ข้อเสื่อม กินอะไรดี บำรุงรักษา ให้กลับมาดีเหมือนเดิม

         หลายคนอาจมองว่าโรคข้อเสื่อมเป็นโรคของคนแก่ ที่เมื่อเวลาผ่านไป อะไรๆในร่างกายก็เสื่อมโทรมลง แต่จริงๆแล้วโรคข้อเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่เว้นแม้กระทั่งคนวัยหนุ่มสาว เนื่องจากสาเหตุที่ทำให้ข้อเสื่อมมีหลายปัจจัย โดยเริ่มแรกมักจะมีอาการเจ็บเวลาเดิน ติดต่อกันอย่างน้อย 2-4 อาทิตย์ หรือเดินขึ้นลงบันไดแล้วรู้สึกเจ็บ ระยะต่อมาอาจมีอาการเดินธรรมดาแล้วก็รู้สึกเจ็บ เดินขาโก่ง ขาแยก เป็นต้น ถ้าเป็นวัยรุ่นมักไม่ใส่ใจกับความผิดปกติที่ร่างกาย ทว่าหากปล่อยไว้อาจทำให้เกิดข้อเสื่อมที่รุนแรงได้

 

ข้อเสื่อม เกิดจากอะไร
         แน่นอนว่าสาเหตุอันดับต้นๆที่ทำให้ข้อเสื่อมก็คือ การเสื่อมของเนื้อเยื้อและอวัยวะต่างๆในร่างกาย ซึ่งแปรเปลี่ยนไปตามอายุขัย ทั้งนี้ ยังมีผลการศึกษาพบว่า โรคข้อเสื่อมอาจเป็นผลมาจากสาเหตุทางพันธุกรรม และสาเหตุอื่นๆที่อาจมีส่วนร่วมในการเกิดโรคข้อเสื่อม ได้แก่ การใช้ข้อทำงานมากเกินไป หรือเป็นภายหลังการเกิดข้ออังเสบชนิดอื่นๆ รวมถึงภาวะน้ำหนักเกิน หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า “อ้วน” ซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงวัยเจริญเติบโต แม้จะไม่ใช่สาเหตุหลักของโรคข้อเสื่อม แต่ก็เป็นตัวส่งเสริมให้มีโอกาสเป็นได้มากขึ้น
         ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงทำให้โรคข้อเสื่อมพบได้มากในผู้สูงอายุ ซึ่งอาจเป็นผลจากการใช้ข้อทำงานมากเกินไป และเนื้อเยื้อเสื่อมตามกาลเวลา นอกจากนี้ในรายที่เคยมีอุบัติเหตุ ต่อข้อ พบว่ามีโอกาสเกิดข้อเสื่อมตามมาได้มากขึ้น ฉะนั้นแล้ว อาการข้อเสื่อมจึงเป็นเหมือนสิ่งที่ทุกคนควรระแวดระวัง

 

ข้อเสื่อม กินอะไรดี
         แน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากรับประทานยารักษา เพราะต่างก็ทราบถึงผลข้างเคียงของตัวยาที่ใช้ และเพื่อเป็นการบำรุงรักษาอาการข้อเสื่อมให้กลับมาใช้งานได้เหมือนเดิมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยอาหารที่คุณควรรับประทานมากที่สุดก็คือ “แคลเซียม” ซึ่งไม่ใช่ว่ารอให้ข้อเสื่อมก่อนแล้วจึงรับประทานแคลเซียม แต่ควรรับประทานตั้งแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะเมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป เพราะแคลเซียมจะช่วยในเรื่องของความหนาของกระดูก นอกจากนั้นยังมีประโยชน์กับฟัน การแข็งตัวของเลือด การเต้นของหัวใจ กล้ามเนื้อ โดยคนเราจะต้องการแคลเซียม 800–1,500 มิลลิกรัม

         นอกจากแคลเซียมแล้ว ยังควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินดีสูง อาทิ ปลา ไข่แดง เห็ด เป็นต้น และควรได้รับแมกนีเซียมในปริมาณมาก โดยรับประทานพวกผักใบเขียว ถั่วธัญพืชต่างๆ รวมถึงการรับประเต้าหู้ ถั่วเหลือง ที่มีทั้งโปรตีนและกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งจะทำงานร่วมกัน และลดการเสื่อมสลายของกระดูกได้เป็นอย่างดี กระนั้นก็ดี สารอาหารเหล่านี้สามารถรับประทานในรูปแบบอาหารเสริมก็ได้ แต่ต้องใช้ให้ถูกวิธี
         นอกเหนือจากเรื่องอาหารการกิน การออกกำลังกายที่ถูกต้อง เป็นประจำสม่ำเสมอ ก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้ข้อมีความยืดหยุ่น และปกป้องกระดูกข้อเสื่อม ที่สำคัญคือควรพักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยลดอาการปวดได้

 

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

ข้ออักเสบรูมาตอยด์ การรักษา ยังไงดี ให้หาย

         บทความก่อนหน้านี้คงทำให้ท่านผู้อ่านได้รู้จักกับโรค “ข้ออักเสบรูมาตอยด์ กันไปพอสมควร โดยโรคนี้คือการเจริญของเยื่อบุข้อมากผิดปกติ จนลุกลามและทำลายกระดูกและข้อให้เสียหายในที่สุด ซึ่งพบบ่อยมากเป็นลำดับที่ 2 ของโรคข้อเสื่อมที่พบบ่อยที่สุด อาการระยะแรกผู้ป่วยจะทุกข์ทรมานจากข้ออักเสบหลายข้อพร้อมกัน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ข้อจะเคลื่อนหลุด ผิดรูป และเกิดภาวะทุพพลภาพ
         สำหรับวิธีรักษาข้ออักเสบรูมาตอยด์ ที่ดีที่สุดก็ทำได้แค่ประคับประคองอาการให้คงที่ ไม่ให้เกิดความเจ็บปวดหรือแสดงอาการอื่นๆไปมากกว่าที่เป็น พูดง่ายๆคือข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นโรคที่ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ รู้แบบนี้ก็อยากให้ทุกคนตื่นตัว พยายามดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองให้ดีที่สุด โรคร้ายนี้จะได้ไม่มาเยือน


