ข้ออักเสบเรื้อรัง รักษา ยังไง ได้ผลดี

         โรคข้ออักเสบอาจเกิดจากการเสื่อมสภาพตามปกติของข้อต่อ หรือจากการบาดเจ็บ การอักเสบ การติดเชื้อ หรือไม่ปรากฏสาเหตุแน่ชัด ทั้งนี้ อาการข้อต่ออักเสบโดยทั่วไปอาจส่งผลไม่รุนแรงมาก แต่หัวข้อที่เราจะมาพูดถึงในวันนี้ก็คือ “อาการข้ออักเสบเรื้อรัง” หรือที่รู้จักกันในชื่อ “รูมาตอยด์” ซึ่งเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงบรรเทาให้อาการคงที่เท่านั้น      
         อย่างไรก็ตาม เมื่อเป็นข้ออักเสบเรื้อรังแล้วไปพบแพทย์ ส่วนใหญ่จะแพทย์จะใช้ยาต้านอาการอักเสบเพื่อทำให้การปวดทุเลาลง แต่ในบางกรณีอาจต้องมีการผ่าตัด และทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย นอกจากนั้นการจะอยู่ร่วมกับโรคข้ออักเสบเรื้อรังไปอย่างปกติ จำเป็นต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในการบำรุงข้อ โดยเราได้นำข้อมูลมาจากนิตยสาร Health&Cuisine ดังนี้

 

รักษาข้ออักเสบเรื้อรัง ด้วยอาหารบรรเทาอาการปวดข้อ
         1.กรดโอเมกา 3 มีผลต้านการอักเสบในร่างกาย โดยโอเมกา 3 ที่ได้จากอาหารทะเลมีกรดอีพีเอและดีเอชเอ ซึ่งลดการอักเสบของไขข้อ ผลวิจัยพบว่าการเพิ่มกรดโอเมกา 3 ในอาหาร มีผลโดยตรงในการลด ซี–รีแอคทีฟโปรตีนซึ่งกระตุ้นการอักเสบ อาหารที่มีกรดโอเมกา 3 สูง ได้แก่ ปลาทะเล (แซลมอน ทูน่า เทร้าส์ แมคเคอเรล) วอลนัท เต้าหู้ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง แฟลกซ์สีด น้ำมันจากเมล็ดแฟลกซ์สีด และน้ำมันคาโนลา น้ำมันปลา
         2.สารฟลาโวนอยด์ ช่วยต้านเชื้อไวรัส ต้านการอักเสบ และลดการเกิดโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมของร่างกาย เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ไขข้อ เป็นต้น สารฟราโวนอยด์พบในชาเขียว กระเทียม แอ๊ปเปิ้ล เบอร์รี่ ผลไม้ตระกูลส้ม และหอมหัวใหญ่

         3.กรดโฟลิกหรือโฟเลต หรือวิตามินบี 9 พบมากในตับ และผักสีเขียว เช่น ผักโขม ผักคะน้า ส่วนผลไม้ พบมากในส้มและแคนตาลูป ผู้ป่วยโรคไขข้อควรเสริมวิตามินชนิดนี้เพราะมีส่วนช่วยสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่กินยาเมทโธเทรกเซท (Methotrexate) จำเป็นต้องเสริมกรดโฟลิกเพื่อบรรเทาอาการปวดหรืออักเสบ
         4.ซีลีเนียม ช่วยลดอนุมูลอิสระที่จะทำลายเนื้อเยื่อที่แข็งแรง และช่วยเสริมการทำงานของเอนไซม์ชนิดกลูตาไธโอนเพอร็อกซิเดสที่ต่อสู้กับการอักเสบ ผลวิจัยพบว่า คนที่มีระดับซีลีเนียมต่ำจะมีความเสี่ยงเกิดโรครูมาตอยด์มากขึ้น การกินทูน่าประมาณ 100 กรัม จะช่วยให้ได้รับซีลีเนียมเพียงพอตลอดทั้งวัน

