยู่ในแนว ตรง

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.