การรักษา ข้ออักเสบรูมาตอยด์

         1.รักษาด้วยยา ยาที่ใช้ในการรักษาประกอบไปด้วยยาบรรเทาอาการปวด ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ขนาดต่ำ ยาต้านข้ออักเสบรูมาตอยด์ปรับเปลี่ยนการดำเนินโรค และสารชีวภาพ ในปัจจุบันแพทย์จะใช้ยาเหล่านี้ร่วมกันโดยมีจุดมุ่งหมายในการควบคุมโรคให้สงบ (ไม่มีข้ออักเสบหลงเหลืออยู่) หรือมีภาวะข้ออักเสบระดับต่ำเกือบสงบ โดยก่อนพิจารณาเลือกใช้ยาแพทย์จะทำการประเมินสุขภาพร่างกายโดยรวมของผู้ป่วย (การตรวจเลือดและภาพรังสี) โดยเลือกตามความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
         2.รักษาด้วยวิธีการที่ไม่ใช้ยา ได้แก่ การปฏิบัติตัว การใช้วิธีการทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู การบริหารร่างกายเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ และคง/เพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อ การปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การใช้กายอุปกรณ์และอุปกรณ์เสริม สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดและส่งเสริมให้ข้อสามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่
         3.รักษาด้วยการผ่าตัด จะพิจารณาทำในรายที่ข้อมีการผิดรูปอย่างมาก ทำให้ไม่สามารถใช้ข้อทำงานได้อย่างปกติ หรือข้อถูกทำลายอย่างมาก ทั้งนี้ เพื่อให้ข้อสามารถกลับมาทำงานใหม่ได้อย่างเหมาะสม แต่หลังจากผ่าตัดมักมีการทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย


อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ไม่ให้ข้ออักเสบรูมาตอยด์กำเริบ

         เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงว่า อาหารจะรักษาโรคไขข้อให้หายขาดได้ ในทางตรงกันข้ามอาหารบางชนิดทำให้อาการปวดไขข้อแย่ลง แต่มีงานวิจัยล่าสุดพบว่าผู้ที่เป็นข้ออักเสบรูมาตอยด์ 30–40 เปอร์เซ็นต์ มีอาการดีขึ้นเมื่องดอาหารที่สงสัยว่าทำให้ปวด โดยอาหารที่ควรงด ได้แก่
         1.กรดไขมันอิ่มตัว มีงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าไขมันอิ่มตัวอาจเพิ่มการอักเสบ เนื่องจากกรดไขมันอิ่มตัวไปกระตุ้นการสร้างสารพรอสตาแกลนดินที่ก่อให้เกิดการอักเสบ อาการปวดบวมและข้อเสื่อมในโรครูมาตอยด์ อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน เนย ครีม เป็นต้น
         2.กรดไขมันโอเมกา 6 เป็นไขมันที่พบในน้ำมันพืชที่มีกรดไลโนเลอิค เช่น น้ำมันข้าวโพด ถั่วเหลือง ดอกทานตะวัน จมูกข้าวสาลี เป็นต้น หากรับประทานมากๆอาจทำให้อาการข้ออักเสบรูมาตอยด์กำเริบได้

 

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

ข้ออักเสบเรื้อรัง รักษา ยังไง ได้ผลดี

         โรคข้ออักเสบอาจเกิดจากการเสื่อมสภาพตามปกติของข้อต่อ หรือจากการบาดเจ็บ การอักเสบ การติดเชื้อ หรือไม่ปรากฏสาเหตุแน่ชัด ทั้งนี้ อาการข้อต่ออักเสบโดยทั่วไปอาจส่งผลไม่รุนแรงมาก แต่หัวข้อที่เราจะมาพูดถึงในวันนี้ก็คือ “อาการข้ออักเสบเรื้อรัง” หรือที่รู้จักกันในชื่อ “รูมาตอยด์” ซึ่งเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงบรรเทาให้อาการคงที่เท่านั้น      
         อย่างไรก็ตาม เมื่อเป็นข้ออักเสบเรื้อรังแล้วไปพบแพทย์ ส่วนใหญ่จะแพทย์จะใช้ยาต้านอาการอักเสบเพื่อทำให้การปวดทุเลาลง แต่ในบางกรณีอาจต้องมีการผ่าตัด และทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย นอกจากนั้นการจะอยู่ร่วมกับโรคข้ออักเสบเรื้อรังไปอย่างปกติ จำเป็นต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในการบำรุงข้อ โดยเราได้นำข้อมูลมาจากนิตยสาร Health&Cuisine ดังนี้

 

รักษาข้ออักเสบเรื้อรัง ด้วยอาหารบรรเทาอาการปวดข้อ
         1.กรดโอเมกา 3 มีผลต้านการอักเสบในร่างกาย โดยโอเมกา 3 ที่ได้จากอาหารทะเลมีกรดอีพีเอและดีเอชเอ ซึ่งลดการอักเสบของไขข้อ ผลวิจัยพบว่าการเพิ่มกรดโอเมกา 3 ในอาหาร มีผลโดยตรงในการลด ซี–รีแอคทีฟโปรตีนซึ่งกระตุ้นการอักเสบ อาหารที่มีกรดโอเมกา 3 สูง ได้แก่ ปลาทะเล (แซลมอน ทูน่า เทร้าส์ แมคเคอเรล) วอลนัท เต้าหู้ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง แฟลกซ์สีด น้ำมันจากเมล็ดแฟลกซ์สีด และน้ำมันคาโนลา น้ำมันปลา
         2.สารฟลาโวนอยด์ ช่วยต้านเชื้อไวรัส ต้านการอักเสบ และลดการเกิดโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมของร่างกาย เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ไขข้อ เป็นต้น สารฟราโวนอยด์พบในชาเขียว กระเทียม แอ๊ปเปิ้ล เบอร์รี่ ผลไม้ตระกูลส้ม และหอมหัวใหญ่

         3.กรดโฟลิกหรือโฟเลต หรือวิตามินบี 9 พบมากในตับ และผักสีเขียว เช่น ผักโขม ผักคะน้า ส่วนผลไม้ พบมากในส้มและแคนตาลูป ผู้ป่วยโรคไขข้อควรเสริมวิตามินชนิดนี้เพราะมีส่วนช่วยสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่กินยาเมทโธเทรกเซท (Methotrexate) จำเป็นต้องเสริมกรดโฟลิกเพื่อบรรเทาอาการปวดหรืออักเสบ
         4.ซีลีเนียม ช่วยลดอนุมูลอิสระที่จะทำลายเนื้อเยื่อที่แข็งแรง และช่วยเสริมการทำงานของเอนไซม์ชนิดกลูตาไธโอนเพอร็อกซิเดสที่ต่อสู้กับการอักเสบ ผลวิจัยพบว่า คนที่มีระดับซีลีเนียมต่ำจะมีความเสี่ยงเกิดโรครูมาตอยด์มากขึ้น การกินทูน่าประมาณ 100 กรัม จะช่วยให้ได้รับซีลีเนียมเพียงพอตลอดทั้งวัน