         5.วิตามินซี มีประโยชน์ต่อเนื้อเยื่อภายในข้อและมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ พบได้ในผลไม้ประเภทส้ม พริกไทย สตรอว์เบอร์รี่ เป็นต้น
         6.วิตามินดีและแคลเซียม ควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินดีและแคลเซียมให้เพียงพอ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องใช้ยาประเภทคอร์ติสเตียรอยด์ ซึ่งทำให้เนื้อกระดูกและระดับวิตามินดีในเลือดต่ำ มีผลให้ข้อเสื่อมเร็วขึ้น อาหารที่มีวิตามินดีสูง ได้แก่ น้ำมันตับปลา เนย ครีม ไข่แดง ตับ และอาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ ผักใบเขียวจัด เช่น บรอคโคลี ปลาซาร์ดีนและแซลมอนกระป๋อง (ทั้งกระดูก) นมและผลิตภัณฑ์นม เต้าหู้
         7.แอลกอฮอล์ มีงานวิจัยในปี 2008 สรุปว่า แอลกอฮอล์ช่วยป้องกันโรคไขข้อ แต่ไม่ได้ระบุถึงปริมาณที่แนะนำ กระนั้นก็ดี ผู้ที่รับประทานยาเมทโธเทรกเซทควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์เพราะอาจมีผลข้างเคียงต่อตับ

 

 

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

รูมาตอยด์ อาการ สาเหตุ และการรักษา ที่ได้ผล

         รูมาตอยด์คือะไร หลายคนอาจยังไม่เคยรู้ หรืออาจรู้แบบผิดๆ เนื่องจากไม่เคยสัมผัสกับตัวเอง (ถ้าเลือกได้คงไม่มีใครอยากเป็น) แต่ทั้งนี้ รูมาตอยด์ถือเป็นโรคที่ไม่เข้าใครออกใคร ไม่เลือกอายุและเพศ พูดง่ายๆคือใครก็สามารถเป็นได้ ที่สำคัญคือหากได้เป็นแล้วจะรักษาไม่หาย คงสงสัยกันแล้วใช่ไหมว่าเจ้ารูมาตอยด์มันคืออะไรกันแน่
         รูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเด่นคือ มีการเจริญงอกงามของเยื่อบุข้ออย่างมาก เยื่อบุข้อนี้จะลุกลามและทำลายกระดูกและข้อให้เสียหายในที่สุด อย่างไรก็ดี โรคนี้มิได้เป็นแต่เฉพาะข้อเท่านั้น ยังอาจมีอาการทางระบบอื่นๆ อีก เช่น ตา ประสาท กล้ามเนื้อ เป็นต้น

         โรคข้ออักเสบเรื้อรังนี้มีกลไกเกิดจากระบบภูมิคุ้มกัน ต้านทานโรคของร่างกายทำลายอวัยวะของตัวเอง โดยทำให้เกิดพยาธิสภาพในหลายอวัยวะ แต่ที่เป็นลักษณะเฉพาะของโรคและเป็นปัญหาทำให้ผู้ป่วยเกิดความพิการตามมาคือ การที่ข้อต่างๆเกิดการอักเสบโดยเฉพาะข้อมือและข้อนิ้วมือ โดยสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าพันธุกรรมมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยส่วนหนึ่ง นอกจากนั้น ยังไม่มียาสำหรับป้องกันการเกิดโรคและรักษาโรคให้หายขาดได้ แต่มียาที่ช่วยบรรเทาอาการและลดความรุนแรงของโรคลงได้

อาการของโรครูมาตอยด์
         โรครูมาตอยด์ จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 5 เท่า อาการอาจเริ่มปรากฏในช่วงอายุเท่าไหร่ก็ได้ แต่จะพบมากในช่วงอายุ 30-50 ปี ถ้าหากเริ่มเป็นตั้งแต่เด็กก็มักจะมีอาการรุนแรง ในเด็กจะมีอาการและอาการแสดงต่างจากผู้ใหญ่ โดยผู้ที่เป็นรูมาตอยด์จะมีอาการดังนี้
         1.มีการอักเสบเรื้อรังของข้อหลายๆข้อ ทั้งสองข้างพร้อมๆกัน ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 อาทิตย์