         5.วิตามินซี มีประโยชน์ต่อเนื้อเยื่อภายในข้อและมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ พบได้ในผลไม้ประเภทส้ม พริกไทย สตรอว์เบอร์รี่ เป็นต้น
         6.วิตามินดีและแคลเซียม ควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินดีและแคลเซียมให้เพียงพอ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องใช้ยาประเภทคอร์ติสเตียรอยด์ ซึ่งทำให้เนื้อกระดูกและระดับวิตามินดีในเลือดต่ำ มีผลให้ข้อเสื่อมเร็วขึ้น อาหารที่มีวิตามินดีสูง ได้แก่ น้ำมันตับปลา เนย ครีม ไข่แดง ตับ และอาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ ผักใบเขียวจัด เช่น บรอคโคลี ปลาซาร์ดีนและแซลมอนกระป๋อง (ทั้งกระดูก) นมและผลิตภัณฑ์นม เต้าหู้
         7.แอลกอฮอล์ มีงานวิจัยในปี 2008 สรุปว่า แอลกอฮอล์ช่วยป้องกันโรคไขข้อ แต่ไม่ได้ระบุถึงปริมาณที่แนะนำ กระนั้นก็ดี ผู้ที่รับประทานยาเมทโธเทรกเซทควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์เพราะอาจมีผลข้างเคียงต่อตับ

 

 

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

รูมาตอยด์ อาการ สาเหตุ และการรักษา ที่ได้ผล

         รูมาตอยด์คือะไร หลายคนอาจยังไม่เคยรู้ หรืออาจรู้แบบผิดๆ เนื่องจากไม่เคยสัมผัสกับตัวเอง (ถ้าเลือกได้คงไม่มีใครอยากเป็น) แต่ทั้งนี้ รูมาตอยด์ถือเป็นโรคที่ไม่เข้าใครออกใคร ไม่เลือกอายุและเพศ พูดง่ายๆคือใครก็สามารถเป็นได้ ที่สำคัญคือหากได้เป็นแล้วจะรักษาไม่หาย คงสงสัยกันแล้วใช่ไหมว่าเจ้ารูมาตอยด์มันคืออะไรกันแน่
         รูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเด่นคือ มีการเจริญงอกงามของเยื่อบุข้ออย่างมาก เยื่อบุข้อนี้จะลุกลามและทำลายกระดูกและข้อให้เสียหายในที่สุด อย่างไรก็ดี โรคนี้มิได้เป็นแต่เฉพาะข้อเท่านั้น ยังอาจมีอาการทางระบบอื่นๆ อีก เช่น ตา ประสาท กล้ามเนื้อ เป็นต้น

         โรคข้ออักเสบเรื้อรังนี้มีกลไกเกิดจากระบบภูมิคุ้มกัน ต้านทานโรคของร่างกายทำลายอวัยวะของตัวเอง โดยทำให้เกิดพยาธิสภาพในหลายอวัยวะ แต่ที่เป็นลักษณะเฉพาะของโรคและเป็นปัญหาทำให้ผู้ป่วยเกิดความพิการตามมาคือ การที่ข้อต่างๆเกิดการอักเสบโดยเฉพาะข้อมือและข้อนิ้วมือ โดยสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าพันธุกรรมมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยส่วนหนึ่ง นอกจากนั้น ยังไม่มียาสำหรับป้องกันการเกิดโรคและรักษาโรคให้หายขาดได้ แต่มียาที่ช่วยบรรเทาอาการและลดความรุนแรงของโรคลงได้

อาการของโรครูมาตอยด์
         โรครูมาตอยด์ จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 5 เท่า อาการอาจเริ่มปรากฏในช่วงอายุเท่าไหร่ก็ได้ แต่จะพบมากในช่วงอายุ 30-50 ปี ถ้าหากเริ่มเป็นตั้งแต่เด็กก็มักจะมีอาการรุนแรง ในเด็กจะมีอาการและอาการแสดงต่างจากผู้ใหญ่ โดยผู้ที่เป็นรูมาตอยด์จะมีอาการดังนี้
         1.มีการอักเสบเรื้อรังของข้อหลายๆข้อ ทั้งสองข้างพร้อมๆกัน ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 อาทิตย์

         2.ข้ออักเสบพบบ่อยที่บริเวณข้อมือ รวมถึงข้อโคนนิ้วมือ ข้อกลางนิ้วมือ ข้อเข่า ข้อเท้า ซึ่งจะมีอาการปวด บวม และกดเจ็บตามข้อต่างๆ ถ้าเป็นมานานจะมีข้อผิดรูปได้ ซึ่งเกิดจากการอักเสบของเยื่อบุข้อ การคั่งของเลือดในบริเวณข้อ ขาดการออกกำลังกายและการทำกายภาพบำบัด กินอาหารไม่เพียงพอ หรือการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อ
         3.มีอาการข้อฝืด ข้อแข็ง เคลื่อนไหวลำบาก ในช่วงตื่นนอนตอนเช้า มักต้องใช้เวลานานกว่า 1 ชั่วโมงจึงจะเริ่มขยับข้อได้ดีขึ้น และในช่วงบ่ายๆมักจะขยับข้อได้เป็นปกติ
         4.พบอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เบื่ออาหาร กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดเมื่อยหมดทั้งตัว น้ำหนักลด มีไข้ต่ำๆ ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ หลอดเลือดอักเสบ ปุ่มรูมาตอยด์ใต้ผิวหนัง และภาวะเลือดจาง


การรักษาโรครูมาตอยด์

         1.ทำกายภาพบำบัดข้อ อย่างเช่น การประคบด้วยความร้อน หรือแช่ในน้ำอุ่น ใส่เฝือกชั่วคราวในช่วงที่อักเสบมากหรือตอนกลางคืน เพื่อลดอาการปวดและป้องกันข้อติดผิดรูป ขยับข้อให้เคลื่อนไหวมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันข้อติดแข็ง โดยเฉพาะนิ้วมือและข้อมือ หรือการออกกำลังให้กล้ามเนื้อแข็งแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อนิ้วมือ มือ และแขน ซึ่งอาจจะใช้วิธีบีบฟองน้ำ ลูกบอลยาง ลูกเทนนิสหรือเครื่องออกกำลังที่ใช้มือบีบ เป็นต้น
         2.ใช้ยากลุ่มระงับการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง จะช่วยลดอาการปวดและบวมตามข้อได้ค่อนข้างดี และเมื่อเลือกใช้ยาตัวใดก็ควรรับประทานยาติดต่อกันอย่างน้อย 2 อาทิตย์ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นจึงเปลี่ยนเป็นยาตัว
         3.ใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยากลุ่มนี้มีทั้งชนิดกินและฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือฉีดเข้าข้อ จะใช้เมื่อการอักเสบรุนแรง แต่ไม่ควรใช้ในขนาดสูงหรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะผลข้างเคียงมาก เช่น กระดูกพรุน ไตวายเฉียบพลัน ติดเชื้อง่าย และเมื่อหยุดยาก็จะกลับมีอาการขึ้นอีก ในช่วงที่มีการอักเสบมาก อาจใช้ในขนาดสูง เมื่ออาการดีขึ้นก็ควรลดยาลง

         4.ใช้ยากลุ่มยับยั้งข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่ออกฤทธิ์ช้า เป็นยาที่ค่อนข้างอันตราย มีผลข้างเคียงมาก แพทย์จึงจะใช้ในกรณีที่ใช้ยากลุ่มอื่นแล้วไม่ได้ผลจริงๆ หรือในผู้ที่มีอาการอักเสบรุนแรง มีรูมาตอยด์แฟคเตอร์ในเลือดสูงมากๆ
         5.การผ่าตัด เช่น ผ่าตัดเลาะเยื่อบุข้อที่มีการอักเสบออก ผ่าตัดเย็บซ่อมหรือย้ายเส้นเอ็น ผ่าตัดเชื่อมข้อติดกัน ผ่าตัดกระดูกปรับแนวข้อให้ตรงขึ้น ผ่าตัดใส่ข้อเทียม ซึ่งการผ่าตัดถือว่าเป็นการรักษาปลายเหตุเพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น โดยแพทย์จะเลือกวิธีผ่าตัดรูมาตอยด์ตามความเหมาะสมกับตัวคนไข้

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

ปวดเส้นเอ็นหลัง สาเหตุและการรักษาอาการปวดหลัง

         จะว่าไปแล้วอาการปวดเมื่อยตามร่างกายถือเป็นปัญหาสุขภาพ ที่จุกจิกใจเราอย่างมาก จะหยิบจับอะไรก็ไม่ถนัด แถมเวลาต้องออกแรงมากๆ เช่น ยกของหนัก ออกกำลังกาย อาการปวดจะกำเริบหนักขึ้น สร้างความรำคาญให้เราไม่น้อย อย่างไรก็ตาม หนึ่งในอาการปวดเมื่อยตามตัวที่มักเจอกัน คงหนีไม่พ้นการปวดเส้นเอ็นหลัง ซึ่งมีสาเหตุและการรักษาอาการที่แตกต่างไปจากการปวดกล้ามเนื้ออย่างสิ้นเชิง


สาเหตุที่ทำให้ปวดเส้นเอ็นหลัง

         หากเป็นอาการปวดกล้ามเนื้อที่มักเป็นกันก็จะเกิดจากการทำงานก้มๆ เงยๆ นั่ง ยืน นอน หรือยกของหนักด้วยท่าที่ไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดแรงกดตรงกล้ามเนื้อสันหลังส่วนล่าง ซึ่งจะมีอาการเกร็งตัว ทำให้เกิดอาการปวดตรงกลางหลังส่วนล่างลามไปถึงส่วนบนก็มี แต่สำหรับอาการปวดเส้นเอ็นหลังจะรุนแรงมากกว่านั้น โดยเกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็น ทำให้มีความเจ็บปวด ชา ปวดแสบปวดร้อนตามเส้นเอ็นด้านใน และแน่นอนทำให้รู้สึกปวดหลังอย่างรุนแรง
         ในบางคนอาจเกิดจากการที่เส้นตึง เส้นยึด ด้วยการใช้งานอย่างหนัก โดยเฉพาะการนั่งทำงานในท่าที่ไม่ถูกต้อง ช่วงแรกอาจยังไม่แสดงอาการ แต่จะเริ่มมีอาการล้าบริเวณหลังมากขึ้นเรื่อย เมื่อเวลาผ่านไปก็มีอาการปวดเส้นเอ็นหลังได้ในที่สุด


เมื่อปวดเส้นเอ็นหลัง ควรรักษาอย่างไร

         1.นอนพัก โดยให้นอนหงายหรือนอนในท่าที่สบายบนพื้นหรือบนที่นอนที่แข็งพอ (อย่านอนบนที่นอนนุ่มๆเป็นเด็ดขาด เพราะจะยิ่งทำให้อาการกำเริบมากขึ้น) โดยงอเข่าเล็กน้อยและใช้หมอนรองใต้เข่าสัก 24 ชั่วโมง หรืออาจนานกว่านั้นหากยังปวดหลังอยู่ ทั้งนี้ ถ้ามีอาการปวดมาก ให้นอนหงายบนพื้น แล้วใช้เท้าพาดบนเก้าอี้ให้เข่างอเป็นมุมฉาก ก็จะทำให้อาการปวดเส้นเอ็นหลังทุเลา
         2.ประคบด้วยความเย็นหรือร้อน การประคบด้วยถุงน้ำแข็งในช่วง 24 ชั่วโมงแรกเพื่อลดอาการปวดเส้นเอ็นหลัง แต่หลังจากนั้นอาจประคบด้วยน้ำร้อน เพื่อบรรเทาอาการ ทั้งนี้ สามารถรับประทานยาแก้ปวดจำพวกแอสไพริน หรือไอบูโพรเฟน ทุก 4 ชั่วโมงได้ถ้าจำเป็น
         3.ทำงานด้วยท่าที่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยป้องกันการปวดเส้นเอ็นหลังได้อย่างเป็นอย่างดี อย่างเช่น เวลายกของควรใช้การงอเข่า ไม่ใช่ก้มตัวลงไป และต้องนั่งพิงพนักเก้าอี้ที่มั่งคง เมื่อถึงคราวต้องทำงานเวลานานๆ

         4.หมั่นออกกำลังกาย เมื่ออาการปวดเส้นเอ็นหลังดีขึ้น ควรมีการบริหารร่างกายเพื่อออกกำลังกายอยู่เป็นประจำ โดยปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ หรือนักกายภาพบำบักเกี่ยวกับการบริหารกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้อง ซึ่งจะส่งผลดีต่ออาการปวดเส้นหลัง
         5.ถ้าเป็นเรื้อรัง หรือมีอาการชาที่หลัง หรือรู้สึกไม่มีเรี่ยวแรง อาจเกิดจากสาเหตุอื่น แนะนำให้ไป    โรงพยาบาลโดยด่วน เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยสาเหตุที่แท้จริง อาจต้องเอกซเรย์หลัง หรือตรวจพิเศษอื่นๆ และให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ

 

 