         2.ข้ออักเสบพบบ่อยที่บริเวณข้อมือ รวมถึงข้อโคนนิ้วมือ ข้อกลางนิ้วมือ ข้อเข่า ข้อเท้า ซึ่งจะมีอาการปวด บวม และกดเจ็บตามข้อต่างๆ ถ้าเป็นมานานจะมีข้อผิดรูปได้ ซึ่งเกิดจากการอักเสบของเยื่อบุข้อ การคั่งของเลือดในบริเวณข้อ ขาดการออกกำลังกายและการทำกายภาพบำบัด กินอาหารไม่เพียงพอ หรือการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อ
         3.มีอาการข้อฝืด ข้อแข็ง เคลื่อนไหวลำบาก ในช่วงตื่นนอนตอนเช้า มักต้องใช้เวลานานกว่า 1 ชั่วโมงจึงจะเริ่มขยับข้อได้ดีขึ้น และในช่วงบ่ายๆมักจะขยับข้อได้เป็นปกติ
         4.พบอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เบื่ออาหาร กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดเมื่อยหมดทั้งตัว น้ำหนักลด มีไข้ต่ำๆ ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ หลอดเลือดอักเสบ ปุ่มรูมาตอยด์ใต้ผิวหนัง และภาวะเลือดจาง


การรักษาโรครูมาตอยด์

         1.ทำกายภาพบำบัดข้อ อย่างเช่น การประคบด้วยความร้อน หรือแช่ในน้ำอุ่น ใส่เฝือกชั่วคราวในช่วงที่อักเสบมากหรือตอนกลางคืน เพื่อลดอาการปวดและป้องกันข้อติดผิดรูป ขยับข้อให้เคลื่อนไหวมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันข้อติดแข็ง โดยเฉพาะนิ้วมือและข้อมือ หรือการออกกำลังให้กล้ามเนื้อแข็งแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อนิ้วมือ มือ และแขน ซึ่งอาจจะใช้วิธีบีบฟองน้ำ ลูกบอลยาง ลูกเทนนิสหรือเครื่องออกกำลังที่ใช้มือบีบ เป็นต้น
         2.ใช้ยากลุ่มระงับการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง จะช่วยลดอาการปวดและบวมตามข้อได้ค่อนข้างดี และเมื่อเลือกใช้ยาตัวใดก็ควรรับประทานยาติดต่อกันอย่างน้อย 2 อาทิตย์ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นจึงเปลี่ยนเป็นยาตัว
         3.ใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยากลุ่มนี้มีทั้งชนิดกินและฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือฉีดเข้าข้อ จะใช้เมื่อการอักเสบรุนแรง แต่ไม่ควรใช้ในขนาดสูงหรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะผลข้างเคียงมาก เช่น กระดูกพรุน ไตวายเฉียบพลัน ติดเชื้อง่าย และเมื่อหยุดยาก็จะกลับมีอาการขึ้นอีก ในช่วงที่มีการอักเสบมาก อาจใช้ในขนาดสูง เมื่ออาการดีขึ้นก็ควรลดยาลง

         4.ใช้ยากลุ่มยับยั้งข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่ออกฤทธิ์ช้า เป็นยาที่ค่อนข้างอันตราย มีผลข้างเคียงมาก แพทย์จึงจะใช้ในกรณีที่ใช้ยากลุ่มอื่นแล้วไม่ได้ผลจริงๆ หรือในผู้ที่มีอาการอักเสบรุนแรง มีรูมาตอยด์แฟคเตอร์ในเลือดสูงมากๆ
         5.การผ่าตัด เช่น ผ่าตัดเลาะเยื่อบุข้อที่มีการอักเสบออก ผ่าตัดเย็บซ่อมหรือย้ายเส้นเอ็น ผ่าตัดเชื่อมข้อติดกัน ผ่าตัดกระดูกปรับแนวข้อให้ตรงขึ้น ผ่าตัดใส่ข้อเทียม ซึ่งการผ่าตัดถือว่าเป็นการรักษาปลายเหตุเพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น โดยแพทย์จะเลือกวิธีผ่าตัดรูมาตอยด์ตามความเหมาะสมกับตัวคนไข้

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.