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

ปวดเมื่อยตามตัว ไม่มีแรง รักษายังไงให้หาย

         วันนี้เรามาจะพูดถึงอาการปวดเมื่อยตามตัวกัน เนื่องจากคนในยุคนี้มีปัจจัยเสี่ยงอย่างมากที่จะทำให้เกิดอาการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยในจาการทำงานที่ในหนึ่งวันต้องนั่งหลังขดหลังแข็งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะคอมพิวเตอร์ซินโดรม หรือมีอาการปวดเกร็งกล้ามส่วนต่างๆ นอกจากนี้ในบางคนพอตื่นขึ้นมาตอนเช้าก็จะรู้สึกอ่อนเปลี้ยเพลียแรงก็มี นอกจากนี้การออกกำลังกายที่หักโหม หรืออุบัติเหตุเพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้ปวดดเมื่อยตามตัวได้


อาการปวดเมื่อยตามตัว เกิดจากอะไรบ้าง

         1.กล้ามเนื้อทำงานหนักและถูกเกร็งค้างอยู่นานๆ โดยจะพบอยู่บ่อยๆ เช่น การเกร็งในการสะพายกระเป๋าทุกครั้งเพื่อไม่ให้ประเป๋าหลุดลงจากบ่า เลยต้องมีการเกร็งกล้ามเนื้อบ่าอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าจะไม่ได้ใช้แรงจากกล้ามเนื้อมากนักแต่เป็นการเกร็งค้าง จึงมีการบีบกดของหลอดเลือดที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณนั้นๆ ทำให้การนำออกซิเจนมาช่วยในการเผาผลาญสารอาหารทำได้ไม่เต็มที่ เมื่อร่างกายไม่ได้รับออกซิเจนไปใช้ในกระบวนการนี้ จึงทำให้เกิดการคั่งของกรดแล็กติก ถ้าไม่ได้ระบายออกด้วยการไหลเวียนของเลือด จะทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยล้าได้ กล้ามเนื้อที่มีอาการปวดล้าได้ง่ายได้แก่ กล้ามเนื้อ บริเวณบ่า คอด้านหลัง และหลังส่วนล่าง
         2.ภาวะหดสั้นของกล้ามเนื้อ ภาวะเช่นนี้มักจะพบได้ที่กล้ามบริเวณหน้าอก กล้ามเนื้อคอด้านหน้า กล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้องอสะโพก การที่เราใช้มือทำงานโดยยื่นออกไปทางด้านหน้าโดยทั่วไปจะทำให้กล้ามเนื้อหน้าอกอยู่ในภาวะที่หดสั้นตลอดเวลาจนความยาวของกล้ามเนื้อลดลง เมื่อถึงเวลาที่จะต้องใช้งานกล้ามเนื้อส่วนนั้น ในลักษณะที่ยืดยาวออกจะทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ การนั่งนานจะทำให้เกิดการหดสั้นของกล้ามเนื้อหน้าท้อง และกล้ามเนื้องอสะโพกที่อยู่ทางด้านหน้าของลำตัวได้

         3.อาการปวดจากเส้นเอ็น พบบ่อยบริเวณที่มีการเคลื่อนไหวข้อมาก ๆ เช่น บริเวณไหล่ ศอก ข้อมือ ส้นเท้า เอ็นร้อยหวาย เกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นในบริเวณนี้ และถ้าไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม อาจจะทำให้เกิดความพิการต่อไป เช่น ไหล่ติด ยกแขนไม่ขึ้น ทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามที่ควรจะเป็น
         4.เส้นประสาทถูกกดทับ สาเหตุนี้ถือค่อนข้างมีความรุนแรง โดยจะทำให้มีอาการปวดแสบ และร้าวไปตามเส้นประสาทนั้นๆ ถ้ามีอาการมากอาจจะทำให้กล้ามเนื้อที่เลี้ยงด้วยเส้นประสาทนั้นอ่อนแรงลง เช่น หากเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงขาถูกกด อาจจะทำให้เดินลำบากได้ เป็น ซึ่งตำแหน่งที่พบบ่อยคือที่บริเวณกระดูกคอ เกิดขึ้นจากกระดูกสันหลังบริเวณคอเสื่อม มีแคลเซียมมาเกาะ และกดลงไปที่เส้นประสาทที่ออกจากช่องระหว่างกระดูกคอ นอกจากคอแล้วยังอาจเกิดบริเวณอื่นๆได้

 

ปวดเมื่อยตามตัว รักษายังไงให้หาย
         เมื่อมีอาการปวดเมื่อยตามตัว โดยปกติเราจะมองหายานวด เพื่อนำมาทาบรรเทาอาการปวด การรักษาเบื้องต้นนี้ถือเป็นวิธีที่ได้ผล ทว่าเป็นการทำให้อาการทุเลาลงเท่านั้น จึงรักษาอาการปวดเมื่อยตามตัวเพียงเล็กน้อย ไม่สามารถรักษาอาการปวดที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงได้ ดังนั้น คนที่เกิดอุบัติเหตุหรือเกิดอาการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายจึงมักใช้วิธีนี้ ควบคู่กับการรับประทานยาแก้ปวด
         อย่างไรก็ตาม ยังมีวิธีการรักษาอาการปวดเมื่อยตามตัวอีกมากมาย อีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายก็คือการนวดจับเส้น ซึ่งในปัจจุบันมีหลายศาสตร์ให้เลือก เช่น นวดแผนไทย นวดแผนจีน นวดแผนโบราณ เป็นต้น ทั้งนี้ หากอาการปวดเมื่อยตามตัวไม่หาย หลายคนที่ไปพบแพทย์แล้ววินิจฉัยว่าอาการปวดเกิดจากกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งต้องใช้วิธีการผ่านตัดในการรักษา แล้วทำกายภาพบำบัด นอกจากนี้ อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามตัวได้อย่างเห็นผล นั่นก็คือการใช้ยาสมุนไพรบำรุงร่างกาย ซึ่งนิยมใช้กันมากในกลุ่มวัยทำงานและผู้สูงอายุ

 

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

อาการเส้นตึง เส้นยึด รักษายังไงให้หาย

         อาการเส้นยึด เส้นตึง เป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่พบเจอกันบ่อยๆ โดยเฉพาะคนที่เริ่มมีอายุมากๆที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ขอเน้นย้ำว่า “คนที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย” เพราะมันคือต้นเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นขาดความยืดหยุ่นหรืออาจไม่ทำงาน จนนานๆเข้าก็กลายเป็นอาการเส้นตึง เส้นยึด เกิดอาการปวดได้ในที่สุด
         สำหรับวิธีการรักษาเส้นยึด เส้นตึงก็มีมากมายหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการนวดคลายเส้น การรับประทานยาหรือสมุนไพร รวมถึงการทำกายภาพบำบัด หรือหากใครอาการรุนแรงจนปวดร้าวเป็นเวลานานๆ แล้วรักษาด้วยวิธีอื่นไม่หาย เมื่อไปพบแพทย์อาจต้องมีการผ่าตัดกันเลยทีเดียว ดังนั้น ควรสำรวจตัวเองอยู่บ่อยๆว่ามีอาการผิดปกติอะไรบ้าง จะได้รักษาได้ทันท่วงที โดยวันนี้เราได้นำวิธีรักษาด้วยตัวเองมาฝาก ซึ่งเป็นวิธีการแสนง่าย ทำที่บ้านก็ได้ ไม่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในกระเป๋า แต่ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการเส้นตึง เส้นยึดกันว่ามันเกิดจากอะไร


เส้นตึง เส้นยึด เกิดจาก

         เส้นตึง เส้นยึด เรียกอีกอย่างว่า “อาการกล้ามเนื้อหดรั้ง” มีสาเหตุหลักมากจากการที่ไม่ได้ออกกำลังกาย หรืออยู่ในอิริยาบถที่ฝืนธรรมชาติ เป็นเหตุให้กล้ามเนื้อและเอ็นขาดความยืดหยุ่นหรือพลิกตึง จึงมีอาการปวดบริเวณสีข้าง ไล่ตั้งแต่หัวไหล่ลงมาจนถึงสะเอว และลามไปยันบริเวณหลัง หากไม่รีบแก้ไข อาจพัฒนาเป็นอาการปวดกล้ามเนื้อและเอ็นชนิดเรื้อรัง ซึ่งยิ่งรักษาหายยากขึ้นเป็นเท่าตัว ทั้งนี้ เราสามารถป้องกันได้ด้วยการบริหารกายท่ายืดเหยียดสีข้าง เพื่อทำให้กล้ามเนื้อข้างลำตัวยืดหยุ่นแข็งแรง บริหารแนวกระดูกสันหลัง และเพิ่มการไหลเวียนโลหิตแขนไปพร้อมกัน


รักษาอาการเส้นยึด เส้นตึง ด้วยกายบริหาร

         1.นั่งยืดกล้ามเนื้อ เริ่มกันด้วยการทำกายบริหาร โดยเป็นยืดกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่อง แต่ต้องทำให้ถูกต้อง และไม่เกร็งขณะยืด โดยเฉพาะช่วงแรกที่กล้ามเนื้อยังไม่ชิน ควรทำอย่างระมัดระวัง เพราะอาจทำให้กล้ามเนื้อได้รับอาการบาดเจ็บได้
         วิธีการแสนง่ายคือให้นั่งตัวตรง ยืดขาทั้งสองข้างไปด้านหน้า แล้วโน้มตัวไปข้างหน้าโดยเหยียดแขนทั้งสองไปเตะที่ปลายเท้า ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (เหมือนทาวอร์มอัพของนักกีฬา) นับ 1-20 จึงผ่อนคลาย ท่านี้ให้ทำตอนตื่นเช้าและก่อนเข้านอน รับรองว่าอาการเส้นตึง เส้นยึดจะค่อยๆทุเลาลง ทั้งนี้ ในช่วงแรกอาจมีการปวดร้าวไปบ้าง แต่เมื่อผ่านไปสักพักกล้ามเนื้อจะชินไปเอง

         2.ยืนเหยียดแขน ขั้นตอนการฝึกคือให้ยืนหลังตรง เท้าชิดกัน แขนทั้งสองข้างแนบลำตัว จากนั้นเหยียดแขนขวาขึ้นเหนือศีรษะให้แขนแนบใบหู แขนซ้ายเท้าเอว แล้วเหยียดแขนขวา และยกไหล่ซ้ายขึ้นพร้อมกันให้ได้มากที่สุด โดยไม่ให้เท้าลอยจากพื้น ค่อยๆโน้มตัวไปด้านซ้าย จนรู้สึกตึงสีข้างด้านขวา นับ 1-10 จึงกลับสู่ท่าเริ่มต้น แล้วสลับทำด้านขวา
         ขณะฝึกท่านี้ควรยืนให้เท้าชิดกันตลอดเวลา ตามองตรงไปด้านหน้า และพยายามโน้มตัวไปด้านข้างโดยไม่เคลื่อนสะโพกตาม ท่าบริหารนี้ควรทำทุกเช้า เพื่อสร้างกล้ามเนื้อร่างกายให้ยืดหยุ่นแข็งแรงทุกส่วน พร้อมรับมือทุกปัญหาเส้นตึง

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

ข้อดีของยากษัยเส้น รักษาอาการปวดได้ผลชะงัด

         ตามความหมายของแพทย์แผนโบราณ โรคกษัยเส้น เป็นโรคแห่งความเสื่อมโทรมของร่างกาย โดยไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค แต่เกิดจากร่างกายจากความเสื่อมสภาพของธาติทั้ง 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ จึงทำให้ร่างกายอ่อนแอ สุขภาพทรุดโทรมลงจนทำงานไม่ได้เหมือนปกติ ทั้งนี้ แพทย์ปัจจุบันจะเรียกโรคกษัยเส้นว่า “ไฮโปไกลซีเมีย”  (Hypoglycemia) หรือโรคที่มีความหลากหลายของอาการ ได้แก่ ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ปวดเนื้อปวดตัวเรื้อรัง นอนไม่หลับ ฯลฯ ซึ่งมักไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค
กระนั้นโดยสรุป โรคกษัยเส้นจึงหมายถึงโรคที่เกิดจากความสึกหรอ หรือความเสื่อมโทรมของร่างกาย โดยเป็นความสึกหรอ เสื่อมโทรมลงของเอ็นกล้ามเนื้อ เอ็นยึดกระดูก (tendon) หรือเอ็นยึดข้อ (ligament) หรือแนวมัดกล้ามเนื้อ ซึ่งมีอยู่ทั่วร่างกาย จึงเป็นที่มาของคำว่า “กษัยเส้น” ซึ่งจะทำให้มีอาการดังนี้

1.เกิดการอักเสบของเส้น ทำให้มีอาการเจ็บ หรือชา หรือปวดแสบ ร้อน ตามเส้น ที่แขน หรือขา
2.อาการปวดหลัง (ปวดเส้นเอ็นหลังหรือกล้ามเนื้อหลัง) หรือปวดบั้นเอว หรือปวดบั้นเอวแล้วปวดเส้นเอ็น ลงไปที่ขา บางรายอาจถึงเท้า
3.เส้นเอ็นตึง เส้นตึง หรือ เส้นยึด ที่แขน ขา หน้าท้อง คอด้านหลัง ทำให้ยกแขนไม่ขึ้น นั่งยองๆ หรือ นั่งพับเพียบยาก หรือนั่งแล้วก็ลุกยาก เอี้ยวตัวยาก ตกหมอน หรือตื่นนอน แล้วไม่สามารถลุกขึ้นได้ทันที
4.ปวดเมื่อยตามร่างกาย เช่น แขน บ่า ขา เป็นต้น หรือมีอาการปวดหัวเข่า เข่าบวม
5.เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ เจ็บฝ่าเท้า หรือส้นเท้า ทำให้เดินลำบาก


เกี่ยวกับ ยากษัยเส้น

อย่างที่ได้บอกไปแล้วโรคกษัยเส้น เป็นโรคที่แพทย์แผนปัจจุบันมักไม่ทราบสาเหตุของการเกิด จึงยากที่รักษาให้หายขาดได้ แถมยาแผนปัจจุบันมักเป็นการใช้เพื่อรักษาเฉพาะจุด อย่างเช่น ยาแก้ปวด ยาแก้เจ็บคอ ยาแก้ท้องเสีย เป็นต้น ฉะนั้นยากษัยเส้นที่นิยมใช้กันจึงเป็นยาแผนโบราณ เพราะสามารถแก้อาการปวดได้ชะงัด โดยแพทย์แผนโบราณจะใช้วิธีสอบถามอาการจากคำบอกเล่าของผู้ป่วย ดูอาการแสดงออก และถามความเป็นมาของอาการ ระยะเวลาของอาการ ฯลฯ หลังจากนั้นจึงให้รับประทานยากษัยเส้น อย่างก็ตาม ยากษัยเส้นที่นิยมใช้กัน ได้แก่ ตราเทพธิดา และตราเด็กในพานทอง

 

ข้อดีของยากษัยเส้น
ตามตำรับยากษัยเส้น มักจะมีส่วนประกอบของสมุนไพรที่เป็นตัวยามากมาย ยกตัวอย่างเช่น บอระเพ็ดพุงช้าง แห้วหมู ขิง กำลังช้างสาร ดอกดึง เป็นต้น ซึ่งมีสรรพคุณแก้กษัยเส้นหรือปวดเมื่อยตามร่างกาย (เส้นตึง เอ็นตึง ปวดขา ปวดเข่า) ปรับธาตุ 4 ให้เป็นปกติ แก้แพ้ผื่นคัน ช่วยเจริญอาหาร รับประทานได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เป็นข้อดีที่หาได้ยากในยาแผนปัจจุบัน
อย่างไตก็ตาม ด้วยความที่มีสมุนไพรซึ่งเป็นสูตรเฉพาะอยู่จำนวนมาก จึงทำให้ยากษัยเส้นอาจมีผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยได้หากรับประทานผิดวิธี ดังนั้น การใช้ยากษัยเส้นควรผ่านการพิจารณาจากผู้มีความเรื่องยาแผนโบราณโดยตรง จึงจะสามารถรักษาอาการปวดเมื่อยที่เกิดจากโรคกษัยเส้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

ปวดหลัง ปวดเอว ลงขา สาเหตุ วิธีแก้ไข

         เชื่อว่าทุกคนต้องเคยมีอาการปวดหลัง เพราะเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่จำเพาะเจาะจงเพศหรือกลุ่มอายุ ทั้งนี้ จากสถิติพบว่าผู้ป่วยด้วยอาการปวดหลังมีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่ต้องได้รับการผ่าตัด อีก กว่าร้อยละ 80 สามารถหายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีอาการปวดหลัง ปวดเอว ที่ร้าวไปถึงขา ซึ่งหลายคนยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับอาการดังกล่าว วันนี้เรามาเปิดมุมมองเกี่ยวกับอาการปวดหลัง ปวดเอว ลงขากันว่าเกิดจากสาเหตุใด และมีวิธีแก้ไขอย่างไร


ปวดหลัง ปวดเอง ลงขา เกิดจากอะไร

         อาการปวดหลัง ปวดเอว ลงขา ถ้าจะพูดให้เห็นภาพคือ ตอนแรกมักเริ่มจากการปวดหลัง ปวดเอวตามปกติ ซึ่งก็มักจะเป็นๆหายๆ จนผู้ป่วยไม่เอะใจอะไร เมื่อเวลาผ่านไป วันดีคืนดีอาการปวดดังกล่าวดันปวดร้าวไปถึงขา จนสุดท้ายทนไม่ไหวจึงไปพบแพทย์ในที่สุด เมื่อแพทย์วินิจฉัยโรคก็มักพบว่าผู้ป่วยเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งก็สร้างความฉงนสงสัยต่อคนไข้ไม่น้อยว่าอยู่ดีๆทำไมถึงเป็นโรคนี้ได้ เนื่องจากมีอาการปวดแป๊ปๆที่ขา

         จากเว็บไซต์ ASTV ผู้จัดการ นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เกิดจากการเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลัง เนื่องจากอายุที่มากขึ้น ร่างกายเสื่อมสภาพ การยกของหนัก การสูบบุหรี่ และอุบัติเหตุบริเวณกระดูกสันหลังบ่อยๆ รวมถึงการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดการทรุดตัวของโครงสร้างกระดูก ซึ่งร่างกายจะตอบสนองด้วยการสร้างกระดูกงอก หรือหินปูนขึ้นมาเพื่อต้านการทรุดตัว ซึ่งปกติกระดูกที่งอกนี้จะไม่มีอาการ แต่บางรายอาจเกิดกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ทำให้ปวดร้าวไปตามเส้นประสาทของร่างกายได้

         นพ.สุพรรณ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาพบผู้ป่วยเข้ารับการรักษาอาการปวดหลังเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะหนุ่มสาววัยทำงานช่วงอายุ 25-50 ปี สาเหตุอาจมาจากการทำงานที่เคร่งเครียด ไม่มีการปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ส่งผลให้ร่างกายอ่อนล้าและเสื่อมสภาพลงไป โดยผู้ป่วยจะมีอาการคือ ปวดหลัง เป็นๆ หายๆ นานมากกว่า 2 สัปดาห์ ปวดขาตั้งแต่บริเวณสะโพกร้าวไปบริเวณน่อง เท้า ซึ่งจะปวดมากเวลาเดิน ต้องหยุดเดินเป็นระยะๆ อาการปวดหลังร้าวลงขาถือเป็นอาการเด่นของโรค แต่จะปวดมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าเส้นประสาทถูกกดมากหรือน้อย


วิธีรักษาอาการปวดหลัง ปวดเอว ลงขา

         เนื่องจากอาการปวดหลัง ปวดเอว ร้าวลงขา เกิดจากโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท วิธีการรักษาจึงมีการผ่าตัดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งอาจมีการใช้ยาแก้ปวดร่วมด้วย เพราะอาการปวดหลังที่เกิดจากโรคนี้ไม่เหมือนการปวดหลังทั่วไปๆ เช่น อาจเกิดจากการนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ หรือปวดหลัง ปวดเอวเพราะยกของหนัก เป็นต้น หากมีอาการปวดหลัง ปวดเอว ลงขาจึงไม่ควรปล่อยไว้ ควรไปพบแพทย์ทันที
         “ถ้าทิ้งไว้นานเส้นประสาทจะทำงานได้น้อยลง กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง เดินและควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ อาจถึงขั้นเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต ดังนั้น เมื่อมีอาการปวดหลังร้าวลงขา ควรพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อรักษา ส่วนใหญ่โรคนี้รักษาหายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด แพทย์จะจ่ายยาแก้ปวดเพื่อช่วยบรรเทาอาการ ร่วมกับให้ยาลดการอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น จะช่วยลดการอักเสบที่เกิดขึ้นรอบๆ เส้นประสาทหรือหมอนรองกระดูกสันหลัง ทำให้อาการปวดลดลง และอาจมีการทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงแพทย์จะผ่าตัดเพื่อตัดเอาส่วนที่กดทับเส้นประสาทออก ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดเพื่อช่วยลดอาการเกร็ง และบิดตัวของกล้ามเนื้อหลัง ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น” นพ.สุพรรณ กล่าว

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.

ปวดบ่า ปวดไหล่ รักษาหาย ชะงัดใน 2 สัปดาห์

         อาการปวดบ่า ปวดไหล่ เป็นปัญหาสุขภาพที่มนุษย์ออฟฟิศมักเผชิญ เนื่องจากต้องนั่งอยู่ที่โต๊ะทำงานเป็นเวลานานๆ โดยเฉพาะการใช้เวลาอยู่หน้าคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้หยุดพักหรือเปลี่ยนท่าเพื่อผ่อนคลาย แถมบางคนยังนั่งหลังงอ คอตก ไม่พิงพนัก ผนวกกับความเครียด ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ซึ่งการปวดบ่า ปวดไหล่นับเป็นอาการที่พบเจอกันบ่อยๆ
         นอกจากมนุษย์ออฟฟิศที่มักเจอกับอาการปวดบ่า ปวดไหล่แล้ว ผู้ที่อายุมากๆก็มีความเสี่ยงต่ออาการปวดเช่นได้เหมือนกัน โดยเกิดจากความเสื่อมของอวัยวะ เช่น หมอนรองกระดูกเสื่อม ซึ่งจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ชา ร้าวไปที่ไหล่ มือ สังเกตได้จากตื่นนอนตอนเช้า คอจะแข็ง ขยับไม่ได้ หรืออาจมีอาการทับเส้นประสาทร่วมด้วย


ปวดบ่า ปวดไหล่ รักษาให้หายได้อย่างไร

         สำหรับคนที่อายุมากๆ แล้วมีอาการปวดบ่า ปวดไหล่ ขอแนะนำให้ไปตรวจวินิจฉัยกับแพทย์เฉพาะทาง เพราะถ้าเกิดจากสาเหตุร้ายแรง เช่น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาจต้องใช้การผ่าตัดรักษา อย่างไรก็ตาม สำหรับคนวัยทำงานโดยเฉพาะมนุษย์ออฟฟิศที่ปวดบ่า ปวดไหล่เป็นประจำ วันนี้เรามีวิธีรักษาด้วยกายบริหารมานำเสนอ หากทำเป็นประจำทุกวัน เช้า กลาง เย็น รับรองว่าจะหายปวดบ่า ปวดไหล่ เป็นปลิดทิ้ง
         ท่าที่ 1 แก้อาการปวดบ่า หากปวดบ่าขวา ให้นั่งกับเก้าอี้สบายๆ มือข้างขวาจับเก้าอี้เพื่อทรงตัวไม่ให้ไหล่ยกขึ้น ยกมือซ้ายข้ามเหนือศีรษะมาจับเหนือหูด้านขวา จากนั้นดึงไปทางซ้าย จนหูซ้ายแนบไหล่ซ้าย ดึงให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ นับ 1-10 ด้วยการนับแบบ “1 และ 2 และ 3 และ…” จนถึง 10 ทำซ้ำจนครบ 10 ครั้ง จากนั้นเปลี่ยนไปอีกข้างหนึ่ง ทำเช่นเดียวกัน นับเป็น 1 เซต หากทำถูกวิธีจะรู้สึกตึง แต่ถ้าเจ็บปวดมากให้ผ่อน

         ท่าที่ 2 แก้อาการปวดฐานคอ หากปวดฐานคอข้างขวา เริ่มเช่นเดียวกับท่าแรก คือนั่งเก้าอี้ มือข้างขวาจับเก้าอื้ ยกมือซ้ายจับศีรษะ หันหน้าไปมองรักแร้ซ้าย ในลักษณะดมรักแร้ซ้าย ใช้มือซ้ายกดศีรษะให้ก้มลงไปมากที่สุด นับ 1-10 ทำซ้ำจนครบ 10 ครั้ง จากนั้นเปลี่ยนไปอีกข้างหนึ่ง ทำเช่นเดียวกัน นับเป็น 1 เซต
         ท่าที่ 3 แก้อาการปวดใต้ท้ายทอย เริ่มต้นยังคงเป็นท่าเดิม คือนั่งเก้าอี้ หากปวดท้ายทอยด้านขวาให้หันหน้าไปทางซ้าย ยกมือซ้ายจับคางด้านขวา ดันไปทางซ้ายจนรู้สึกตึงบริเวณท้ายทอยด้านขวา ซึ่งถือว่าทำถูกต้อง นับ 1-10 ทำซ้ำจนครบ 10 ครั้ง เช่นกัน

สำหรับใครที่มีปัญหาข้างต้นต้องการหา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของระบบในร่างกาย สมรรถภาพ มะเร็ง เบาหวาน ลดสิว กระ จุดด่างดำ ฝ้า แก่ก่อนวัย และปัญหาผิว ทางเว็บไซต์ขอแนะนำให้ดูคลิปรายการ และคลิปคุณหมอ เรื่องสารสกัด ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน) ด้านล่างนี้ได้เลย หรือ PDF รายละเอียดสินค้า

AESTA – ASTAXANTHIN (แอสตาแซนธิน ออร์แกนิกเข้มข้น นำเข้าจากญี่ปุ่น)
Beauty24 Co.,Ltd.